ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “เคล็ดลับ” ของนักเดินทาง “ไปกลับ..บ้านกับออฟฟิศอย่างมีประสิทธิภาพ”  (อ่าน 897 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สำหรับนักเดินทางผู้มีความสุขหลายๆคน หากวันไหนไม่ต้องรีบเข้าประชุมในที่ทำงานในตอนเช้า
ก็จะหาร้านนั่งจิบกาแฟ และรอคอยเวลาที่จะเริ่มขับรถไปตามถนนหลวงโดยไม่ต้องเผชิญรถติดมากนัก
แต่แน่นอนว่าถ้าคุณยังเป็นพนักงานธรรมดาในบริษัทที่ไม่มีความยืดหยุ่น คุณก็จะทำเช่นนี้ไม่ได้


“เคล็ดลับ” ของนักเดินทางผู้มีความสุข
“ไป-กลับ” บ้านกับออฟฟิศทุกวันอย่างมีประสิทธิภาพ-คุ้มค่า

       วอลล์สตรีทเจอร์นัล/เอเจนซีส์ - ในท่ามกลางผู้คนนับล้านๆ ซึ่งเบียดเสียดอยู่ในขบวนรถไฟฟ้ารถใต้ดินที่แสนแออัด และอยู่บนทางด่วนที่รถราติดแหง็กคับคั่ง ขณะพากันเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานและออกจากที่ทำงานกลับบ้าน ทุกๆ วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ ยังมีเผ่าพันธุ์ซึ่งหายากและผิดแปลกกว่าคนทั่วไป นั่นก็คือ ประดาคนผู้ดำเนินกิจวัตรเช่นนี้อย่างมีความสุข
       
       ทำอย่างไรจึงจะสามารถเป็นผู้เดินทางประกอบกิจวัตรประจำวันที่สมบูรณ์แบบอย่างนี้ได้บ้าง ลองติดตามไต่ถามสมาชิก 2-3 คนของเผ่าพันธุ์หายากเหล่านี้ดู พวกเขาจะบอกกับคุณว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าแต่ละวันต้องเดินทางไกลแค่ไหนเท่านั้น อันที่จริงการศึกษาวิจัยหลายๆ ชิ้นระบุว่า คนเรายังคงสามารถรู้สึกพออกพอใจได้แม้จะต้องใช้เวลาสัญจรไปกลับระหว่างบ้านกับออฟฟิศนานถึงเที่ยวละ 45 นาที และผู้ชายรู้สึกหงุดหงิดน้อยกว่าผู้หญิงกับการที่ต้องเดินทางแบบนี้เป็นระยะทางไกลๆ

       
        :welcome: :welcome: :welcome:

       ทว่า สิ่งที่มีความสำคัญมากๆ ก็คือ การสัญจรระหว่างบ้านกับออฟฟิศที่จะดำเนินไปอย่างมีสุขได้นั้น ต้องเป็นสิ่งที่สามารถจะคำนวณคาดการณ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้ รวมทั้งจะต้องให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งนี้ ตามผลการวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่ง อะโลอิส สตรูตเซอร์ อาจารย์เศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบาเซิล ในสวิตเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงาน ระบุว่า ผู้ที่ต้องใช้เวลาในการไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงานประมาณเที่ยวละ 1 ชั่วโมงนั้น จะต้องสามารถทำเงินได้มากกว่าคนที่พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ ออฟฟิศถึง 40% จึงจะมีความพออกพอใจกับชีวิตในระดับเดียวกัน
       
       ไมค์ เวเนอราเบิล วางแผนเอาไว้ว่าจะต้องใช้เวลาระหว่าง 30 ถึง 45 นาที ในการเดินทางด้วยการขับรถจากบ้านของเขาที่เมืองเมสัน มลรัฐโอไฮโอ ไปยังที่ทำงานในเมืองซินซินแนติ ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ถ้าหากวันไหนเขาไม่ต้องรีบไปประชุมยังที่ทำงานแต่เช้า เขาก็จะหลีกเลี่ยงการจราจรแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยการเริ่มต้นวันทำงานของเขาที่ร้านสตาร์บัคส์ด้วยกาแฟแก้วกลางซึ่งผสมด้วยกาแฟไร้กาเฟอีนครึ่งหนึ่งพร้อมกับเติมครีมเพิ่มรสชาติ เพื่อรอคอยเวลาที่เหมาะแก่การออกสู่ท้องถนน เขาจะติดตามรายงานการจราจรและหาเส้นทางในการเดินทางหลายๆ เส้นเพื่อหนีรถติด

        :signspamani: :signspamani: :signspamani:

       โดยพร้อมที่จะใช้ถนนเล็กซอกซอยถ้าหากจำเป็น เวเนอราเบิลซึ่งเป็นกรรมการจัดการรายหนึ่งของซินซีเทค กลุ่มกิจการการลงทุนในซินซินแนติ บอกว่า ขณะอยู่บนรถ เขาจะใช้มือถือของเขาที่ต่อแฮนด์ฟรี ติดตามฟังดนตรีคันทรี และติดต่อพูดคุยกับผู้คนเยอะแยะมากมาย โดยที่สำหรับพวกลูกค้าซึ่งอยู่ทางเวสต์โคสต์ ที่เวลาช้ากว่าในโอไฮโอหลายชั่วโมง เขาจะจัดตารางเวลาติดต่อพูดคุยด้วยในเที่ยวขับรถกลับบ้าน
     

 
ระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟใต้ดิน มีจุดเด่นในเรื่องตารางเวลาเดินรถที่แน่นอน
ทำให้ผู้เดินทางสามารถคำนวณคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้าได้


       บางครั้งเขายังคงพูดโทรศัพท์ต่อไปอีกหลังจากขับเข้าไปในถนนเข้าบ้านแล้ว และลูกๆ 3 คนวัย 11 ถึง 13 ปีของเขาปรากฏตัวให้เห็นรางๆ ผ่านกระจกรถ เขาบอกว่านักเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับออฟฟิศที่สมบูรณ์แบบและพึงพอใจกับการสัญจร ควรจะต้องเป็นอย่างเขา กล่าวคือ เป็นคนที่เมื่อนำรถแล่นอยู่ในถนนเข้าบ้านแล้ว ก็ยังสามารถคุยโทรศัพท์ต่อไปได้อีก 20 นาทีโดยที่ไม่ต้องลงจากรถ
       
       เพื่อนของเขาบางคนคิดว่าเขาต้องเสียเวลานานเกินไปกับการเดินทาง และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ด้วยหากถือตามมาตรฐานของเมืองซินซินแนติ ซึ่งการสัญจรระหว่างบ้านกับออฟฟิศเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 24 นาที แต่ตอนที่เขาลาออกจากงานที่ทำอยู่ทางตอนเหนือของมลรัฐเวอร์จิเนียเมื่อหลายปีก่อน เวเนอราเบิล ผู้ปัจจุบันอายุ 51 ปี ก็ตั้งใจเลือกพำนักอาศัยในเมืองเมสัน ซึ่งเป็นแถบชานเมืองที่เงียบสงบ และติดอันดับรายชื่อเมืองเล็กดีเยี่ยมที่สุด ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร “มันนี่”

       เขาอธิบายว่า ถึงอย่างไรการจราจรแออัดในซินซินแนติ ยังคงเป็นสิ่งที่สามารถคำนวณคาดการณ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้ และเวลานี้เขาใช้เวลาแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นของสมัยที่ยังอยู่ที่เวอร์จิเนีย ซึ่งจะต้องขับรถกันระหว่าง 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง และจะต้องเจอกับการจราจรติดขัดเสมอ “ไม่ว่าจะเป็นตอน 11 โมงเช้า หรือบ่าย 2 โมง หรือตอน 2 ทุ่ม”

       
        :sign0144: :sign0144: :sign0144:

       อันที่จริงแล้ว เรื่องการใช้เวลาเดินทางอย่างยาวนานในแต่ละวัน กำลังเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เผชิญอยู่ ทั้งนี้ตามข้อมูลตัวเลขระดับชาติใหม่ล่าสุด ขณะที่เวลาเฉลี่ยของการไปกลับระหว่างบ้านกับออฟฟิศยังคงอยู่ที่เที่ยวละ 25.5 นาทีไม่เปลี่ยนแปลงเลยในช่วงสองสามปีมานี้ แต่ปรากฏว่าพวกที่ต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงขึ้นไปสำหรับการสัญจรในแต่ละเที่ยวกลับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 11.1 ล้านคนในปี 2012 มากขึ้น 300,000 คนจากปี 2011 แอลเลน ปิซาร์สกี ที่ปรึกษาด้านการคมนาคมขนส่ง และผู้เขียนรายการการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเดินทางสัญจรระดับประเทศหลายต่อหลายเรื่อง ให้ข้อมูล
       
       ปิซาร์สกีบอกด้วยว่า เวลานี้ผู้หญิงที่ใช้เวลาเดินทางประจำวันอย่างยาวนาน มีเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา กระนั้นผู้หญิงก็มีแนวโน้มมากกว่าผู้ชายที่จะรู้สึกไม่พอใจการต้องใช้เวลาสัญจรนานๆ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแลกเปลี่ยนกับ รายได้, ความพึงพอใจในงาน, หรือคุณภาพของที่พักอาศัยซึ่งดีขึ้นกว่าเดิมก็ตามที หากจะอธิบายด้วยการวิจัยเมื่อปี 2011 ชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสาร “เจอร์นัล ออฟ เฮลธ์ อีโคโนมิกส์” ก็คงต้องบอกว่า บางทีอาจจะเป็นเพราะผู้หญิงมีความโน้มเอียงที่จะเป็นผู้รับผิดชอบทำงานบ้าน



รถประจำทางเป็นบริการที่มีราคาถูก ทว่าข้อที่น่าหงุดหงิดก็คือ
มักจะแน่นขนัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน จึงต้องรอกันนาน แถมยังมักมีการติดขัดชักช้าเสียเวลาอยู่เรื่อย


       ขณะที่ผู้คนซึ่งขี่จักรยานไปทำงานกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทว่าก็ยังคงเป็นจำนวนที่เล็กมากอยู่ดี ตามข้อมูลของการสำรวจสำมะโนประชากรแสดงให้เห็นว่า กว่า 75% ของผู้เดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับออฟฟิศ จะใช้รถยนต์เป็นพาหนะและเดินทางเพียงคนเดียว โดยปกติแล้วการขับรถเองมักรวดเร็วกว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้า ทว่าก็จะมีความตึงเครียดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะในภาวะรถติด ปีซาร์สกีชี้ว่า

       ผู้สัญจรที่คาดหมายไว้ว่าจะใช้เวลาขับรถ 20 นาทีก็ไปถึงจุดหมาย แล้วกลับต้องใช้เวลา 30 นาทีนั้นจะรู้สึกหงุดหงิดมาก และตามการศึกษาเมื่อปี 2011 ของคณะนักวิจัย ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ความต้องการที่จะให้การเดินทางของพวกเขาสามารถคำนวณคาดการณ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้นี้แหละ เป็นพลังขับดันให้ผู้สัญจรจำนวนมากหันไปใช้ระบบขนส่งมวลชน


        :41: :41: :41:

       ฮอลแลนด์ ซุลลิแวน แห่งเมืองบรองซ์วิลล์ มลรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเขตชานเมืองที่อยู่ติดกับนครนิวยอร์ก บอกว่าเขาถือว่าตนเองเป็นนักเดินทางระหว่างบ้านกับออฟฟิศที่สมบูรณ์แบบ ตอนที่เขากับภรรยาย้ายจากนครนิวยอร์กมาอยู่ที่นี่ในปีที่แล้ว ซุลลิแวนก็เปลี่ยนจากการนั่งรถไฟใต้ดิน มาเป็นการนั่งรถไฟชานเมือง 27 นาที จากนั้นก็ขึ้นรถไฟใต้ดินอีก 10 ถึง 15 นาที ก็จะมาถึงที่ทำงานของเขาในนครนิวยอร์ก ซึ่งเขามีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการคนหนึ่งของวาณิชธนกิจ กริฟฟิน ซีเคียวริตีส์ อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าพอใจกับการแลกเปลี่ยนเช่นนี้ เพราะที่บ้านใหม่ของเขานั้นมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นกว่าเดิม 2,000 ตารางฟุต
       
       ซุลลิแวนซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 35 ปี ดาวน์โหลดหนังสือพิมพ์และนิตยสารจำนวนมากเอาไว้ในสมาร์ทโฟนของเขาเป็นประจำทุกค่ำคืน เพื่อไว้อ่านในขณะโดยสารรถไฟ เขาใช้วิธีเดินจากบ้านไปสถานีรถไฟเพื่อเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เขาขึ้นรถไฟตู้แรก เพื่อที่ว่าในตอนลงรถเขาจะเป็นคนแรกในแถวรอขึ้นรถไฟใต้ดิน จากนั้นเขาจะจับจองพื้นที่บนชานชาลา เพื่อที่เวลาขึ้นรถไฟใต้ดินจะสามารถเลือกที่นั่งใกล้ประตู ถ้าหากเขาถือร่มมาด้วย เขาก็ต้องทำให้แน่ใจว่าสามารถแขวนร่มไว้กับกระเป๋าเอกสารของเขา เขาจะได้ยังมีมืออีกข้างว่างอยู่สำหรับใช้ในเวลาอ่านหนังสือในขณะเดียวกับที่เกาะราวจับเอาไว้
       
       “แม้กระทั่งตอนที่ผมกำลังยืนอยู่ในรถไฟดินที่แน่นเอี๊ยดชนิดไหล่ชนไหล่ ผมก็ยังคงมีอะไรทำไปเรื่อยๆ” เขาคุยอวด


       
การคำนวณคาดการณ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้
เป็นสิ่งที่มีค่ามากในเวลาที่ต้องเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
และเรื่องนี้ทำให้ผู้สัญจรหลายคนตัดสินใจเลือกใช้บริการเรือเฟอร์รี
แม้อาจจะมีราคาแพงกว่าการขนส่งสาธารณะอย่างอื่น


       นิโคล เองเกิลเบิร์ต วัย 41 ปี สามารถที่จะประหยัดเวลาได้มากกว่าถ้าขับรถจากบรองซ์วิลล์ไปยังที่ทำงานของเธอในแมนฮัตตัน ซึ่งเธอมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยในบริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชื่อ “โอวุม” ทว่าเธอกลับเลือกเดินทางด้วยรถไฟชานเมืองและรถไฟใต้ดินซึ่งจะต้องใช้เวลาเที่ยวละประมาณ 1 ชั่วโมง
       
       เธอเดินไปและเดินกลับจากสถานีรถไฟทุกวัน รวมทั้งพาลูกชายวัย 2 ขวบของเธอไปฝากที่สถานรับเลี้ยงเด็กในตอนเช้า ขณะที่ต้องทำธุระต่างๆ ในช่วงกลางคืน เธอหลีกเลี่ยงไม่พูดคุยกับผู้โดยสารคนอื่นๆ แต่ใช้การเดินทางเป็น “ช่องว่าง” สำหรับการอ่านและการขบคิด ขณะขีดเขียนอะไรบนโน้ตแพดของเธอระหว่างการเดินทางเมื่อไม่นานมานี้ ได้จุดประกายทำให้เธอเกิดไอเดียใหม่สำหรับการวิเคราะห์ตลาดเทคโนโลยี “การขับรถอาจจะใช้เวลาแค่ครึ่งเดียว แต่ดิฉันคงจะพร่ำบ่นสาปแช่งคนขับรถคันหน้าดิฉัน และไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือหรือผ่อนคลายอะไรหรอก” เธอกล่าว


       :85: :85: :85:

      สำหรับ บ็อบบี้ แบรนซาซิโอ การคำนวณคาดการณ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้ เป็นสิ่งที่มีค่ามากในเวลาที่ต้องเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน เขาคำนวณได้ด้วยซ้ำว่ามันมีมูลค่าเดือนละ 174 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เบรนซาซิโอ อาศัยรถประจำทางในการเดินทางจากที่พักในเมืองโฮโบเกน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ไปยังนครนิวยอร์ก

       แต่เนื่องจากรู้สึกหงุดหงิดรำคาญจนทนไม่ได้กับแถวรอที่ยาวเหยียดและการติดขัดล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เขาจึงเปลี่ยนมานั่งเรือเฟอร์รีเมื่อประมาณ 1 ปีมาแล้ว ค่าโดยสารเรือเฟอร์รีตกเดือนละ 272 ดอลลาร์ เปรียบเทียบกับการนั่งรถเมล์ซึ่งตกเดือนละ 98 ดอลลาร์ แบรนซาซิโอ วัย 29 ปีและมีอาชีพเป็นวิศวกรโยธาแจกแจงให้เราฟัง ทว่าข้อดีเยี่ยมของเส้นทางใหม่ของเขาก็คือมันใช้เวลาเพียง 30 ถึง 45 นาที แทนที่จะเป็น 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมงเหมือนเมื่อตอนนั่งรถประจำทาง

        เขายังชื่นชอบการยืนอยู่ที่ดาดฟ้าชั้นบนสุดของเรือเฟอร์รี คอยถ่ายภาพตึงสูงระฟ้าต่างๆ “มันเหมือนกันว่าคุณมีช่วงเวลาพักผ่อน 8 นาทีทุกๆ วัน คล้ายๆ กับเป็นการนั่งเรือท่องเที่ยวระดับมินิในบริเวณใจกลางป่าคอนกรีต” เขาบอก


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000128702
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ