ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วอนนักการเมือง อย่านำศาสนา..หาอำนาจ  (อ่าน 904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วอนนักการเมือง อย่านำศาสนา..หาอำนาจ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 11:06:21 am »
0

วอนนักการเมือง อย่านำศาสนา..หาอำนาจ
วงถกผู้นำศาสนาอาเซียนวอนนักการเมือง นำศาสนาสร้างสันติสุขมากกว่าใช้หาอำนาจ
สำราญ สมพงษ์ รายงาน

การประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1 เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา โดยมีผู้นำศาสนาจาก 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน  80 คน รวมถึงคนไทยร่วมงานประมาณ 500 คน  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้เริ่มอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.นี้  และจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 29 ก.ย.  โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน

นายนพรัตน์  เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการพศ. ได้กล่าวรายงานการจัดการประชุมว่า 1ใน3 เสาของการสร้างประชาคมอาเซียน    คือ  การบูรณาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรมผ่านการสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรม  (ASEAN   Socio-Cultural Community) แห่งอาเซียนและในการก้าวเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมแห่งอาเซียน นั้น  จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม และกรอบวิธีคิดรวมไปถึงการดำเนินชีวิตที่มีลักษณะจำเพาะในบริบทของแต่ละสังคม


 ans1 ans1 ans1 ans1

ในการนี้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ให้คติเตือนใจโดยขอให้การประชุมครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุุขแห่งประชาชน เพื่อสันติสุขแห่งประชาชาติ และเพื่อสามัคคีสุขแห่งอาเซียน อย่างไรก็ตามในสาส์นสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ให้ความหมายของ "ขันติธรรมทางศาสนา" หลายประการแต่ที่น่าสนใจน่าจะนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมคือความเป็นผู้มีใจกว้างทางศาสนา พร้อมที่จะยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับเพื่อนมนุษย์ผู้มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน

เช่นเดียวกันนายสุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมตรีกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ได้อ่านสาส์นในนามรัฐบาลไทย โดยได้ยกปฏิญญายูเนสโกว่าด้วยขันติธรรมก็ได้หมายคือความเปิดใจกว้างเช่นเดียวกัน  พร้อมกับระบุว่า ขอขอบคุณสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และ มจร ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยและมหาเถรสมาคม และขอชื่นชมต่อหลักสูตรปริญญาโทสาขาสันติศึกษาพร้อมทั้งกรรมการดำเนินการจัดงานทุกคนและยินดีกับผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียนที่มุ่งมั่นสร้างสันติสนทนาเพื่อสันติภาพครั้งนี้



ขณะที่สาส์นนายอาศิศ พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ก็ได้ระบุถึงขันติธรรมทางศาสนาในลักษณ์เดียวกันความว่า อิสลามเป็นหนึ่งศาสนาสากลที่มีสาส์นเพื่อมวลมนุษยชาติ ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพที่มั่นคงคงบนพื้นพิภพ เรียกร้องให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ ขันติธรรม และฉันท์มิตร มิให้นำความแตกต่างทางเชื้อชาติ สีผิว ภาษาและลัทธิทางความเชื่อขอบบุคคลมาเป็นกำแพงกั้นในการอยู่ร่วมกัน จึงไม่เป็นการอันควรที่จะให้ความแตกต่างดังกล่าวเป็นบ่อเกิดหรือเหตุแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกให้หมู่มนุษยชาติ

และอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้ร่วมเสวนาหรือผู้ปาฐกถาได้แนะก็คือไม่ควรปล่อยให้นักการเมืองนำศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์อย่างเช่นพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มจร ประธานกรรมการบริหารสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก พร้อมกันเสนอว่าการจัดเสวนาครั้งนี้จะไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้ายจะต้องมีแนวทางในการร่วมกันทำงานต่อไป พร้อมกันนี้ต้องอาศัยสื่อความร่วมมือให้คนระดับรากหญ้าให้รับทราบและเข้าใจร่วมกัน


 :25: :25: :25: :25:

อย่างไรก็ตามในช่วงของการเสวนาผู้นำทั้ง 5 ศาสนามีความเห็นตรงกันว่า  ไม่ควรนำศาสนามาเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ศึกษาศาสนาตนเอง แต่ต้องเคารพยอมรับเข้าใจศาสนาอื่น ๆ ไม่ใช้ความรุนแรงทุกประการในทุกกรณี  และไม่ให้การเมืองนำใช้ศาสนาไปใช้ในการแสวงหาอำนาจหรือผลประโยชน์

ถึงอาเซียนจะแตกต่างกันในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี แต่เราคือมนุษย์ร่วมโลกกัน....อยู่ร่วมกันในความแตกต่าง หรือเรียกว่า เอกภาพในความแตกต่าง



ทั้งนี้พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าโครงการปริญญาโทหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า เมื่อไม่มีขันติ เราจะแสวงหาสันติได้อย่างไร? และถ้าไม่มีสันติ เราจะสามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างได้อย่างไร? เมื่อผู้นำศาสนาแสวงหาช่องทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บนฐานของการมีขันติ คำถามคือ ศาสนิกของแต่ละศาสนาจะใช้แบบอย่างดังกล่าวมาหล่อหลอมแนวคิด และวิถีแนวปฏิบัติได้อย่างไร? รางวัลการตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง คือ ความอยู่รอดของมนุษยชาติ

หัวหน้าโครงการปริญญาโทหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม  จะมีการลงนามในปฏิญญาอยุธยาว่าด้วยการอยู่ด้วยกันอย่างมีขันติธรรมในอาเซียน โดยจะมีการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานให้แต่ละประเทศนำไปปฏิบัติ จากนั้นในปี 2558 ในการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2 จะนำผลการดำเนินการตามปฏิญญามาหารือกันว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด และประปัญหาอะไรหรือไม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป 
 


หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Nuchua Narong
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140927/192922.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ