ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ขันติธรรม'สมเด็จเกี่ยว คำสอนสุดท้ายแก่ชาวพุทธ  (อ่าน 1231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



'ขันติธรรม'สมเด็จเกี่ยว คำสอนสุดท้ายแก่ชาวพุทธ : ผกามาศ ใจฉลาดรายงาน

10 สิงหาคม 2556 ทั่วทั้งสังฆมณฑลได้รับทราบข่าวมรณภาพของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) หรือ “สมเด็จเกี่ยว” อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 85 ปี 6 เดือน ยังความโศกเศร้าอาลัยแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทย

ความเคารพนับถือของคณะสงฆ์ บุคคลสำคัญ ประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีต่อ “สมเด็จเกี่ยว” โดยมาแสดงความอาลัยและร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพนั้นเป็นมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนกระทั่งถึงวันใกล้พระราชทานเพลิงศพ ด้วยคุณงามความดีที่สมเด็จพระพุฒาจารย์สร้างไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศ จากโกศย่อมุมไม้สิบสอง เป็นโกศมณฑป แด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศสูงสุดที่พระราชทานแด่สมเด็จพระราชาคณะ

 :25: :25: :25:

พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กล่าวว่า ในวาระนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.   
             
พระวิจิตรธรรมาภรณ์ เล่าว่า สมเด็จเกี่ยว หรือ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” มีนามและสกุลเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของ นายอุ้ย เลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย่ (ยี โชคชัย) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2471 ณ บ้านเฉวง ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบ ป.4 หลังจากนั้นเมื่ออายุได้ 12 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง อ.เกาะสมุย และโยมมารดานำไปฝากไว้กับท่านพระครูอรุณกิจโกศล (หลวงพ่อพริ้ง) วัดแจ้ง ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย ด้วยท่านเป็นผู้ฝักใฝ่การศึกษา มีวิริยะอุตสาหะ หลวงพ่อพริ้งจึงนำไปฝากกับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ณ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ

 :96: :96: :96:

ต่อมาปี 2492 ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถระ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีนามฉายาว่า “อุปเสโณ” ปี 2497 ท่านสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จากนั้นปี 2501 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระเมธีสุทธิพงศ์”, ปี 2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชวิสุทธิเมธี”, ปี 2507 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพคุณาภรณ์”, ปี 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมคุณาภรณ์”,  ปี 2516 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ “พระพรหมคุณาภรณ์”, ปี 2533 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์”  ตราบถึงวันมรณภาพ

“เจ้าประคุณสมเด็จเกี่ยวท่านเป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมสืบสานพระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งในและต่างประเทศ มีผลงานเผยแผ่ธรรมที่เป็นหนังสือ อาทิ ธรรมะสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ดีเพราะมีดี, ทศพิธราชธรรม, วันวิสาขบูชา, การนับถือพระพุทธศาสนา, ปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), โอวาทพระธรรมเทศนาและบทความสมเด็จพระพุฒาจารย์, การดำรงตน, คุณสมบัติ 5 ประการ เป็นต้น นอกจากนี้ ท่านยังทุ่มเทกับงานพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เดินทางไปทั่วทุกมุมโลก เพื่อหาแนวทางที่จะให้มีวัดเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก จนเป็นผู้เปิดวิสัยทัศน์ธรรมสู่วิสัยทัศน์โลก มีพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน”


 st11 st11 st11

พระวิจิตรธรรมาภรณ์ กล่าวอีกว่า คำสอนของท่านนั้นนับเป็นอีก “มรดกธรรม” ที่ได้ทิ้งไว้ และมีความ “ร่วมสมัย” อย่างยิ่ง ควรอย่างยิ่งที่ชาวพุทธในทุกแวดวงจะได้รับไว้ปฏิบัติกันทั่วหน้า อย่างในวันวิสาขบูชา เมื่อปี 2551 “สมเด็จเกี่ยว” ท่านได้กล่าวสัมโมทนียกถาแก่พุทธศาสนิกชนไว้ ความตอนหนึ่งว่า ...

   “ที่เราอยู่กันได้ในปัจจุบันนี้ เพราะมีขันติธรรม มีน้ำอดน้ำทนในทุกระดับ มารดา บิดา มีน้ำอดน้ำทน จึงสามารถเลี้ยงบุตรธิดาได้ ผู้บริหารประเทศชาติบ้านเมืองต้องมีน้ำอดน้ำทน จึงจะสามารถบริหารประเทศชาติบ้านเมืองไปได้ และที่จะมีน้ำอดน้ำทนได้ดีนั้น เพราะมีสติระลึกได้อยู่เสมอ ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงควรที่จะได้ตั้งใจให้ดีอย่างมีสติ มีความอดทน รู้จักดำเนินชีวิตแต่พอดี ไม่ให้เกิดความเดือดร้อน แม้จะมีปัญหาใดๆ ก็ช่วยกันแก้ไข เพื่อนำชีวิตของตนไปสู่ความร่มเย็น”





เส้นทางเชิญโกศ

กำหนดการในวันที่ 9 มีนาคม เริ่มตั้งแต่ 07.00 น. มีพิธีสวดพระพุทธมนต์ที่วัดสระเกศ พร้อมกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ้าไตรบังสุกุล จากนั้นเชิญโกศศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ขึ้นรถวอจัตุรมุข เพื่อเคลื่อนจากศาลาการเปรียญวัดสระเกศ ไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในเวลา 12.30 น. โดยใช้เส้นทางจากวัดสระเกศ เลี้ยวขวาสี่แยกแม้นศรี ไปตามเส้นทางถนนบำรุงเมือง เลี้ยวขวาแยกกษัตริย์ศึกไปทางถนนกรุงเกษม เลี้ยวขวาแยกนพวงศ์ไปตามทางถนนหลวง ก่อนเลี้ยวขวาเข้าวัดเทพศิรินทราวาส ส่วนวันที่ 10 มีนาคม เวลา 07.00 น. จะเชิญอัฐิสมเด็จพระพุฒาจารย์กลับมายังตำหนักสมเด็จ วัดสระเกศ

งานพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีผู้นำคณะสงฆ์จากฝ่ายเถรวาทและมหายานจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วม นอกจากนี้มีพระธรรมทูตไทย สายอเมริกา สายยุโรป สายสแกนดิเนเวีย และสายออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ รวมๆ แล้วคณะสงฆ์แจ้งความจำนงเข้าร่วมพิธีกว่า 2 หมื่นรูป โดยขบวนเชิญศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ คณะสงฆ์จากนิกายต่างๆ จะแต่งกายและห่มจีวรตามแบบนิกายตนเองอย่างเต็มยศ ส่วนประชาชนทั่วไป ขอเชิญชวนให้แต่งชุดขาว เพื่อแสดงความอาลัยแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย



ของที่ระลึก 6 อย่างอันมีค่าสูงสุด

อีกหนึ่งสิ่งที่บรรดาศิษยานุศิษย์รอคอยและต้องการ นั่นคือของที่ระลึก ซึ่งจะแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชน ผู้เข้าร่วมงานพิธีดังล่าว ได้แก่

    1.พระไตรปิฎก ฉบับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้มีบัญชาให้ชำระ โดยมหาเถรสมาคมจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ฉบับเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
    2.หนังสือภาพเล่าเรื่องประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์
    3.หนังสือประวัติวัดสระเกศ และประวัติพระบรมสารีริกธาตุ
    4.หนังสือเย็นหิมะในรอยธรรม เป็นหนังสือที่สมเด็จพระพุฒาจารย์สะท้อนถึงแนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ และ
    5.สมันตปาสาทิกา ผลงานแปลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก และสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้แปลไว้ตั้งแต่ปี 2497 เมื่อครั้งเป็นครูสอนบาลี ประโยค ป.ธ.7 และถูกนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในวาระออกพระเมรุ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) เมื่อปี 2508 ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนบาลี ประโยค ป.ธ.7 อย่างมาก และ 6.ล็อกเกต และเหรียญที่ระลึกสมเด็จพระพุฒาจารย์

ขอบคุณภาพและบทความ
http://www.komchadluek.net/detail/20140308/180416.html#.UxyH-c49S4l
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ