ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ประวัติศาสตร์ ′ปลอม′ ที่ไม่ยอมจากไป  (อ่าน 1680 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ประวัติศาสตร์ ′ปลอม′ ที่ไม่ยอมจากไป
และพิพิธภัณฑ์ไทย ที่ไม่หมุนตามโลก

คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 18 กันยายน 2557

คนไทย มาจากไหน.? คำถามที่หลายคนสงสัย และหนึ่งในคำตอบแบบพ้นสมัย ก็คือ คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต แนวคิดที่คนในวงวิชาการส่ายหน้าแล้วบอกว่า ไม่มีใครเชื่ออย่างนั้นอีกแล้ว เพราะถูกยกเลิกจากแบบเรียนของเด็กไทยมานานเหลือเกิน

แต่เมื่อเฟสบุ๊กแฟนเพจชื่อ ′เมด อิน อุษาคเนย์′ หยิบยกประเด็นนี้มาบอกเล่าโดยเป็นหนึ่งในหัวข้อ ′ประวัติศาสตร์ปลอม ที่คนไทย (เคย) ยอมรับ′ กลับมีผู้กดถูกใจ และแชร์ต่อกันเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นหลากหลาย กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้รู้ว่าแนวคิด ′คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต′ ยังอยู่ในความรับรู้ของคนจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ



เทือกเขาอัลไต อยู่ในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย, จีน, มองโกเลีย, และคาซัคสถาน ห่างไกลจากดินแดนไทยปัจจุบันมาก  อัลไต (Altay) หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ มาจากรากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำว่า ไต หรือ ไท ซึ่งเป็นชื่อชนชาติแต่อย่างใด ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้นิยมปีนเขา ภาพนี้คือเขาเบลูชา (Belucha) ส่วนหนึ่งของเทือกเขาอัลไต (ภาพจาก http://en.wikipedia.org)


ประวัติศาสตร์ปลอมที่คนไทย (เคย) ยอมรับ

ข้อความที่ถูกโพสต์ลงเฟสบุ๊ก เมด อิน อุษาคเนย์ เมื่อช่วงเย็นของวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 ราว 17.00 น. มีผู้อ่าน (หรือได้เห็นผ่านตา) ถึง 48,800 คน ในเวลาเพียง 2 วัน เนื้อหามีดังนี้

"รู้น่า! ว่าแนวคิดเรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั้นเก่ากึ๊ก และยอมรับกันแล้วว่ามันไม่จริ๊ง ไม่จริง แต่นี่คือหนึ่งในประวัติศาสตร์ปลอมสุดคลาสสิคที่ต้องหยิบยกมาเม้าท์กัน ว่าในอดีตนั้นเราเคยเชื่อเรื่องนี้ถึงขนาดมีบรรจุในแบบเรียนมานานนับปี ว่าคนไทยในสยามประเทศเรานี้หอบลูกจูงหลานมาจากเทือกเขาที่ชื่อว่าอัลไต ซึ่งก็นับว่าฟังเข้าที เพราะมันออกเสียง ไทๆ ไตๆ อิไต อิไต อะไรนี่ ดูเข้าเค้า

กระทั่งมีคนขี้สงสัยตั้งคำถามว่า ไอ้เขาอิไต เอ้ย! อัลไตที่ว่านี้มันอยู่ไหนกันหว่า? พอสืบค้นไปมา ปรากฏว่าอยู่แถบเอเชียกลางนู่นแน่ะ แบบว่าเป็นช่วงพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน ที่ฮากว่านั้นคือ เคยมีคนพยายามเดินทางไปโดยสอบถามทางการรัสเซีย คำตอบที่ได้ชวนหงายเงิบ เพราะนอกจากที่นั่น จะไม่มีคนไท/ไตอาศัยอยู่แล้ว จากสภาพแวดล้อมทั้งปวงก็ไม่น่าจะเคยมีมนุษยชาติคนใดตั้งถิ่นฐานมาก่อน เพราะเป็นภูเขาน้ำแข็งอุณหภูมิติดลบยิ่งกว่าอยู่ในตู้แช่ปลา ซึ่งทางการรัสเซียเขาใช้เป็นสถานที่ติดตั้งสัญญาณเรดาร์อะไรสักอย่าง



 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ว่าแต่ว่า---แนวคิดเรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต มาจากไหน?

อะแฮ่ม ขอบอกว่าเรื่องนี้เขามีที่มาที่ไป นั่นก็คือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ท่านแต่งหนังสือชื่อ ′หลักไทย′ เล่าเรื่องนี้เป็นคุ้งเป็นแคว แต่ๆๆๆ แต่ก็โทษท่านไม่ได้ เพราะท่านแต่งเข้าประกวดในงานๆ หนึ่ง โดยไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นตำรับตำราประวัติศาสตร์แต่อย่างใด เนื้อหาในหนังสือระบุประมาณว่า

"เดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำหวงเหอ เรียกว่า อาณาจักรไทยมุง หรืออาณาจักรไทยเมือง และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป"

ทั้งนี้ เหตุที่ท่านเลือกเทือกเขาอัลไตในนิยาย เอ้ย! หนังสือของท่านก็เพราะชื่อมันไตๆ ไทๆ นั่นแหละ

 :signspamani: :signspamani: :signspamani: :signspamani:

อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้โต้แย้งประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้เจตนาปลอมของท่านขุน ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน อาทิ ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ที่แสดงความเห็นว่า ระยะทางจากเทือกเขาอัลไตถึงประเทศไทยอยู่ห่างกันมาก จึงไม่น่ารอด ชีวิตจากการเดินทางผ่านทะเลทรายโกบีได้---พูดง่ายๆ คือ จะพากันตายก่อนมาถึงแดนสยามนะจ๊ะ

สรุปว่า หลังจากบรรจุในแบบเรียนอยู่เนิ่นนาน ปัจจุบันได้ยกเลิกแนวคิดนี้ไปแล้ว แต่ยังมีผู้นำแนวคิดที่ว่านี้มาใช้เป็นคำสแลงเสียดเย้ยกลุ่มอนุรักษนิยมที่ไม่ฟังอีร้าค่าอีรม ทำนองว่า "พวกนี้มาจากเทือกเขาอัลไต!!!"



"ระเบ็ง" หรือ "โอละพ่อ" ร้องแบบเซิ้งบั้งไฟลุ่มน้ำโขง เป็นการละเล่นยุคต้นอยุธยา มีในกฎมณเฑียรบาล


คำสารภาพของขุนวิจิตรมาตรา

คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต เริ่มจากหนังสือหลักไทยของขุนวิจิตรามาตราได้รับพระราชทานรางวัลและประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. 2471 จนกระทั่งมีการบรรจุเนื้อหาเรื่องคนไทยมาจากภูเขาอัลไตลงในแบบเรียน ก็มีผู้ตั้งข้อสงสัยเรื่อยมา เพราะไม่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือ

สุดท้าย แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการตามหลักสูตรใน พ.ศ. 2521 ได้ระบุให้ยกเลิกแนวคิดนี้จากแบบเรียนเรื่องคนไทยอพยพจากเทือกเขาอัลไต

 :29: :29: :29: :29:

ราว 2 ปีต่อมา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2523 ตีพิมพ์ถ้อยคำของ ขุนวิจิตรฯ ถึงประเด็นอันน่าเคลือบแคลงนี้ ซึ่งท่านอ้างว่าไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่ได้มาจากหมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ผู้เขียน The Thai Race-The Elder Brother of Chinese

"ผมเขียนตามของหมอดอดด์ เขาว่างั้นนะ ไม่ใช่ผมมาเม้คขึ้นเองเมื่อไหร่ ผมก็ไม่รู้ (หัวเราะ) ผมไม่รู้หรอก ว่าจริงหรือไม่จริง" ขุนวิจิตรฯ ในวัย 83 ปี กล่าวกับคณะทำงานนิตยสารศิลปวัฒนธรรมซึ่งเดินทางไปพบที่บ้านบนถนนวิภาวดีรังสิต---และนั่นคือเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว



 ask1 ans1 ask1 ans1

พิพิธภัณฑ์ผลิตซ้ำ ตอกย้ำแนวคิดล้าหลัง

การที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างล้นหลามในประเด็นอัลไตทั้งที่ยกเลิกราว 35 ปีมาแล้ว แสดงถึง ′ความไม่รู้′ ว่าแนวคิดนั้นล้าหลังไปนานแล้ว ทั้งยังมีผู้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ชวนแปลกใจว่าปัจจุบันยังมีผู้เชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต

ส่วนหนึ่งเป็นคนรุ่นที่เคยใช้แบบเรียนรุ่นเก่า ซึ่งหลายคนบอกว่าเคยเรียนในชั้นประถมศึกษา และปัจจุบันก็ยังเชื่ออย่างนั้นอยู่ จนกระทั่งได้มาอ่านข้อเขียนในเฟส บุ๊กดังกล่าว  และมีผู้ยืนยันว่าในการอบรมสัมมนาโดยหน่วยงานของรัฐบางแห่ง ในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา ยังคงกล่าวถึงแนวคิดนี้

′พิพิธภัณฑ์นักศึกษาวิชาทหาร′ ซึ่งศูนย์ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ทำการสำรวจไว้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่า มีส่วนจัดแสดงที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ไทย โดยมีแผนที่เส้นทางอพยพคนไทยลงมาจากเทือกเขาอัลไต นับเป็นข้อมูลล้าสมัยที่ยังคงถูกบอกเล่าอยู่ทุกวี่วัน

 :96: :96: :96: :96:

′พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ′ บางแห่ง มีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าว โดยให้ความสำคัญในฐานะเป็นหนึ่งในหลาย "ทฤษฎี" ของถิ่นฐานคนไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเพียงแนวคิดที่ถูกขยายผลเพื่อรับใช้รัฐบาลเผด็จการยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ด้วยเหตุนี้ แม้แนวคิดดังกล่าวจะถูกยกออกจากตำราเรียนไปนานเพียงใด แต่การถูกผลิตซ้ำหรือละเลยในการเผยแพร่ข้อมูลใหม่ๆ จึงทำให้ประโยคที่ว่า ′คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต′ ยังคงวนเวียนอยู่ในความคิด ความเชื่อ การรับรู้ โดยไม่ยอมจากไปไหนเสียที



พระรถ มอมเหล้านางเมรี จากละครชาตรีเรื่อง "พระรถ-เมรี" นิทานบรรพชนลาว ซึ่งนิยมมากในสมัยอยุธยา แสดงในงาน "สุพรรณบุรี มาจากไหน? เหน่อสุพรรณ สำเนียงหลวง กรุงศรีอยุธยา" จัดเผยแพร่ความรู้โดยกรมศิลปากร ณ โรงละครแห่งชาติ สุพรรณบุรี วันอังคารที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา


เผยแพร่ความรู้ใหม่ "เรื่องใหญ่" ของพิพิธภัณฑ์

แม้ภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นที่เก็บของเก่า ทว่าบทบาทหน้าที่ ที่ถูกต้องของพิพิธภัณฑ์คือการให้ข้อมูลความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ใช่ปล่อยให้ข้อมูลเก่าคร่ำครึได้รับการเผยแพร่โดยไม่ยอมแก้ไข ดังเช่นกรณีคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต

ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงแก้ไขนิทรรศการให้ถูกต้อง ทันสมัย รวมถึงการสร้างทัศนคติ และประสบการณ์ใหม่ๆ ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

หทัยรัตน์ มณเฑียร ภัณฑารักษ์อิสระ ผู้อยู่เบื้องหลังการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา จ. พระนครศรีอยุธยา หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ ′ก้าวหน้า′ ที่สุดในเมืองไทยขณะนี้ กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ′แนวคิดใหม่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์′ (ตีพิมพ์ในหนังสือสรรพศาสตร์ประวัติศาสตร์ศิลป์ เอกสารประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2557) ว่า

"หัวใจของการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ จะสำเร็จไปไม่ได้เลย ถ้าขาดวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกล ต้องอาศัยการผ่าตัดภายใน กล้าหาญที่จะลองใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากขนบเดิม เพื่อสร้างวิธีการ, สร้างประสบการณ์, และทัศนคติใหม่ๆ ให้ผู้ชม"

 :96: :96: :96: :96:

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ′กิจกรรม′ ที่ต้องจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเคลื่อนไหว และหมุนไปตามโลก

"สังคมเปลี่ยน โลกหมุน ข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แนวคิดทฤษฎีต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ พิพิธภัณฑ์อาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนนิทรรศการถาวรได้ทันทีด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือการจัดอีเวนต์ สัมมนา พูดคุย ซึ่งช่วยให้พิพิธภัณฑ์ก้าวไปพร้อมๆ กับสังคม นอกจากนี้กิจกรรมต่างๆ ยังเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่เคยเข้าชมแล้วย้อนกลับมาอีก" หทัยรัตน์กล่าว

ในประเด็นที่ว่านี้ กรมศิลปากรเองก็ดูจะเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมเผยแพร่ความรู้มากขึ้นทุกที ดังเช่นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมที่ให้ข้อมูลความรู้ใหม่ แก้ไขข้อมูลเก่า เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี จัดงาน ′อู่ทอง ต้นทางประวัติศาสตร์ไทย′

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

    ต่อมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ. พระนครศรีอยุธยา จัดงาน ′พระเจ้าอู่ทอง สร้างอยุธยา มาจากไหน?′
    ล่าสุด ′สุพรรณบุรี มาจากไหน? เหน่อสุพรรณ สำเนียงหลวงกรุงศรีอยุธยา′
    การมีกิจกรรมต่อเนื่องเช่นนี้ เป็นสัญญาณที่ดีของการปรับตัวของกรมศิลปากร ซึ่งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

    แต่ถ้ายังยึดติดกับขนบเดิมๆ ไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการเสียใหม่ ก็อย่าแปลกใจที่เทือกเขาอัลไต จะยังเป็นถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่ต่อไปชั่วลูกสืบหลาน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411100223
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 09:15:36 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 09:28:43 pm »
0



คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต

อาจารย์จุฬาฯ ระบุคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต ชี้ในดินแดนไทยมีคนหลายกลุ่มอาศัยมานานแล้ว ขณะที่เทือกเขาอัลไตอยู่ห่างจากไทยมาก

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นาย เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า เห็นมีการโพสต์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตหรือไม่เป็นจำนวนมาก จึงขอสรุปว่า คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต เนื่องจาก หลักฐานทางโบราณคดีและทางพันธุกรรม บอกว่ามีกลุ่มคนหลายกลุ่ม ที่อยู่ในแดนสุวรรณภูมินี้มานานแล้วตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย และมีการอพยพเคลื่อนย้าย ผสมปนเปกันอยู่ตลอด

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า แนวคิดเรื่องคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตเมื่อ 6พันปีก่อน แล้วมาอยู่แถวลุ่มแม่น้ำแยงซี ก่อนจะถูกตีถอยร่นมาทางสุวรรณภูมิ นั้นมาจากงานเขียนของขุนวิจิตรมาตรา ... แต่ปัจจุบัน ไม่ได้รับการยอมรับแล้ว เหตุผลสำคัญ คือ การที่เทือกเขาอัลไตนั้นอยู่ถึงสุดเขตประเทศมองโกเลีย (ดูรูปประกอบ) ห่างไกลจากประเทศไทยมาก


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    แนวคิดที่ผมค่อนข้างเห็นด้วยมากกว่า นั้นสรุปโดยอาจารย์ สุจิตต์ วงศ์เทศ ไว้ว่า
     "คนไทยได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นประเทศเดียวกัน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และการที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเหมือนกัน โดยถือว่าคนที่พูดภาษาที่คล้ายคลีงกันเป็นบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดพัฒนาการมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน"


ดูรูปประกอบและเนื้อหาเพิ่ม เรื่อง คนไทยไม่ได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ที่
www.thaichinese.net/thaichineseblog/thais-were-not-from-altai/
(อันนี้เขียนละเอียดดีครับ วิเคราะห์ไว้ชัดเจนมาก)

ดูเพิ่มเรื่องแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการอพยพของคนไทย ที่
th.m.wikipedia.org/wiki/แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.posttoday.com/สังคม/ประเด็นเด็ด/348320/คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คนไทยไม่ได้อพยพ มาจากเทือกเขาอัลไต.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 09:39:50 pm »
0


คนไทยไม่ได้อพยพ มาจากเทือกเขาอัลไต.?
ข้อความบางตอนจาก www.thaichinese.net/thaichineseblog/thais-were-not-from-altai/

      ........ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ หากจะสืบสาวต้นตระกูลของคนไทยน่าจะอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลสุวรรณภูมิของเราก็คือตอนใต้ของประเทศจีน และก่อนที่จะก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น บรรพบุรุษของพวกเราอาจจะเป็นคนในอาณาจักรโบราณเหล่านี้ประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้ ที่ตอนหลังอาจแยกตัวมาก่อตั้งประเทศของตนขึ้นมาจนรุ่งเรืองเติบใหญ่ถึงปัจจุบัน

     หากเป็นประเด็นนี้ สิ่งที่ชวนให้สงสัยสำหรับนักประวัติศาสตร์ของไทยยุคก่อนก็คือ เหตุใดจึงเลือกที่จะเขียนประวัติศาสตร์ไทยเช่นนั้น โดยไม่มีฐานแห่งความเป็นจริงรองรับ และข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่แรกก็ไม่มีน้ำหนักเอาเสียเลย ไม่อยากจะบอกว่าเขียนประวัติศาสตร์แบบตามใจตัวเองเพราะดูจะรุนแรงเกินไป
    แต่ก็มีคำกล่าวก้นว่า “ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของผู้ชนะ”

    ดังนั้น การเขียนประวัติศาสตร์จึงเขียนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้กุมอำนาจเป็นสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องมีการแทรกเรื่องราวที่ปรุงแต่ง เรื่องราวที่จินตนาการ ตลอดจนเรื่องราวที่เชิดชูผู้มีอำนาจ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด เพราะเหตุการณ์เรื่องราวเดียวกันที่เกี่ยวข้องกับกลายประเทศนั้น แต่ละประเทศจะบันทึกประวัติศาสตร์ไม่เหมือนกัน บางทีก็กลายเป็นหนังคนละม้วน


      :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

     ความจริงหากนักประวัติศาสตร์ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโบราณต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นบรรพบุรุษที่แท้จริงของพวกเราแล้ว หน้าประวัติศาสตร์ของไทยอาจเปลี่ยนโฉมไปอีกรูปแบบหนึ่ง หรือหากเราอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียง ก็จะยิ่งทำให้เห็นถึงหน้าประวัติศาสตร์ของไทยยาวนานกว่าที่เป็นอยู่แค่ไม่กี่ร้อยปี

    แต่ปัญหาคือ เราจะแก้ประวัติศาสตร์อย่างไรเพื่อวัตถุประสงค์อะไร (การแก้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่หลายประเทศกระทำมาแล้ว อย่างเช่นญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นต้น) เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่กว่าเราจะมีอักษรของตัวเองก็สมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว แต่เราก็ไม่มีนิสัยที่ชอบขีดชอบเขียน


     ans1 ans1 ans1 ans1

    ดังนั้นเรื่องราวต่างๆในอดีตจึงอาศัยการบอกเล่าต่อๆกันมาเสียมากกว่า คงมีเรื่องราวในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาที่เราได้จากการบันทึกของฝรั่งต่างชาติที่เข้ามาค้าขายบ้าง หรือมาเผยแพร่ศาสนาบ้างถึงเป็นชิ้นเป็นอัน ส่วนบันทึกประวัติศาสตร์ของจีนในยุคโบราณนั้น เรากลับตัดตอนออกไปจะด้วยเหตุผลหรือวัตถุประสงค์ใดก็ตาม

    แต่กล่าวโดยสรุปแล้ว การเขียนประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนเป็นลักษณะการเขียนที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง หากแต่เป็นการจินตการเพื่อสร้างเรื่องราวตอบสนองกลุ่มคนบางกลุ่มมากกว่าเรื่องราวแห่งความจริง และความเป็นชนชาติที่แท้จริง นี่จึงน่าจะเป็นที่มาของการตั้งสมมุติฐานอย่างเลื่อนลอยว่า คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต


thk56 thk56 thk56 thk56
www.thaichinese.net/thaichineseblog/thais-were-not-from-altai/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 09:42:28 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ