ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิศวกรสันติภาพ 'มจร' พบพุทธวิธี..แก้ขัดแย้งการเมืองไทย  (อ่าน 1028 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วิศวกรสันติภาพ 'มจร' พบพุทธวิธี..แก้ขัดแย้งการเมืองไทย

วิศวกรสันติภาพ'มจร'ท่องแดนพุทธภูมิ พบวิธีแก้ปมความขัดแย้งการเมืองไทย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)

ขณะนี้สังคมไทยยังมองไม่เห็นแนวทางแก้ปมขัดแย้งทางการเมืองไทย อันเกิดจากความเห็นสุดขั้ว 2 กลุ่มคือ ต้องเลือกตั้งก่อนปฏิรูปการเมือง ยึดประชานิยมเป็นสรณะ ภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับกลุ่มที่ต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้งภายใต้การนำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส.ได้นำมวลมหาประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงการบริหารงานของกลุ่มแรก อันมีมูลเหตุมาจากต้องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนบานปลายเป็นไล่ระบบทักษิณถึงขั้นปิดกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายทางโอกาสด้านต่างๆอีกมากมาย

ช่วงที่การเมืองไทยมีความวุ่นวายอยู่นี้เอง ได้มีโอกาสปลีกวิเวกร่วมคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) รุ่นที่ 1 (และกำลังรับสมัครรุ่นที่ 2) ตามโครงการ "จาริกสันติธรรม สู่ดินแดนแห่งพุทธภูมิ" ประเทศอินเดีย-เนปาล จำนวน 40 รูป/คน ระหว่างวันที่ 16-26 มกราคมที่ผ่านมา ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรดังกล่าว 



ทั้งนี้มองเห็นว่า สังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์นั้น เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรงในหลายมิติด้วยกัน กล่าวคือ ด้านค่านิยม ทัศนคติ ภาษา ศาสนา ความต้องการ ผลประโยชน์ และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่พยายามจะดำรงและรักษาความเป็นอัตลักษณ์ และผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเองเอาไว้และการที่สังคมโลกไม่สามารถที่จะแสวงหาความสมดุลในโลกแห่งความแตกต่างจึงทำให้ความขัดแย้งได้พัฒนาไปสู่ความรุนแรงในที่สุด

จากประเด็นปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรงดังกล่าวนั้น จึงทำให้เกิดการแสวงหาทางเลือกเพื่อนำมาฟื้นฟูและเยียวยาความขัดแย้งและความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งคำถามและการแสวงหาทางเลือกตามที่ปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนา  ด้วยเหตุนี้บัณฑิตวิทยาลัย มจร ได้ตระหนักรู้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก จึงได้จัดทำหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งทางเลือกเกี่ยวกับรูปแบบของการฟื้นฟูและเยียวยาความขัดแย้ง อันจะนำไปสู่กระบวนการของการสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์แก่ประชาชนและสังคม ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในลำดับต่อไป

จากพุทธกิจวัตรแห่งพุทธองค์ที่ทรงปฏิบัติทำให้เกิดคุณประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล อันเป็นคุณค่ามหาศาลเพื่อการนี้ การจาริกสู่ดินแดนแห่งพุทธองค์ เป็นการแสวงหาซึ่งธรรม และเป็นการระลึกถึงซึ่งคุณต่างๆ และเพื่อการศึกษา ดูงานในสถานี่สำคัญ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ลุมพินีวัน พุทธคยา สารนาถ กุสินารา และบ้านเกิดมหาตมคานธี อันเป็นบ่อเกิดแห่งพุทธสันติวิธี เพื่อสร้างสันติภาพภายในให้เกิดสันติภายนอกต่อสังคมโดยรวม



การเดินทางดูงานสังเวชนียสถาน 4 ตำบลของคณะดังกล่าวในครั้งนี้ได้บำเพ็ญขันติและวิริยบารมีขั้นอุกฤษฏ์เนื่องจากการเดินทางแต่ละจุดนั้นต้องกินเวลานานอย่างน้อย 7 ชั่วโมงสูงสุดนานถึง 13 ชั่วโมง มีทั้งเดินทางด้วยเครืองบิน รถบัสและรถไฟ บางช่วงถนนก็ลุ่มลึก เลนเดียว แต่ก็ไม่เห็นรถชนกันเลยเพราะคนขับอินเดียสติดีมาก บวกกับสภาพอากาศหนาวเย็นต้องต่อสู้กับขันธมารคือร่างกายบางคนสู้ไม่ไหวล้มป่วยก็มี แต่คณะก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆเดินทาง "จาริกสันติธรรม" ได้ตามวัตถุประสงค์

กิจกรรมระหว่าง "จาริกสันติธรรม สู่ดินแดนแห่งพุทธภูมิ" ครั้งนี้ได้พระธรรมทูตประเทศอินเดีย-เนปาลทำหน้าที่เป็นวิทยากรหรือไกด์บรรยายให้คำแนะนำสถานที่ หลักธรรม มีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร รวมถึงสภาพบ้านเมืองอินเดียและการปฏิบัติตนระหว่างการเดินทาง ทั้งบนรถและตามจุดต่างๆ กิจวัตรที่ปฏิวัติเมื่อเดินทางไปถึงสังเวชนียสถานจุดต่างๆจะมีการไหว้พระทำวัตรเช้า-เย็น และสวดมนต์บทที่เกี่ยวเนื่อง นั่งสมาธิ และฟังพระวิทยากรบรรยาธรรม

การบรรยาธรรมของพระวิทยากรนั้นนอกจากจะมีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้ยกหลักธรรมและเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทำหน้าที่ในการแก้ปมความขัดแย้งขณะนั้น และได้ยกเหตุการณ์การเมืองไทยที่มีความขัดแย้งขณะนี้ขึ้นมาประกอบด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร นอกจากจะสร้างสันติภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนแล้ว  หน้าที่หลักหลังจากจบการศึกษาแล้วนั้นก็คือนำความรู้ไปแก้ปมความขัดแย้งของสังคมด้วย


พุทธคยาเป็นจุดแรกที่จาริกสันติธรรมของคณะ เนื่องจากเป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะสามารถชนะมารบำเพ็ญเพียรจนสามารถบรรลุธรรมเกิดสันติภายใจอย่างถาวร แล้วสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นกับชาวโลกมายาวนานถึง 2,600 ปี โดยไม่ได้ใช้กำลังในแก้ปัญหาความขัดแย้งเลย

สาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะสามารถบรรลุธรรมได้นั้นเนื่องจากละความสุดโต่งในการแสวงหาความสุขทางกายที่เรียกว่า "กามสุขัลลิกานุโยค" โดยการออกบวชและหาทางบรรลุธรรมโดยได้ทดสอบแนวทางสุดโต่งด้วยการทรมานตนที่เรียกว่า "อัตตกิลมถานุโยค" ถึง 6 ปียังไม่บรรลุดธรรม จึงได้หันมาใช้แนวทางแบบสายกลางที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือมรรคมีองค์ 8 เริ่มจากความเป็นที่ถูกต้องเป็นต้นจึงได้บรรลุธรรม

จุดนี้พระวิทยากรได้ยกเหตุการณ์การเมืองไทยที่มีความขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ที่ยืนอยู่บนทางสุดโต่ง 2 ทางนั้น ยากที่จะทำให้บ้านเมืองสงบได้ จึงจำเป็นต้องใช้ทางสายกลางคือการเจรจา เพราะไม่มีฝ่ายใดจะได้ชัยชนะแบบ 100%  ประกอบกับประชาธิปไตยไทยพัฒนามาเพียง 80 ปีกว่าเท่านั้นยังต้องพัฒนาการไป เพราะประเทศอังกฤษมีการพัฒนามานานตั้ง 800 ปี สหรัฐฯก็นานถึง 200 ปี  และประชาธิปไตยไทยเป็นแบบ "แกงโฮ๊ะ" หยิบเอาประชาธิปไตยจากประเทศต่างๆมาประยุกต์ใช้ซึ่งอาจจะยังไม่ลงตัวก็เป็นได้ ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดก็คือต้องมีการประนีประนอมกัน


จุดที่สองที่คณะจาริกสันติธรรมเดินทางไปคือ "กุสินารา" ซึ่งเป็นสถานที่ปรินิพานของพระพุทธเจ้า สาเหตุที่คณะได้ทางต่อมาที่จุดแห่งนี้ก็เพราะความสะดวกของการเดินทางที่ไม่ต้องย้อนไปย้อนมา ที่จุดนี้ทำให้ได้ทราบถึงแนวทางของการแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือหลังถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดการแย่งพระบรมสารีริกธาตุระหว่างเจ้าแคว้นต่างๆที่พระพุทธเจ้าเดินทางไปเผยแพร่ธรรม ได้โทณพราหมณ์เตือนสติเจ้าแคว้นต่างๆได้เห็นอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนาคือไม่ควรขัดแย้งทำร้ายกันตามที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ในวันมาฆบูชา เพราะหากใช้กำลังทำสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุแล้วย่อมทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของโทณพราหมณ์ที่ใช้หลักของการแก้ความขัดแย้งเริ่มจากการเจรจา

 :96: :96: :96:

จุดที่สามคือสวนลุมพินีวันประเทศเนปาลซึ่งเป็นสถานที่ประสูติ ทางยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นสถานที่มรดกโลกจุดไฟสันติภาพต่อเนื่องมาแบบไม่ดับ เพราะเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้าที่เป็นตัวอย่างของการสร้างสันติภาพในโลก พร้อมกันนี้ยังได้เห็นพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากกรณีที่ชาวนาระหว่างเมืองสักกะกับวิเทหะที่เป็นพระญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันเนื่องแย้งน้ำทำนา และความขัดแย้งลุกลามไปถึงกษัตริย์ที่ยกชาติพันธุ์มาเป็นชนวน พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีเตือนสติให้เห็นความสำคัญของเลือดมากกว่าน้ำปัญหาจึงยุติ

และอีกเหตุการณ์หนึ่ง พระเจ้าวิฑูรทัพพะราชโอรสของพระเจ้าปเทนทิโกศลที่เกิดจากนางทาสีที่เจ้าศากยวงศ์ยอมแมวว่าเป็นธิดา มีความโกรธแคว้นเจ้าศากยวงศ์เพราะเหตุดังกล่าว ยกทัพไปปราบ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเตือนสติถึง 3 ครั้ง แต่ครั้งที่ 4 พระองค์ทรงเห็นว่าทรงห้ามไม่ได้แล้วเพราะเห็นแห่งกรรมเก่าจึงทรงนิ่งเสีย ส่งผลให้พระเจ้าวิฑูรทัพพะสังหารเจ้าศากยวงศ์จนหมดสิ้น แต่พระองค์เองก็สิ้นพระชมน์ในสายน้ำในเวลาต่อมา เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าได้ทำหน้าที่ของพระองค์อย่างเต็มที่แล้วแม้ว่าจะไม่สามารถก็ปัญหาความขัดแย้งได้ เพราะสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม



จุดที่สี่คือเมืองสาวัตถีเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าจำพรรษานานที่สุด มีหลักธรรมเกิดขึ้นมากมาย และมีพุทธวิธีที่แก้ความขัดแย้งนั้นก็คือความขัดแย้งของพระเมืองโกสัมพีที่ทะเลาะกันเพราะเรื่องเล็กน้อยแต่ลุกลามใหญ่โตแบ่งเป็นสองฝ่ายชัดเจนเหมือนเมืองไทย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบได้ทรงใช้วิธีให้พระทั้งสองกลุ่มเจรจาประนีประนอมกันแต่ไม่เป็นผล อันเป็นสาเหตุให้พระพุทธเจ้าปลีกวิเวกไปจำพรรษาแต่เพียงพระองค์เดียวที่ป่าปาลิไลยกะมีช้างและลิงคอยดูแล เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ชาวเมืองโกสัมพีเสียประโยชน์ที่ไม่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าจึงแก้เผ็ดหรือทำลายทิฐิพระด้วยการไม่ใส่บาตรไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่งผลให้พระสำนึกผิดแล้วหันมาคือดีกันปัญหาก็ยุติ ที่เมืองนี้เองทำให้ได้ทราบพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหลายประการ

จุดที่ห้าคือเมืองสารนาถหรือเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองที่พระพุทเจ้าแสดงปฐมเทศนา แต่จุดที่น่าสุดใจตรงนี้ในการแก้ความขัดแย้งนั้นก็คือลูกเศรษฐีชื่อยสะเกิดความเบื่อหายในการครองเรื่องได้หนีออกจากบ้านแล้วบนไปตลอดทางว่า "วุ่นวายหนอ ขัดข้องหนอ" จนกระทั้งไปพบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมจนบรรลุธรรมออกบวช ซึ่งถือว่าเป็นการพบความสงบภายใน แล้วพระพุทธเจ้าก็ส่งไปช่วยสร้างสันติให้เกิดขึ้นในสังคมอินเดียต่อไป

จุดที่หกคือชมพิพิธภัณฑ์มหาตมะ คานธี ตั้งอยู่บนถนน Tees January Marg ใจกลางกรุงนิวเดลี  เมืองหลวงของประเทศอินเดีย  ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถาน ประกอบด้วยบ้านพักที่มหาตมะ คานธีอาศัยอยู่ในช่วง 144  วันสุดท้ายของชีวิต ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2490  จนกระทั่งถูกลอบสังหารในวันที่ 30 มกราคม 2491 นิทรรศการแสดงภาพชีวประวัติและเรื่องราวการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช อนุสรณ์สถาน ณ บริเวณที่มหาตมะคานธีเสียชีวิต รูปปั้นมหาตมะ คานธี เปลวเพลิงเป็นเครื่องรำลึกถึงมหาตมะ คานธี กลองสันติภาพ ห้องจัดแสดงตุ๊กตาจำลองเรื่องราวชีวิตของมหาตมะคานธี

 :25: :25: :25:

ภายในบริเวณอาคารบ้านพักเป็นที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของมหาตมะคานธี ภาพถ่าย เอกสารต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือของมหาตมะคานธี และเอกสารอื่นๆ รวมถึงภาพยนต์สารคดีที่แสดงถึงชีวประวัติ แนวความคิด และการเคลื่อนไหวเพื่อการเรียกร้องเอกราชของมหาตมะคานธี โดยการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ

การจัดแสดงผลงานของมหาตมะ คานธีในรูปแบบต่างๆนั้น ต้องการสื่อให้เห็นภาพของสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับประเทศอินเดียด้วยการเรียกร้องเอกราชจากประเทศอังกฤษด้วยวิธีการอหิงสาและอารยะขัดขืน และภายในพิพิธภัณฑ์ได้แสดงภาพของพระพุทธเจ้าหลายจุดด้วยกันอันแสดงเห็นว่ามีอิทธิพลต่อความคิดของมหาตมะ คานธีอย่างมากจนสามารถเรียกร้องเอกราชจากประเทศอังกฤษสำเร็จและกำหนดให้วันที่ 26 ม.ค.ของทุกปีเป็นวันชาติ อย่างเช่นคำว่า "ฉันไม่สามารถสอนความรุนแรงให้แก่เธอได้ เพราะตัวฉันเองไม่เชื่อมั่นว่าความรุนแรงสามารถแก้ปัญหาได้ ความจริงคือ ตาต่อตาทำให้โลกทั้งโลกมืดบอด"

ตลอดระยะเวลา 10 วัน 9 คืน ที่ได้มีโอกาสเกาะชายคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร ตามโครงการ "จาริกสันติธรรม สู่ดินแดนแห่งพุทธภูมิ" ประเทศอินเดีย-เนปาล  เกือบรอบประเทศอินเดีย ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดปีติไม่น้อย เพราะหากไม่ได้คณะนี้ก็ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสเช่นนี้เมื่อใด นับได้ว่าคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร ได้มีส่วนสร้างสันติให้เกิดขึ้นใจจิตใจมากพอสมควร และได้เห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กำลังในการแก้ปัญหาเลย คิดว่าคงจะเป็นแรงกระตุ้นและแนวทางในแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเมืองไทยในขณะนี้ได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อมียาอยู่ในสังคมไทยแล้วอยู่ที่ว่าผู้ป่วยจะกินยาหรือไม่ หรือว่าสังคม(การเมือง)ไทยลืมยาขนาดนี้ไปเสียแล้ว...


ขอบคุณภาพและบทความ
http://www.komchadluek.net/detail/20140129/177787.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ