ตัวกู-ของกู vs อัตตา-อัตตนียา
เมื่อสักอาทิตย์ก่อนเจ้านายเคยพูดเรื่องอัตตา ทุกคนงงมากว่าอัตตาคืออะไรฉันก็ลองตีความไปในแบบที่ฉันเข้าใจโดยไม่รู้ด้วยนะว่ามันถูกหรือผิด จนวันนี้ฉันอยากจะรู้จริงๆแล้วว่า อัตตา จริงๆ ตามหลักพระพุทธศาสนาคืออะไร เลยได้ไปค้นหาข้อมูลมาสนองความอยากรู้ของตนเอง และเผื่อแผ่มาถึงน้องๆด้วย (บางคนอาจรู้ดีอยู่แล้วได้นะแต่พี่อยากแชร์อ่ะ)
ทุกคนมักจะคิดว่า "ตัวกู-ของกู" กันอยู่บ่อยๆ และยิ่งโตก็จะยิ่งคิดว่ามันใช่ “ตัวกู ของกู” เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และความคิดต่างๆในใจเราเอง หรือแม้กระทั่งบทบาทหน้าที่ที่เราต้องเดินตามนั้น สิ่งเหล่านั้นทำให้เกิด “ตัวกู ของกู”

ดังนั้นจึงอยากบอกเล่าเกี่ยวกับว่าตัวกู ของกู ที่จริงนั้น มันก็คือ ความยึดมั่นถือมั่น ที่ภาษาบาลีเรียกว่า อุปาทาน นั่นเอง อุปาทานแปลว่ายึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นมี 2 อย่าง คือยึดมั่นว่าเรา และยึดมั่นว่าของเรา ยึดมั่นว่าเรานั้น คือรู้สึกว่า เราเป็นเรา เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นใหญ่เราแพ้ใครไม่ได้ อย่างนี้ที่เรียกว่าเรา อีกอย่างคือ ของเรา คือ ว่านั่นของเรา นั่นของที่เรารักที่เราชอบ คนที่เราเกลียดก็ถือว่าเป็นศัตรูของเรา อย่างนี้ที่เรียกว่าของเรา
ในพระพุทธศาสนาเรียกแบบนี้ว่า "อัตตา" อัตตาก็คือตัวเรา "อัตตนียา" ก็คือของเรา
ในปรัชญาอินเดียเรียกว่า อหังการ อหังการคือตัวเรา มมังการ คือของเรา
อหังการแปลว่า เรา และมมังการแปลว่าของเรา ความรู้สึก อหังการ และ มมังการนี้ร้ายกาจที่สุด ทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่น

ในภาษาลาตินตรงกับคำว่า Ego ถ้าความรู้สึกที่เห็นแก่ตัวตนเกิดขึ้นเราเรียกว่า Egoism เพราะว่าถ้ารู้สึกว่ามีตัวเราแล้วมันก็ต้องคลอดความ รู้สึกว่าของเรานี้ออกมาด้วยเป็นธรรมดาช่วยไม่ได้
เพราะฉะนั้นความรู้สึกว่า ตัวตน และของตน Egoism ความรู้สึกที่เป็นตัวตน Ego นี้
เป็นธรรมดาในมนุษย์ปุถุชน ที่ต้องมีความรู้สึกดังกล่าว ความรู้สึกว่าตัวกู-ของกู ที่เป็นต้นเหตุของกิเลสทั้งหมด เป็นเหตุของความทุกข์ที่เกิดกับคนเรา หากเราเริ่มศึกษาเรื่องนี้กันอาจจะทำให้เข้าใจเหตุแห่งทุกข์ที่เราชอบยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็เป็นได้สาธุ สาธุ สาธุ____________________________________
http://www.gotoknow.org/posts/107085โพสต์โดย : TOOKIE นางสาว ทรงศร...
ทิฏฐิที่ ๒ : อัตตา - อัตตนิยานุทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
"นั่นของเรา; นั่นเป็นเรา; นั่นเป็นตัวตนของเรา;" ดังนี้? ...ฯลฯ...
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีการตรัส การถาม การตอบ เหมือนกับข้อความในทิฏฐิที่ ๑ ตั้งแต่คำว่า "ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์"...ไปจนจบข้อความด้วยคำ ว่า... "เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้(ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้." เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งทิฏฐิ เท่านั้น.)_________________________________________________________________
สูตรที่ ๒ โสตาปัตติวรรค ทิฏฐิสังยุตต์ ขนฺธ.สํ.๑๗/๒๕๐/๔๑๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
พระไตรปิฎกฉบับหลวงปู่พุทธทาส
http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1911/index.html
ทิฏฐิที่ ๒ : อัตตา - อัตตนิยานุทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๒) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
"นั่นของเรา; นั่นเป็นเรา; นั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้. ..._______________________________________________________________
สูตรที่ ๒ ทุติยเปยยาล ทิฎฐิสังยุตต์ ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๕๐/๔๑๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
พระไตรปิฎกฉบับหลวงปู่พุทธทาส
http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1931/index.html ขอบคุณภาพจาก
http://www.watpathumwanaram.com/main/gallery_detail.php?id=16