พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด ๔
พระไตรปิฏก เล่มที่ 11 หน้า 285 อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิต ที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คืออัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน)ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา(กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ประการแรก ต้องการพูดถึงเรื่อง นิมิต ปกติจะอธิบายกัน มีอยู่ 3 ประการคือ
1.บริกรรมนิมิต การกระทำซึ่งสัญญาณด้วยการบริกรรม
2.อุคคหนิมิต การกระทำซึ่งใจด้วยบริกรรมนิมิต
3.ปฏิภาคนิมิต การกระทำให้ยิ่งขึ้นไปด้วยอุคคหนิมิต
3.ประการนี้ขอยกไว้เพราะเป็นข้อความยกไว้ก่อน
ที่ควรจะทำความเข้าใจ ไม่ใช่ลำดับ ที่ 2 และ ที่ 3 แต่เป็นลำดับที่ 1 คือ บริกรรมนิมิต ซึ่งในพระไตรปิฏกมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยใช้คำว่า สมาธินิมิต บ้าง บริกรรมนิมิต บ้าง
ซึ่งเป็นการถูกต้องที่สุดก็คือ เราควรหันมาสนใจเรื่อง ของ สมาธินิมิต หรือ บริกรรมนิมิตให้มากขึ้น
ก็เจริญธรรมเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

