ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกทิพยจักษุญาณ ด้วยการเพ่งกสิณ  (อ่าน 6675 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฝึกทิพยจักษุญาณ ด้วยการเพ่งกสิณ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 06:41:19 am »
0


สมาธิกสิณเพื่อการทำลายความเคลือบแคลงสงสัย

    การฝึกสมาธิด้วยการเพ่งกสิณ เมื่อฝึกไปได้สักระยะ เมื่อผู้ปฏิบัติมีความชำนาญดีแล้วจะมีความสามารถพิเศษกว่าสมาธิแบบอื่นๆ เพราะสามารถที่จะจดจำภาพหรือหน้าคนได้ในเสี้ยววินาทีเพียงแค่เดินผ่าน อาจจะเรียกได้ว่าจิตจะสามารถจดจำได้ราวกับกล้องถ่ายรูป พอกำหนดจิตเรียกนิมิตมาให้เห็นได้อย่างละเอียดยิบเหมือนมองด้วยตาเห็น นี่เป็นจิตที่ฝึกกสิณมาแล้ว

    นิมิตก็จะมีหลายแบบ มีนิมิตโดยทั่วไปที่เราไม่ได้ตั้งใจจะจำ กับนิมิตถาวรที่เราสามารถหลับตาลงไปแล้วเรียกนิมิตมาให้ปรากฏ หรือจะเป็นนิมิตที่เราทำสมาธิจนจิตสัมผัสได้ถึงนิมิตที่ต้องการให้เราเห็น นิมิตที่เห็นนี้ไม่ว่าเราจะย่อขยายอย่างไร ภาพนิมิตก็ยังแจ่มชัดภาพไม่แตก

    เช่น ณ ที่นั้นเป็นนิมิตของเมืองบังบดหรือพญานาค ก็จะมีนิมิตเช่นนี้ปรากฏขึ้นมาในจิตได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าเราเป็นนักวาดภาพแล้วได้นิมิตอย่างนี้ พญานาคที่เราเห็นแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดจะไม่เหมือนใคร เพราะว่าจิตเราเห็นนิมิตของพญานาคแจ่มชัด


     :96: :96: :96:

    อย่างการเพ่งกสิณจากพระอาทิตย์เหมือนกัน ช่วงเวลาและสถานที่ที่ดีที่สุดคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจากทะเลในตอนเช้า เพราะว่าจะมีธาตุน้ำคอยหุ้มความร้อนจากพระอาทิตย์ ซึ่งจะเพ่งกสิณได้ลึกว่าพระอาทิตย์ที่ขึ้นจากทิวเขา หรือว่าตอนพระอาทิตย์ตกทะเล

    ถ้าเพ่งติดกัน 3-5 วันก็จะเห็นผลที่ชัดเจน แล้วแต่ว่าบุญใครบุญมันที่เคยฝึกด้านนี้มาก่อน จะรู้ได้เลยว่าลืมตากับหลับตามีค่าเท่ากัน บางครั้งหลับตาจะเห็นนิมิตชัดกว่าลืมตาเสียอีก ยิ่งมีสมาธิที่ตั้งมั่นดีแล้วภาพจะไม่ล้ม การฝึกอย่างนี้จะเป็นผลให้ได้ญาณ เพราะญาณแรกๆ ของการฝึกสมาธิคือ ทิพยจักษุญาณ





    แต่ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อทำลายความเคลือบแคลงสงสัย เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง เพราะหากไม่มีญาณต่างๆ จิตจะทำลายความเคลือบแคลงสงสัยได้ไม่หมดสิ้น ในทุกเรื่องทุกอย่างจะมีคำถามอยู่ตลอด   

   เมื่อจิตรู้เรื่องญาณหมดสิ้นแล้ว ต่อไปจิตจะดำเนินไปสู่กระบวนการอบรมจิตให้เข้าไปสู่จิตที่หลุดพ้น พอจิตหลุดพ้น สิ่งที่ต้องรู้ก็ไม่จำเป็นต้องรู้อีกแล้ว แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้มันยังมีความลังเลสงสัยในธรรมเยอะมาก ญาณพวกนี้จะทำให้เราเข้าใจทั้งหมด หมดสิ้นความสงสัยทั้งสิ่งที่เห็น สิ่งที่ไม่เห็น พอหมดสิ้นความสงสัยแล้วจิตจะเข้าไปสู่ภูมิวิปัสสนา

    การใช้ผ้าผูกตาในการทำสมาธิก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ทิพจักษุญาณเกิดได้ง่ายขึ้น การทำสมาธิจริงๆ เป็นเรื่องของการอบรมจิต เมื่อจัดกายให้อยู่ในท่วงท่าที่สมบูรณ์ดีแล้ว ก็กำหนดจิตลงในช่องว่างและความว่างภายในของเรา อาศัยอุบายกรรมฐานให้จิตมีเครื่องรู้ จิตมีเครื่องระลึก


     st12 st12 st12

    เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว จิตพรากออกจากดงความคิดได้ ก็จะได้สมาธิ ถ้าจิตมันกำหนดจิตให้พรากจากความคิดเองไม่ได้ก็ต้องใช้อุบายให้จิตมีเครื่องรู้ จิตจะไปอยู่กับภาพนิมิตกสิณก็ได้ จิตจะไปอยู่กับลมหายใจเข้า หายใจออกก็ได้ จิตจะไปอยู่กับคำภาวนาก็ได้ เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องรู้ให้กับจิต ถ้าจิตอยู่เฉยๆ จิตก็จะเอาความคิดมาเป็นอารมณ์จิต จิตก็นั่งคิดไปเรื่อยๆ จิตลักษณะนี้เป็นจิตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจโลก

    โลกสมมติมีกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไร ถ้าจิตอยู่ภายใต้สมมติโลกแล้ว จิตก็ไม่อาจจะรู้ความจริง รู้แต่สิ่งที่เป็นมายาสมมติปรุงแต่งที่สมมติโลกครอบงำเราไว้ จิตลักษณะนี้ไม่ใช่สมาธิ ไม่สามารถไปรู้แจ้งเห็นจริง เห็นความจริงของโลกได้ เมื่อไม่รู้ความจริง จิตก็จะตกอยู่ใต้มายาความคิดสิ่งปรุงแต่งให้จิตดวงนี้หลงไปกับมายาความคิดเหล่านี้

    ดวงจิตที่เกิดอวิชชายึดมั่นถือมั่นเป็นมายาความคิด ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ หาทางหลุดพ้นไปไม่ได้ด้วยเพราะว่าเกิดอวิชชาความหลง หลงคิดว่าความคิดความฝันนี้เป็นจริง เป็นของของเราจริง เราเป็นเจ้าของจริง สิ่งเหล่านี้หลงยึดติดเข้าไปแล้ว จิตก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่อวิชชาความหลง หาทางออกไม่ได้ อยู่แต่ในมิติความคิดความฝันที่ถักทอร้อยรัดดวงจิตวิญญาณไว้.


ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/171113/82168
ภาพจาก http://sitluangporthob.com/ , http://board.plungjai.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกทิพยจักษุญาณ ด้วยการเพ่งกสิณ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 09:48:30 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า