ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (1)  (อ่าน 1129 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (1)
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 06:30:33 am »
0


'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (1)
'ญาณสังวร'แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(1) : มนสิกุล โอวาทเภสัชช์รายงาน

น้อยคนนักที่จะทราบว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัตฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร) แห่งราชอาณาจักรไทย ทรงเป็นประมุขแห่งสังฆมณฑลและปวงพุทธศาสนิกชนองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงได้รับการถวายตำแหน่งพระเกียรติยศจาก พระ ดร.เกียวเซ เอ็นชินโจ ประธานสุดยอดผู้นำชาวพุทธ ในนามของพุทธศาสนิกชน 370 ล้านคนทั่วโลก ให้เป็น 'ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา' (Supreme Holiness of World Buddhism) จากผู้นำชาวพุทธ 32 ประเทศ ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2555 ด้วยเหตุและผลนานัปการ

ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ที่ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นแบบอย่างของพระสุปฏิปันโน ตราบจนเป็นประมุขสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทย ดังในคำประกาศกล่าวไว้ไม่ผิดเลยว่า พระองค์ทรงได้รับการเคารพอย่างสูงสุด และได้รับการไว้วางใจอย่างสุดซึ้งจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา ว่าทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แห่งดินแดนแห่งรอยยิ้ม


 ans1 ans1 ans1

    "ทรงเป็นผู้สอนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ทุกคนปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในพระปัญญาธรรม และพระกรุณาธรรม ทั้งทรงเป็นผู้นำราชอาณาจักรไทย ไปสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง นับว่าเป็นแบบอย่างของสากลโลก"

คำประกาศแห่งเกียรติยศนี้ มิได้กล่าวเกินจริงเลย ดังตอนหนึ่งในหนังสือ 'พระผู้สำรวมพร้อม' ที่เล่าถึงพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ไว้ว่า เมื่อครั้งที่องค์ทะไลลามะ เสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยหลายครั้งหลายหนด้วยกัน นับแต่วาระแรก คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2510 ได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารด้วย ครั้งนั้นองค์ทะไลลามะทรงปรารภกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ว่าสนพระทัยอยากศึกษาการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาท เจ้าหน้าที่จัดการรับเสด็จจึงจัดให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถวายคำแนะนำในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาทแก่องค์ทะไลลามะตามพระประสงค์ ณ สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง

 st12 st12 st12

หลังจากนั้นองค์ทะไลลามะได้เสด็จเยือนประเทศไทยอีกหลายครั้ง และทุกครั้งจะต้องเสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารและทรงพบปะสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างดี ในการเสด็จประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ได้ประทับแรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร คำแรกที่องค์ทะไลลามะตรัสทักทายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อทรงพบกันในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารก็คือ "พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า" อันแสดงถึงความเคารพนับถือว่าทรงมีต่อกันเพียงไร

หรือดังที่ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช  เล่าว่า ในปี พ.ศ.2525 ตอนที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร พระองค์ก็ทรงแต่งตั้งอาตมาให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ตอนนั้นต้องมีการติดต่อบุคคลภายนอกมากมาย มีตั้งแต่กษัตริย์ไปจนถึงคนยากจนที่มาขอปัจจัย ไม่มีข้าวจะกินก็มาติดต่อพระองค์ทั้งหมด พระองค์มีเมตตาเป็นที่ตั้ง

 :96: :96: :96:

    "บางทีอาตมามักจะกันบุคคลที่ดูแล้วไม่น่าประสงค์ไม่ให้เข้าเฝ้า เช่นว่า คนที่พูดไม่รู้เรื่อง คนที่มีปัญหาด้านชีวิตแล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง ก็พยายามไม่ให้เข้าไปพบ เพราะถ้าไปพบแล้วจะไล่ออกมาก็ลำบาก แต่ถ้าพระองค์ทราบ ก็จะโปรดไม่ให้ไล่ บางทีวันสำคัญคนมาเวียนเทียนมารับหนังสือ มาขายพระเครื่อง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ไม่ให้ไล่ บอกว่า พระพุทธเจ้าท่านมีบารมีให้คนขายพระเครื่องได้ไปแลกอาหารสักมื้อสองมื้อก็ยังดี คนที่มาพูดไม่รู้เรื่อง พระองค์ก็ทรงฟัง และไม่รับสั่งอะไร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงบอกว่า คนที่มาก็หวังจะพึ่งเรา ถ้าเราไม่ให้เขาพึ่งแล้วเขาจะไปพึ่งใคร พระองค์ทรงมีเมตตาอย่างนี้"

       ans1 ans1 ans1

      ส่วนทางด้านอื่นๆ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงมีความละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง
      "ในแง่ของภาษาเวลาติดต่อกับผู้ใหญ่ พระองค์ก็จะสอนให้ใช้ภาษาให้ถูกต้อง คำราชาศัพท์ตามชนชั้นที่มาเข้าเฝ้า การเขียนหนังสือถึงสำนักราชเลขาฯ ถึงคณะสงฆ์ หรือทำจดหมายไปต่างประเทศบ้าง การดุ มีไหม มีเหมือนกัน แต่การดุ ไม่ใช่การใช้เสียงหรืออาการดุ แค่น้ำเสียงเปลี่ยนไปนิดเดียวคนใกล้ชิดก็จะรู้ว่าดุแล้ว แต่ไม่ค่อยเห็น มีบางเหตุการณ์ที่พระองค์ดุ แต่เป็นการสอนมากกว่า มีเหตุผล และรับสั่งตามเหตุและผล มีกุศโลบายในการสอน วิธีการที่ทรงวางพระองค์ทำให้พระในวัดเกรง ยิ่งกว่ากลัวอีก ความที่พระองค์ไม่ดุตรงๆ แต่การรับสั่งเป็นธรรมะที่เจ็บไปถึงทรวงมากกว่า เป็นคำสอนง่ายๆ

ดังเช่นวันปาติโมกข์ หลังปาติโมกข์ ท่านก็สอนพระในวัด หากมีเรื่องอะไรท่านจะปรารภขึ้นมา พระในวัดก็จะสะทกสะท้านกันทั้งวัด พระองค์ใช้คำธรรมดา แต่จะสอนให้สำนึกในความเป็นพระ ให้สำนึกในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง แล้วพระทุกรูปก็คิดว่า ท่านรู้ได้อย่างไร เหมือนนิทานที่เล่ากันในตอนเด็กว่า ในหมู่โจร พระราชาบอกว่าเดี๋ยวจะตัดขา ใครเป็นโจรยกมือยกเท้าขึ้น โจรจริงๆ ก็รีบยกเท้าเพราะกลัวจะถูกตัดขา อย่างเช่น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้อาตมาไปตามพระรูปนั้นรูปนี้มา


 :25: :25: :25:

สมัยนั้นเป็นเณร พระก็จะถามว่า มีอะไรเณร ทำไมให้ตาม มีอะไรหรือเปล่า กลัวทันทีเลย ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไร แม้แต่พระผู้ใหญ่เองก็จะถามว่า มีอะไร ทำไมให้มาตาม พระองค์มีพระเดชที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพระคุณ หรืออย่างการเรียนการสอน ตัวอาตมาเอง พระองค์ผลักดันให้ไปเรียนปริญญาตรี ปริญญาโท พระองค์มักจะบอกว่า พระองค์ไม่มีโอกาสเรียน ภาษาก็ต้องเรียนเอง ซึ่งเมื่อคนอื่นมีโอกาสอย่าให้โอกาสพลาดไป"

พระเมตตาของพระองค์แผ่ไปถึงหมาแมวด้วย ดังที่ท่านอนิลมานเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน หมาขี้เรื้อนในวัดเยอะ มีกทม.มาจับ พระองค์เดินในวัดหาหมาไม่เจอ หมาหายไปไหน

   "พอพระองค์ทราบว่าถูกกทม.จับไป พระองค์กล่าวว่า จับไปได้อย่างไร หมาก็อาศัยวัด พระก็อาศัยวัด พระจะมีสิทธิมากกว่าหมาได้อย่างไร ทรงให้ไปตามเอาหมาคืนมาที่วัด จะต้องเสียตังค์อย่างไร พระองค์ก็บอกว่าให้มาเบิกที่นี่ พระองค์มีเมตตาบอกว่า มันก็อยู่ด้วยกัน ต่างคนต่างอยู่ เขาก็มาพึ่งวัด เพราะวัดมันร่มเย็น"

 gd1 gd1 gd1

นี่คือพระเมตตาอันไม่มีประมาณ ดังในคำประกาศถวายตำแหน่งพระเกียรติยศ 'ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา' อีกตอนหนึ่งที่กล่าวว่า "ทรงมีพระบารมีแผ่ปกไพศาล ไปทั่วราชอาณาจักรไทย และประเทศพุทธศาสนาทั่วโลก พร้อมมนุษยชาติทุกคน พระศรัทธาที่เปี่ยมพระทัยในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระองค์ที่มีมายาวนาน ได้รับการแซ่ซ้องและเทิดทูนจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก"


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20131105/172048.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ