ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เสวนา "พระนักเขียนบทความ" สื่อธรรมะอย่างไรจากในสู่นอก  (อ่าน 1014 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เสวนา "พระนักเขียนบทความ" สื่อธรรมะอย่างไรจากในสู่นอก

"คนอ่านสมัยนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครชี้นำหรือสอนโดยตรง แต่อยากได้มุมมองในการมองปัญหาแต่ละเรื่องเท่านั้นเพื่อเป็นข้อมูลในการ ตัดสินใจว่าจะเชื่อดีหรือไม่" คำแนะนำงานเขียนจากวิทยากรที่ถวายความรู้แก่พระภิกษุสามเณรในหัวข้อ "สื่อธรรมอย่างไร จากในสู่นอก"

สัมมนานี้จัดโดยกลุ่มเพื่อ ชีวิตดีงาม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ โดยได้รับความสนใจจากพระภิกษุสามเณรจำนวนมาก

"เหตุผลหนึ่ง ที่อยากเขียนเนื่องมาจากคนสมัยนี้ไม่อาศัย โยนิโสมนสิการหรือการใคร่ครวญให้ดีก่อนอ่านข่าว จึงไม่รู้จักการพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะเชื่ออะไร และมักจะใช้อารมณ์ความรู้สึกมาเป็นเครื่องตัดสินข่าวที่ตนเองอ่าน" พระมหาชาญชัย พรหมปติฏโฐ หนึ่งในพระที่เข้าร่วมสัมมนา กล่าวถึงเหตุผลที่มาเข้าร่วม


 :49: :49: :49: :49:

สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ มีทั้งดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นผู้หยิบเอาไปใช้อย่างไร ถ้าคนไม่ดีนำไปใช้ก็จะสร้างปัญหาไม่จบสิ้น หากคนนั้นดีก็จะนำไปใช้ในทางที่ดี แต่ถึงแม้คนนั้นจะเป็นคนดี ก็ยังมีปัญหาอีกว่าหากไม่สามารถถ่ายทอดความดีนั้นออกไปได้ก็ไม่เกิดประโยชน์ อะไรเช่นกัน

"ที่จริงการที่พระสอนธรรมะให้คนเข้าใจไม่ได้ ไม่ใช่เพราะไม่มีความรู้แตกฉานในธรรมะ แต่เพราะไม่มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ จึงทำให้ขาดความกล้าหาญ ไม่สามารถประยุกต์ธรรมะให้เข้ากับความคิดและชีวิตของคนปัจจุบัน เมื่อสอนธรรมะให้คนเข้าใจไม่ได้ ก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างไร" เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กล่าวไว้ในหนังสือเย็นหิมะในรอยธรรม

การไม่เข้าใจว่าจะสื่อ อย่างไร ทั้งที่มีธรรมอยู่ในมืออยู่แล้วก็ดูจะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างที่เจ้า ประคุณสมเด็จฯ มอบเป็นข้อคิดไว้ ยิ่งในการถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือในวงการพระด้วยแล้วยิ่งเป็นเรื่องยากเข้าไป ใหญ่ เพราะแทบจะนับได้ว่าวงการหนังสือนั้น มีพระที่เขียนหนังสือน้อยมากเมื่อเทียบกับพระนักพูดหรือพระนักเทศน์


 :96: :96: :96: :96:

"การ เขียนของผมเริ่มต้นจากการอ่าน แล้วเริ่มฝึกเขียนมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งเป็นพระ กว่าจะทำหนังสือได้แต่ละเล่มก็ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก แต่สิ่งที่สำคัญของการทำงานคือการสื่อสารที่เชื่อมโยงกับปัจจุบัน ให้คนอ่านเข้าใจว่าเหตุการณ์ตอนนี้ก็ไม่ต่างจากในอดีต และอีกอย่างคือต้องใช้ภาษาง่ายๆ ที่คนเข้าใจได้" พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด วชิรญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ เล่าถึงการเขียนของท่านว่าต้องฝึกฝนตนเองในด้านใดบ้าง

การ เข้าใจและแตกฉานในภาษาที่คนทั่วไปเขาสื่อสารกันเรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา คือความแตกฉานทางภาษา จึงเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างการเขียนธรรมะที่ดี ยิ่งอ่านมากเท่าไรยิ่งได้ภาษาและความรู้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิทยากรบรรยายขยายในประเด็นนี้ว่า พระส่วนใหญ่ที่เขียนบทความนั้น บางรูปไม่มีความชัดหรือแตกฉานในเรื่องโลก ทำให้ท่านเขียนแล้วไม่มีประเด็นที่น่าสนใจ

"ก่อนจะลงมือ เขียนเราควรได้ถกเถียงปัญหานี้กันก่อน เช่นถ้าท่านจะเขียนเรื่องอินเดีย ท่านต้องตอบให้ได้ก่อนว่าประเด็นที่ท่านจะเขียนมีอะไรแตกต่างจากที่เขาเขียน มาแล้วบ้าง ถ้าท่านตอบได้ก็เขียนได้ และที่สำคัญต้องอ่านหนังสือให้เยอะ คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเลย ไม่สามารถเขียนได้" วิทยากรเล่าถึงวิธีการแก้ไข


 :25: :25: :25: :25:

"ปัญหา ดังกล่าวอาจเป็นเพราะพระส่วนใหญ่ถนัดงานสอน เวลาเขียนจึงชอบสอนธรรม จึงเขียนออกมาเป็นบทความที่สอนธรรมะอย่างเดียว ท่านไม่เข้าใจเรื่องการเขียนสารคดี แต่วันนี้ได้เห็นภาพการเขียนชัดขึ้น" พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี แสดงความคิดเห็น

เมื่อเปลี่ยน ให้สื่อมาอยู่ในมือพระบ้าง สังคมไทยอาจมีมุมมองใหม่ๆ ที่มองเรื่องธรรมะไม่ใช่อะไรที่ไกลเกิน สามารถจับต้องได้ และสามารถนำไปปรับทัศนคติต่อการอ่านข่าวร้ายหรือดีได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน มากขึ้น

   

ขอบคุณภาพข่าวจาก   
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1qQTVNekV5TlE9PQ==&sectionid=TURNd053PT0      
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ