ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย ความว่าง อัตตา และ ′อนัตตา′ อยู่ อย่าง ยึดโยง  (อ่าน 2268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ว่าด้วย ความว่าง อัตตา และ ′อนัตตา′ อยู่ อย่าง ยึดโยง

พลันที่เอ่ยถึง "ความว่าง" ก็จะนำไปสู่ความโน้มเอียงในเรื่องนิกายเซน ในเรื่องมหายาน คล้ายกับเป็นเรื่องของจีน คล้ายกับเป็นการคิดประดิษฐ์สร้างโดยธรรมาจารย์แห่งนิกายเซนอย่างท่านเว่ยหล่าง ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วนี่เป็นเรื่องของพุทธธรรม

อาจเพราะว่าท่านพุทธทาสภิกขุแปล "สูตรของเว่ยหล่าง" ทำให้ผู้คนมองและประเมินท่านว่ามีความโน้มเอียงไปทางมหายานมากกว่าเถรวาท ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ว "ความว่าง" เป็นแก่นแท้ของศาสนาพุทธ มิได้เป็นเรื่องที่เมื่อพุทธศาสนาจาริกไปยังตงง้วน แล้วธรรมาจารย์อย่างเว่ยหล่างจะจับหลักพุทธธรรมบวชเข้ากับเต๋าแล้วกลายเป็นเซน แล้วก็ชู "ความว่าง" หรือ "สุญญตา" โดดเด่น

ยิ่งใครที่อ่านยุทธนิยายเรื่อง "มังกรหยก" ภาค 1 ของท่านกิมย้งเมื่อกล่าวถึงเพลงหมัดว่างของจิวแป๊ะทง ยิ่งใครที่อ่านยุทธนิยายเรื่อง "ฤทธิ์มีดสั้น" ของท่านโกวเล้งสะท้อนการถกเถียงเรื่องการดำรงอยู่ของกระบี่ว่ามีหรือไม่มี


     :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ยิ่งเตลิดเพริศไปกันใหญ่ว่า "ความว่าง" เป็นเรื่องของ "จีน" ทั้งๆ ที่ความจริง ความว่าง ความมี ความไม่มี ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ดั้งเดิมโดยแท้ หากสอบค้นอย่างหยั่งลึกไปยังต้นตอก็จะประจักษ์ว่า คำว่า มี และ ไม่มี ดำรงอยู่ในกัจจานโคตคสูตร อันองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
   โลกนี้อาศัยส่วน 2 อย่าง คือ ความมี 1 ความไม่มี 1
  "ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วความมีในโลกย่อมไม่มี"

   ดังที่ในกาลต่อมาท่านนาคารชุนได้รจนารถไว้ในโศลกบทที่ 7 แห่งมูลมัธยมการิกา บทที่ 15
   "พระชินเจ้าผู้ทรงเปี่ยมไปด้วย / ความรู้ถึงสิ่งที่มีอยู่และมิได้มีอยู่ / ในกัจจานโคตตสูตร / ได้ทรงปฏิเสธทั้งความเป็นและความไม่เป็น....อัน โศรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ แปลออกมาอย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะใช้คำว่า "มี" ไม่ว่าจะใช้คำว่า "ไม่มี" ไม่ว่าจะใช้คำว่า "ความเป็น" ไม่ว่าจะใช้คำว่า "ความไม่เป็น"

     ans1 ans1 ans1

    สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคำว่า "อัตตา" สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคำว่า "อนัตตา"
    คำว่า "อนัตตา" ในเถรวาท ก็คือลักษณะอย่างเดียวกันกับที่มหายานชมชอบใช้ "ศุนยตา"
    ปมเงื่อนจึงอยู่ที่ว่าจะเข้าใจ "อนัตตา" อย่างไร ปมเงื่อนจึงอยู่ที่ว่าจะเข้าใจ "ศุนยตา" อย่างไร

    มีความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนในเรื่อง "มี" และ "ไม่มี" ระหว่างลี้คิมฮวงกับเซี่ยงกัวกิมฮ้งในยุทธนิยายเรื่อง "ฤทธิ์มีดสั้น" แน่นอน ความยอดเยี่ยมอยู่ที่ลี้คิมฮวงมากกว่าเซี่ยงกัวกิมฮ้ง
    แต่จะเข้าใจความมี และ ความไม่มี จะเข้าใจ "ความว่าง" อย่างแท้จริงกลับต้องศึกษาจากจิวแป๊ะทงในมังกรหยก และเหล็งฮู้ชงในกระบี่เย้ยยุทธจักร
    มีแต่เฒ่าทารกอย่างจิวแป๊ะทงเท่านั้นที่คิดเพลงหมัดว่างออกมาได้
    มีแต่คนซื่อใสและบริสุทธิ์อย่างก๊วยเจ๋งเท่านั้นที่สามารถเรียนรู้ได้ มีแต่คนซื่อใสบริสุทธิ์อย่างแม่นางเซี่ยวเล้งนึ้งเท่านั้นที่สามารถเรียนรู้ได้

    เช่นเดียวกับเหล็งฮู้ชงสืบทอดกลยุทธ์ไร้กระบวนท่า คือ มากด้วยกระบวนท่า
    เพราะเมื่อสามารถเข้าใจได้อย่างเจนจบกระทั่งสลายกระบวนท่าอันซับซ้อนลงได้อย่างสิ้นเชิง นั่นหมายถึงไร้กระบวนท่า นั่นหมายถึงสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างโปร่งใจ ไม่ยึดติดกับเครื่องร้อยรัดใดๆ
    ความหมายก็คือ อนัตตา ความหมายก็คือ ศุนยตา

     :25: :25: :25:

    กระนั้น ก็จำเป็นต้องยึดกุมวัจนะของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท อย่างมีโยนิโสมนสิการในเรื่องของอัตตาและอนัตตา
    ก่อนถึงภาวะแห่ง "อนัตตา" จำเป็นต้องมี "อัตตา" เสียก่อน
    แท้จริงแล้ว วิถีดำเนินแห่ง "อัตตา" กับ อนัตตา" มีความเชื่อมร้อย สัมพันธ์กันแนบแน่น
    ภาวะแห่งอนัตตามิได้หมายความว่า ไม่มีอัตตา เพียงแต่ด้วยการหยั่งถึงอนัตตาทำให้รู้เท่าทันในอัตตา และมิได้ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับอัตตา เห็นเป็นเพียงการมีอยู่ แต่ก็สักแต่ว่ามีอยู่ เสมือนกับไม่มี


ที่มา:มติชนรายวัน 30 พ.ค.2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1401434476
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ