ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "บทเรียนสุดท้าย" ในวันจบการศึกษาของญี่ปุ่น(ทำความสอาดโต๊ะเก้าอี้ ห้องน้ำ ก่อนจบ)  (อ่าน 1224 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"บทเรียนสุดท้าย" ในวันจบการศึกษาของญี่ปุ่น

ช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาจบการศึกษาของนักเรียนทั่วประเทศญี่ปุ่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีพิธีจบการศึกษาที่น่าประทับใจ สะท้อนถึงความกตัญญูต่อครูอาจารย์ และความพร้อมเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่
       
       พิธีจบการศึกษาของโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยในแดนอาทิตย์อุทัย ส่วนใหญ่จะเป็นพิธีการที่จัดในหอประชุมใหญ่ โดยนักเรียนจะสวมเครื่องแบบหรือชุดกิโมโนเข้ารับประกาศนียบัตร  อย่างไรก็ตาม โรงเรียนหลายแห่งมีประเพณีจบการศึกษาที่พิเศษและน่าประทับใจ




        โรงเรียนมัธยมอินุยามะ จังหวัดไอจิ ซึ่งมีนักเรียนมากกว่า 700 คน มีประเพณีว่าในวันจบการศึกษา นักเรียนจะนำโต๊ะและเก้าอี้เรียนของตัวเองไปทำความสะอาดในแม่น้ำข้างโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนรุ่นน้องได้ใช้ต่อไป
       
       ประเพณีนี้สืบทอดต่อเนื่องมา 64 ปีแล้ว ถึงแม้น้ำในแม่น้ำในช่วงเดือนมีนาคมจะเย็นยะเยือกราว 5 องศาเซลเซียส แต่บรรดานักเรียนต่างเต็มใจทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้เรียนด้วยความสำนึกในพระคุณของโรงเรียนและครูอาจารย์ ที่ไม่เพียงสอนวิชาความรู้ แต่ยังสอนวิชาความเป็นมนุษย์ให้ด้วย โต๊ะและเก้าอี้เรียนเหล่านี้ถูกสืบทอดมากจากรุ่นปู่ย่าจนถึงรุ่นพ่อแม่ของเหล่านักเรียน และจะสืบทอดต่อไปรุ่นต่อรุ่น เป็นหลักฐานแห่งความทรงจำในวันจบการศึกษาอันน่าประทับใจ


       

        โรงเรียนฮิยาชิยามะ ในจังหวัดกิฟู ตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดทาคายามะ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม มีธรรมเนียมที่ในวันจบการศึกษาจะนำคุณครูขึ้น “เกี้ยว” แห่ไปรอบโรงเรียน เหมือนเช่นการแห่ศาลเจ้าในลัทธิชินโต
       
       ประเพณีแห่ครูขึ้นเกี้ยวนี้สืบทอดมานานกว่า35 ปี โดยในอดีตนักเรียนได้เชิญครูขึ้นขี่หลัง และแห่ไปรอบโรงเรียนเพื่อแสดงความขอบคุณครู ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการใช้เกี้ยว โดยเกี้ยวที่ใช้จะทำขึ้นโดยฝีมือของนักเรียนหญิง ประดับประดารูปของนักเรียนและครู รวมทั้งข้อความขอบคุณครู และในวันจบการศึกษา เหล่านักเรียนจะเชิญคุณครูขึ้นเกี้ยวและแห่ไปรอบโรงเรียน
       
       บรรดานักเรียน บอกว่า คุณครูได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อส่งนักเรียนไปถึงฟากฝั่งฝันมาตลอด และในวันจบการศึกษาจะเป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ตอบแทนความลำบากของคุณครู

     

 
   


        โรงเรียนมัธยมโระโค จังหวัดเฮียวโกะ เป็นโรงเรียนเอกชนชื่อดังที่มีนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้เป็นจำนวนมาก โรงเรียนแห่งนี้มีระเบียบเข้มงวดเป็นพิเศษ ทุกวันไม่ว่าสภาพอากาศจะหนาวเหน็บหรือร้อนจัด นักเรียนชายจะต้องถอดเสื้อวิ่งรอบสนามเป็นเวลา 10 นาที
       
       โรงเรียนแห่งนี้มีประเพณีวันจบการศึกษา โดยนักเรียนจะช่วยกันล้างห้องน้ำทุกห้องของโรงเรียนจนสะอาดเอี่ยม โรงเรียนมัธยมชายแห่งนี้ถึงแม้จะมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดคล้ายการฝึกทหาร แต่ก็ได้รับการยอมรับว่านักเรียนที่จบการศึกษาออกไปมีความเป็น “ลูกผู้ชาย” ซึ่งเกิดจากการฝึกตนในระหว่างเรียนนั่นเอง



        พิธีจบการศึกษาของโรงเรียนในญี่ปุ่นถือเป็น “บทเรียนสุดท้าย” ที่จะสอนให้นักเรียนก้าวเข้าสู่สังคมของผู้ใหญ่ จึงมีประเพณีที่สะท้อนถึงความกตัญญูรู้คุณ, สำนึกรับผิดชอบ และการคิดถึงคนรุ่นต่อไป โรงเรียนในแดนอาทิตย์อุทัยนั้นไม่ได้วัดผลการเรียนจากคะแนนเพียงอย่างเดียว หากแต่ยัง วัดผลจาก “บทเรียนชีวิต” ด้วย.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036515
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ