ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งท้าย...สะพานมอญ  (อ่าน 6038 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ส่งท้าย...สะพานมอญ
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 10:25:29 am »
0
ศาลาหลวงพ่ออุตตมะ

วัดวังก์วิเวการาม

ประวัติความเป็นมา

วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล หรือ พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ) กับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร

ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน


ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คือ อำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ชาวบ้านได้ช่วยกันย้ายวัดและบ้านเรือนขึ้นมาตั้งใหม่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำ       ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม เหลือเพียงซากปรักหักพังของวัดและอาคารบ้านเรือน

ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำ และมีชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ (Unseen Thailand) เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "วัดใต้น้ำ" หรือ "เมืองบาดาล"เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หลวงพ่ออุตตมะซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มรณภาพด้วยอายุ 95 พรรษา



ศาลาหลวงพ่ออุตตมะ

ข้อมูลทั่วไป  
   
วัดวังก์วิเวการามก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างแทนวัดเดิมซึ่งถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนเขาแหลม วัดนี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอำเภอสังขละบุรีภายในวัดมีพุทธสถานที่สวยงาม ได้แก่

อุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหารพระหินอ่อน ศาลาหลวงพ่ออุตตมะ หอระฆัง เป็นต้น และจากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยา บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้ ราคาย่อมเยา ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่



ศพหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งไม่เน่าเปื่อยบรรจุในปราสาท 9 ยอด ตั้งอยู่ภายในศาลาหลวงพ่ออุตตมะ


ศพหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งไม่เน่าเปื่อยบรรจุในปราสาท 9 ยอด ตั้งอยู่ภายในศาลาหลวงพ่ออุตตมะ

ศาลาหลวงพ่ออุตตมะ ภายในศาลามีศพหลวงพ่ออุตตมะซึ่งไม่เน่าเปื่อยบรรจุในปราสาท 9 ยอดอันสวยสดงดงาม ซึ่งมีกระจกใสเจาะด้านข้างเพื่อให้มองเห็นสรีระของหลวงพ่ออุตตมะ โดยปราสาทหลังนี้ก่อสร้างจากแรงบันดาลใจในศิลปวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวมอญหลายกลุ่มที่อาศัยกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆในประเทศไทย ใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท มีเจดีย์หงส์ทองคู่เป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ และเจดีย์ 9 ยอดที่บรรจุศพหลวงพ่อ แสดงให้เห็นถึงความรักและเคารพที่ชาวมอญมีต่อหลวงพ่ออุตตมะ


พระพุทธรูปหินอ่อน



พระพุทธรูปหินอ่อน พระพุทธรูปหินอ่อนสีขาวขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อขาว" เป็นพระประธานในวิหาร ทำจากหินอ่อนทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 9 ศอก น้ำหนัก 9 ตัน ศิลปะแบบประยุกต์ หลวงพ่ออุตตมะให้ช่างมัณฑะเลย์แกะสลักเมื่อ พ.ศ. 2514 ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ โดยส่งภาพถ่ายพระพุทธชินราชเป็นตัวอย่าง ค่าจ้างเป็นทองคำหนัก 25 บาท หลังจากนั้นได้ใช้วลาอีกปีครึ่ง รอเวลาดำเนินการขนส่งผ่านเส้นทางทุรกันดาร ทั้งค่ายทหารพม่าและกะเหรี่ยง เพื่อมาประดิษฐานในเมืองไทย


ภาพจาก http://www.touronthai.com/

หอระฆัง  รูปทรงศิลปแบบมอญ มีบันไดเดินขึ้นเพื่อชมทิวทัศน์ของทะเลสาบสังขละบุรี


ภาพจาก http://www.touronthai.com/

เจดีย์พุทธคยาจำลอง หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยจำลองมาจากเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเป็นเงินสด ทองคำ และวัสดุ ใช้แรงงานคนมอญชาย - หญิง ในหมู่บ้านประมาณ 400 คน ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างและเผาอิฐมอญขนาด กว้าง 4 นิ้ว ยาง 8 นิ้ว หนา 3 นิ้ว จำนวน 260,000 ก้อน

พ.ศ. 2525 เริ่มสร้างเจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ยาง 42 เมตร สูง 59 เมตร เสาเหล็ก 4 ทิศ จำนวน 16 ต้น ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา 2 องค์ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร มีสีขาวใสอมเหลืองเป็นเงาบรรจุในผอบ 3 ชั้น ซึ่งหลวงพ่ออัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ขึ้นไปประดิษฐานบนยอดเจดีย์

_______________________________________________
ข้อมูลจาก guru.sanook.com/6620/วัดวังก์วิเวการาม/


หมายเหตุ : ภาพทั้งหมดถ่ายจากกล้องมือถือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 10:27:54 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 10:46:56 am »
0
ภาพพระอาจารย์ ถ่ายที่สะพานมอญช่วงเช้ามืด ภาพนี้แฟลชไม่ทำงาน



ภาพพระอาจารย์ ถ่ายที่สะพานมอญช่วงเช้ามืด ภาพนี้ระบบโฟกัสไม่ทำงาน



สองภาพบนเป็นสมาชิกที่ไปด้วยกันในทริปนี้


ภาพชุดนี้เป็นชุดสุดท้าย ที่ถ่ายที่สะพานมอญ สังขละบุรี ถ่ายด้วยมือถือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 10:48:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 11:24:22 am »
0
      หัถศิลป์บรรจงปั้นวิจิตตา       ลายเส้นปูนพุทธคยาบ่งศาสตร์พุทธ

      อุตมคณาจารย์วิเศษสุด         สถิตย์กลางกล่องหทัยผองไทยมอญ


            มีเมตตากรุณาประชาเสริญ     ผู้บุกเบิกนําเจริญเอื้อแถบถิ่น

   ใส่ความละเอียดให้กับจิตชาวแผ่นดิน    สังขละถิ่นชนมอญไซร้ได้รุ่งเรือง


          ชนมอญนี้มีศิลปะตระการตา          บรรจงสร้างสิ่งใดหนาก็สุดสวย

   มีลวดลายใครได้เห็นต้องงงงวย           แกะก็สวยปั้นก็วิจิตพิศดาร

         ปั้นหน้าบรรณในศาสตร์นั้นคือแบบเหนือ    พม่าและมอญทําอ่อนช้อยลวดลายนั้น

   หาดูยากงานฝีมือศิลปะกรรม                บรรพบุรุษสอนลูกหลานเรียนลายมา

        พ่ออุตมะท่านเป็นพระอันประเสริฐ     พาสังขระได้ลําเลิศเจิดต้องมนต์

  เป็นเจิดศรีผู้มีดีที่ฝึกฝน               ข้ามเมืองมนต์มอญพม่ามาอยู่กาญจน์

         ประเพณีวัฒนธรรมในเมืองหมอก    เดินเหยียบเมฆสีข้าวตอกอันเย็นหวาน

  ล้วนปีติอยู่จับใจที่ไปกาญจน์                 พ่ออุตมะชาวสังขระแผ่นดินทอง

                                              กลอนประกอบอันซีน..Pramote  intharachan

           

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 11:32:32 am โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 12:23:39 pm »
0

หลวงพ่อสาย อคฺควํโส

พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส)
วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี


เมื่อหลวงพ่อสายอายุได้ ๓๒ ปี ขณะที่ยังรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ได้ป่วยเป็นฝีประคำร้อยขึ้นรอบคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและเเพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่หายจากการเจ็บป่วย จึงเข้ากราบมอบตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ท่านได้เมตตารักษาจนหายขาด อันเป็นเหตุให้หลวงพ่อสายเกิดความศรัทธาจึงขอบวชเป็นพระ หลวงพ่อเดิมท่านก็เมตตาจัดหาเครื่องอัฏฐบริขารให้ หลังจากบวชเเล้วได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยและเวทย์มนต์คาถาจากหลวงพ่อเดิมเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพจึงออกเดินธุดงค์ตั้งเเต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประวัติ
ชื่อ : สาย
นามสกุล : ไกวัลศิลป์
วิทยฐานะ : ม.๘
อาชีพ : รับราชการรถไฟ
บิดา : นายเพิ่ม
มารดา : นางจันทร์
เกิด : วันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล เกิดวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตำบลหลานหลวง เขตนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
อุปสมบท : เมื่ออายุ ๓๒ ปี ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อ.พยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี พระครูนิรันตสีลคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์น้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไชยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชแล้วสังกัดวัดหนองโพธิ์ ต.หนองโพธิ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โดยมีพระอาจารย์น้อย เตชปุญโญเป็นเจ้าอาวาส


สังขารศักดิ์สิทธิ์หลวงปู่สาย วัดท่าขนุน

สังเกตได้ว่าที่ศรีษะของหลวงพ่อสาย อคฺควํโส จะพบว่ามีการงอกของเส้นเกศาอยู่

บันทึกตำแหน่งหน้าที่การงาน
๑. ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตามหนังสือของเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เลขที่ ๑/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘
๒. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมวาจาอนุสาวนาจารย์ ตามหนังสือของเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เลขที่ ๒/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘
๓. ได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ ตามหนังสือของสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เลขที่ ๖๓/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
๔. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตำบล ตามหนังสือเลขที่ ๓/๒๕๑๑ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
๕. ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสุวรรณเสลาภรณ์ ตามหลังสีอสัญญาบัตร ลงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
๖. ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ ตามหนังสือเลขที่ จ.๑๓๔/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
๗. ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิตามหนังสือ เลขที่ ๓/๒๕๑๔ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๔ เข้ารับการอบรมเพื่อทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนา "หน่วยพัฒนาการทางจิต" อภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัยวัดมหาธาตุฯ พระนคร รุ่นที่ ๕ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๑๒ โดยมีสมเด็จพระวันรัตน์ เป็นประธานการอบรม พระกิตฺวุฑฺโฒภิกขุ เป็นผู้ดำเนินการอบรม

______________________________________
คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลศพ ครบ ๑ ปี
พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี
ที่มา http://watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=209


สังขารไม่เน่าของ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส) วัดท่าขนุน

สังขารไม่เน่าของ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส) วัดท่าขนุน


วัดท่าขนุน ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๕ ณ บ้านท่าขนุน หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕๙ ไร่ ๒ งาน ๓๐ ตารางวา มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จรดทางสาธารณะ
ทิศใต้ จรดหมวดการทองผาภูมิ
ทิศตะวันออก จรดทางหลวงสาย ๓๒๓ ทองผาภูมิ - สังขละบุรี
ทิศตะวันตก จรดแม่น้ำแควน้อย

วัดท่าขนุน ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ เดิมเป็นที่ดินของตระกูลนกเล็กได้ถวายแก่หลวงพ่อพุก อุตฺตมปาโล เพื่อสร้างวัด เมื่อหลวงพ่อพุกมรณภาพ พระอาจารย์ไตยแนม ท่านเป็นชาวกระเหรี่ยง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ได้บูรณะและพัฒนาวัด ท่านได้ดำเนินการสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทที่มีมาแต่เดิมเป็นของเก่าคู่วัด โดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อทม หงสาวดี เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ในการก่อสร้าง

หลังจากพระอาจารย์ไตยแนมได้มรณภาพ ทำให้วัดท่าขนุนขาดผู้นำเป็นเหตุให้วัดท่าขนุนต้องอยู่ในสภาพทรุดโทรมและกลายสภาพเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั้งมีพระธุดงค์จากนครสวรรค์มาปักกลดพักที่วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านได้ทราบข่าวก็นำข้าวปลาอาหารมาถวายท่านอยู่ระยะหนึ่ง ชาวบ้านต่างเห็นว่าพระธุดงค์รูปนี้มีวัตรปฏิบัติที่งดงามเคร่งครัดในพระวินัยมาก ได้อบรมชาวบ้านให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม พระธุดงค์รูปนี้ก็คือหลวงพ่อสาย อคฺควํโส ศิษย์หลวงพ่อเดิม แห่งวัดหนองโพธิ์ เทพเจ้าของชาวปากน้ำโพธิ์


พระอาจารย์กับพระใหม่ ถ่ายที่วัดท่าขนุน


ด้วยหลวงพ่อสาย อคฺควํโส มีวัตรปฎิบัติที่งดงาม ไม่นานนักก็เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านอย่างมาก ตลอดทั้งชาวกระเหรี่ยงต่างก็เคารพหลวงพ่อสาย อคฺควํโส ชาวทองผาภูมิจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อสาย อยู่จำพรรษาที่วัดร้างแห่งนี้ และร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิให้ท่าน หลวงพ่อสายจึงรับนิมนต์เนื่องจากชาวบ้านมีความศรัทธาในตัวท่านจึงอยู่จำพรรษาที่วัดเรื่อยมาและได้เริ่มพัฒนาวัดทั้งแต่บัดนั้น โดยหลวงพ่อสายได้หาทุนทรัพย์และขอแรงงานชาวบ้านแผ่วถางปรับพื้นที่วัดให้ดูสะอาด

หลังจากนั้นหลวงพ่อสายก็เริ่มพัฒนาวัดโดยการสร้างถาวรวัตถุต่างๆที่จำเป็นที่วัดพึงจะมี และได้ขยายความเจริญให้กับวัดจากวัดร้างเป็นวัดที่มีความสมบูรณ์สวยงามจนกลายเป็นวัดประจำอำเภอทองผาภูมิ ในปัจจุบันวัดท่าขนุน มีอุโบสถที่มีความงดงามมากหลังหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี มีพระเจดีย์ที่สง่างาม มีศาลาการเปรียญที่กว้างขวาง ฯลฯ ด้วยหลวงพ่อสาย อคฺควํโส ได้พัฒนาวัดท่าขนุนให้เจริญเป็นที่ภาพภูมิใจของชาวอำเภอทองผาภูมิต่างพร้อมใจกันเรียกวัดท่าขนุนในอีกนามหนึ่งว่าวัดหลวงพ่อสาย เพื่อเป็นการเทิดทูนคุณงามความดีที่หลวงพ่อสายได้มอบไว้ให้กับชาวทองผาภูมิ


พระรูปที่ถ่ายคู่กับพระอาจารย์ เพิ่งบวชใหม่ ผมเห็นไกลๆ นึกว่ารูปปั้น ท่านนั่งนิ่งมากๆ


ลำดับเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน
๑. หลวงพ่อพุก อตฺตมปาโล ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕
๒. หลวงพ่อไตแนม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๘
๓. พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส) ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๕
๔. พระอธิการสมเด็จ วราสโย ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
๕. พระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๑
๖. พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง ปัจจุบัน

__________________________________________________
ที่มา http://www.g-pra.com/auctionc/view.php?aid=5663130
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 12:36:48 pm »
0









กลับจากสังขละบุรี ผ่านทองผาภูมิ แวะเก็บบรรยากาศเขื่อนเขาแหลมมาให้ชม
บรรยากาศที่นี่ออกจะเหงาๆ แต่ส่วนตัวผมชอบครับ ชอบแหล่งน้ำจืดกว้างๆ ดูแล้วรู้สึกสบายตาสบายใจ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 12:48:31 pm »
0







พอถึงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ผมหมดแรง รู้สึกจะเป็นลม ไม่มีแรงจะเดิน พูดง่ายๆก็คือ "แบตหมด"
ต้องเปิดก๊อกสอง พยายามฝืนสังขารตัวเอง หาอะไรใส่ท้อง เพื่อเพิ่มน้ำตาล เพิ่มแคลอรี่
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 12:59:25 pm »
0


(สองภาพบน) จำไม่ได้ว่า เด็กเหล่านี้มาจากองค์กรไหน แต่พวกเธอร้องเพลงเก่าๆสมัยผมเป็นวัยรุ่น
เป็นที่ประทับใจผมมาก ก็ต้องทำตามทำเนียมครับ...หยอดตังค์ลงกล่อง






เก็บภาพบรรยากาศสะพานข้ามแม่น้ำแควมาให้ชม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 01:08:12 pm »
0








ทริปสะพานมอญ สังขละบุรี มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอบคุณที่ติดตาม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ส่งท้าย...สะพานมอญ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 10:18:42 pm »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ