ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัตถุมงคล ชุดชินบัญชรฉลอง ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชฯ  (อ่าน 4650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วัตถุมงคล ชุดชินบัญชรฉลอง ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชฯ : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

          วัตถุมงคลชุดชินบัญชรฉลองพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ ประกอบด้วย พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ชินบัญชร พระสังกัจจายน์และพระปิดตาชินบัญชร และพระสมเด็จชินบัญชรหลังพระฉายาลักษณ์ (รูปถ่าย) ประกอบพิธีเททองและพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถร ปธ.๙)กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เป็นองค์ประธานประกอบพิธี ณ วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖

          มูลเหตุในการจัดสร้างเพื่อนำรายได้สมทบทุนในการก่อสร้างรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ที่ อ.หนองหิน จ.เลย และสมทบทุนกองทุนบูชาพระคุณ เพื่อพระภิกษุสามเณรอาพาธและผู้ป่วยยากไร้ ณ โรงพยาบาลบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ซึ่งยังต้องการปัจจัยอีกเป็นจำนวนมาก

           :25: :25: :25:

          วัตถุมงคลชุดชินบัญชร พระชนมายุ ๑๐๐ พรรษาสร้างจากชนวนมวลสารที่เกี่ยวเนื่องกับพระคาถาชินบัญชรด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระชุดโลหะคือ พระกริ่งชินบัญชร พระชัยวัฒน์ชินบัญชร พระสังกัจจายน์ชินบัญชร และพระปิดตาชินบัญชร นอกจากจะสร้างจากแผ่นยันต์ ๑๐๘ และนปถมัง ๑๔ นะ แผ่นยันต์พระคาถาชินบัญชรทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาธรรมล้านนา ชนวนพระกริ่งชินบัญชรรุ่นแรกหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปี ๒๕๑๗ ชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ของวัดบวรฯ วัดสุทัศน์ฯ ชนวนพระกริ่งวัดอื่นๆ และชนวนพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ฯลฯ

          ผงพุทธคุณที่นำมาบรรจุในพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ และผสมในพระสมเด็จชินบัญชร ๑๐๐ ปี ประกอบด้วย ผงพุทธคุณของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ แท่งผงพุทธคุณเก่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ที่พบในกรุวัดระฆัง และนำมาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างสมเด็จวัดระฆัง ๑๐๐ ปี, ๑๐๘ ปี, ๑๑๘ ปี และ ๑๒๒ ปี ผงสมเด็จวัดระฆัง-วัดบางขุนพรหมและปิลันทร์ที่ชำรุด ผงพุทธคุณเก่าของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผงพุทธคุณเก่าของหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ผงพุทธคุณเก่าของพระวัดรังสี ว่านมหาเสน่ห์  ๑๐๘ ประการ และผงพุทธคุณเก่าๆ ของพระเกจิอาจารย์ทั้งที่ทราบที่มาและไม่ทราบที่มาอีกมากมาย



          นอกจากนี้ยังมีชนวนมวลสารที่สำคัญที่มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ ตะปูสังฆวานรพระอุโบสถเก่าของวัดบางหว้าใหญ่ ก่อนที่จะมาเป็นวัดระฆังโฆสิตารามในสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งโบสถ์มหาอุตม์วัดบางหว้าใหญ่เป็นโบสถ์โบราณสมัยอยุธยาตอนกลาง มีตะปูสังฆวานรมากมายและผู้ดำเนินการจัดสร้างได้รับความเมตตาจาพระผู้ใหญ่ในวัดระฆังซึ่งทราบเจตนาในการจัดสร้างวัตถุมงคลฉลองพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ จึงมอบมาให้โดยไม่หวงแม้แต่น้อย

          อย่างไรก็ตาม มีคติความเชื่อของการจัดสร้างวัตถุมงคลว่า ตะปูสังฆวานรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเพราะอยู่กับโบสถ์มหาอุตม์ที่ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์มากมายโดยเฉพาะการสวพระคาถาชินบัญชรทุกค่ำเช้าตะปูสังฆวานรจึงซึบซับเอาพระคาถาชินบัญชรที่พระเกจิยุคโบราณของวัดบางหว้าใหญ่สวดสืบทอดมาถึงสมัยสมเด็จฯ โต ก็ได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมสวดพระคาถาชินบัญชรในโบสถ์นี้อย่างสม่ำเสมอ

          พุทธลักษณะขององค์พระพระกริ่งชินบัญชรฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี หล่อโบราณดินไทยเต็มองค์ เป็นกริ่งจีนใหญ่นั่งสมาธิบนกลีบบัว ๒ ชั้นเทหล่อโบราณดินไทย หน้าองค์พระคล้ายกับกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ใต้ฐาน ฝังตะกรุด อุดผงพุทธคุณ ปิดทองทับอีกตอกโค้ด ตอกหมายเลขไทย เรียงเบอร์ทุกองค์ โดยได้นายช่างสมร รัชชนะธรรม ที่ผ่านประสบการณ์มายาวนานหลายสิบปีผลงานที่โด่งดังที่พวกเราในวงการพระเครื่องต่างก็ทราบกันดีก็คือ เทหล่อพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ท่านได้มาควบคุมงานเทหล่อโบราณดินไทย






ประวัติพระคาถาชินบัญชร

          สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระศรัทธา ปสาทะ ในบทพระคาถาชินบัญชรยิ่งนักทรงอธิษฐานจิตเจริญภาวนาด้วยบทพระคาถาชินบัญชรอยู่เสมอๆ ในปีพ.ศ.๒๕๑๘ ทรงรจนาหนังสือ "ประวัติพระคาถาชินบัญชร" โดยทรงค้นคว้าประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรที่นิยมสวดกันแพร่หลายในประเทศไทย ประเทศศรีลังกา ประเทศพม่า ประเทศมอญในอดีต อาณาจักล้านนาในอดีตโดยมีนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางก็นิยมสวดพระคาถาชินบัญชรด้วยกันทั้งสิ้น โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป

          พม่าเรียกพระคาถาชินบัญชรว่า "ระตะนาช่วยใช่" (ฉบับพม่า วัดท่ามะโอ ลำปาง) และ "ระตะนะปัญชะรัง" ส่วนในอาณาจักรล้านนาเรียกว่า "คาถาเชยฺยเบงชร" หรือ "ไจยยะเบงชร" (ฉบับบล้านนา วัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน) และศรีลังกาเรียกว่า "พระคาถาชินปัญชร" และไทยเราเรียกว่า "พระคาถาชินบัญชร" โดยถือเอาบทของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นหลัก

          จากการค้นคว้าและตรวจชำระของสมเด็จพระสังฆราชฯ พบว่าพระคาถาชินบัญชรนั้นมีต้นกำเนิดที่ประเทศไทยเป็นมรดกทางธรรมที่ทรงคุณค่าและแพร่หลายไปในพม่าล้านนาและศรีลังกา นิยมสวดบูชากันเป็นสิริมงคลเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตรายนานาประการ หนังสือประวัติพระคาถาชินบัญชรที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงรจนาและโปรดให้จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานฉลองพระชนมายุในวันที่ ๓ ตุลาคม ปี ๒๕๑๘ นั้น ได้พิมพ์ทั้งฉบับของไทยและลังกาพร้อมทั้งคำแปลของทั้ง ๒ ฉบับ เป็นการให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรของทั้งสองชาติอันเป็นที่นิยมนับถือของคนไทย พม่าและลังกาและเป็นครั้งแรกที่นำพระคาถาชินบัญชรฉบับของลังกามาเผยแพร่ในประเทศไทย





พระสมเด็จชินบัญชร

          พระสมเด็จชินบัญชรกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ในพิธีเททองหล่อพระกริ่งชินบัญชรโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์เป็นองค์ประธานกดพิมพ์เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยมีมวลสารผงพุทธคุณของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นหลัก ผสมผสานด้วยแท่งผงอิทธิเจของสมเด็จโตที่พบในกรุวัดระฆังเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ และเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๑๐๘ ปี ๑๑๘ ปี เสาร์ห้า และอนุสรณ์ ๑๒๒ ปี

          ยังมีชิ้นส่วนพระสมเด็จวัดระฆังบางขุนพรหมรุ่นแรก ชิ้นส่วนพระสมเด็จปิลันทน์ชิ้นส่วนพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๑๐๘ ปี ๑๑๘ ปี เสาร์ห้า และ ๑๒๒ ปี ผงไม้เครื่องบนหลังคาโบสถ์มหาอุตม์วัดบางหว้าใหญ่ ชิ้นส่วนประตูโบสถ์มหาอุตม์ด้านบนที่เรียกว่า "รอดบน" ผงรักทองที่ได้จากการบูรณะพระประธานในโบสถ์มหาอุตม์หลังนี้และชิ้นส่วนจากการบูรณะองค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย พระเกศา จีวรฉลองพระองค์ ไม้ข่อยสีพระทนต์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ผงพุทธคุณของหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ ว่านมหาเสน่ห์ ๑๐๘ ประการ ฯลฯ อีกมากมาย

          ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญก่อสร้างรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ที่ อ.หนองหิน จ.เลย และสมทบทุนกองทุนบูชาพระคุณ เพื่อพระภิกษุสามเณรอาพาธและผู้ป่วยยากไร้ ณ โรงพยาบาลบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี สอบถามขอมูลได้มที่มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ อาคารศุภมิตร ภายในวัดมกุฏกษัตริยาราม โทร.๐-๒๒๘๐-๑๓๗๔ และ ๐๘๑-๙๓๙-๒๘๒๘ หรือที่ คณะเหลืองรังสี โทร.๐๘-๑๙๐๘-๙๘๔๓ และ ๐๘-๑๘๑๙-๘๔๑๑


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140324/181385.html#.UzAsUaI9S4l
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ