วาจาของสัตบุรุษ
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ.
๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอา
ปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยัง
นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของ
บุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผย
ทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่
นำเอาปัญหาไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
ทำไมจะต้องกล่าวถึง เมื่อไม่ถูกใครถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอา
ปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ.
จตุกฺก.อํ.๒๑/๑๐๐/๗๓
ที่มาจากหนังสือ เรื่อง ปาพจน์ 2
ของวัดนาป่าพง
ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ได ที่ลิงก์นี้ คลิ๊กที่ภาพ
