ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ  (อ่าน 2609 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ

เราทุกคนล้วนมีชุดความรู้เดิมที่ถูกฝังโปรแกรมอยู่ในสมองมาตั้งแต่เกิด จากคนรอบข้าง สภาพแวดล้อม โดยที่ไม่รู้ตัว และไม่ทันฉุกคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลต่างๆเหล่านั้นด้วยว่า เป็นความจริง หรือไม่ อย่างไร เพราะตอนนั้นเรายังเด็กเกินกว่าที่จะเลือกได้ว่า อะไรควรเชื่อ หรืออะไรไม่ควรเชื่อ!
       
       ถ้าชุดความรู้เก่าๆเหล่านี้มันดี มีประโยชน์ สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เราดีขึ้น ก็ไม่เป็นไร ตรงกันข้าม ถ้ามันเป็นชุดความรู้ที่ถ่วงความเจริญเราไว้ อันนี้แหละที่เป็นปัญหา เหมือนกับเสาหลักความเชื่อที่ล่ามเราไว้ ไม่ให้ก้าวหน้าไปไหน

        :96: :96: :96: :96: :96:

       หนังสือ NLP ภาษาสมองมหัศจรรย์ ของ ดร.วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์ ระบุการค้นพบระบบการทำงานของสมอง ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกศาสตร์ชนิดว่า NLP (Neuro Linguistic Programming) คือ การโปรแกรมสมอง ด้วยภาษาพูดแบบง่ายๆ จากชุดความรู้ใหม่ที่เราใส่โปรแกรมให้กับตัวเอง
       
       เพราะการทำงานของสมองนั้น ทันทีที่เราคิดอะไรสักอย่าง ในสมองจะมีการยิงประจุไฟฟ้านิวรอนไปตามเส้นประสาทที่เป็นโครงข่ายต่างๆในสมอง นี่เป็นกลไกขั้นพื้นฐานตามปกติที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะคิดอะไรก็แล้วแต่ ทุกครั้งที่คิด ในระบบประสาทก็จะมีการสร้างเส้นสายความคิดเส้นหนึ่งขึ้นมา เส้นสายชนิดนี้ถ้าเราคิดบ่อยๆ ย้ำๆ ซ้ำๆ มันก็จะเกิดเป็นพฤติกรรม “ทำซ้ำ” ที่เป็นระบบอัตโนมัติ เช่น เวลาหัดขับรถ เมื่อขับเป็นแล้ว เราก็ไม่ต้องพยายามทำอะไรมาก เพราะมันเกิดเป็นระบบออโต้ในสมอง นั่นคือมีการย้ำซ้ำๆ กระทั่งทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมปกติ

        :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

       ทุกเรื่องในชีวิตของเราก็เกิดจากสิ่งนี้ เช่น อกหักซ้ำๆ ได้แฟนนิสัยแย่ๆ แบบเดิมเป๊ะ! หรือเราเกลียดเจ้านายแบบนี้ เกลียดงานอย่างนี้ ลาออกมาหางานใหม่ พอได้งานใหม่ก็เหมือนเดิมเป๊ะ!!
       
       นี่แหละคือประเด็น เป็นเส้นทางแบบเดิมๆ ที่คนส่วนใหญ่เป็นกัน เพราะมันเกิดจากระบบความคิดในสมองที่เราเชื่อฝังใจอยู่ ยิ่งนานวันมันก็ยิ่งกลายเป็นเส้นสายที่แข็งแรง โยงใยกันเป็นโครงข่ายภายในระบบประสาท


        :49: :49: :49: :49:

       สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากหลายรูปแบบ จากความห่วงใยของคนใกล้ชิด ซึ่งอาจเป็นคำพูดที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคำวิพากษ์วิจารณ์ตัดสินจากคนที่หวังดีเกินเหตุ หรือผู้ไม่หวังดีที่ชอบเตะตัดขาด้วยวาจา เช่น “อย่าไปพยายามเลย มันไม่สำเร็จหรอก” หรือ “เรามันคนจนก็อยู่อย่างคนจนต่อไปดีกว่า” หรือ “หน้าอย่างแกน่ะหรือ จะมาเป็นดารา” อะไรทำนองเนี้ยะ!
       
       อย่าลืมว่า..ที่จริงนั้นมันเป็นคำวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ชุดความรู้ของตัวเอง มาเป็นเครื่องมือตัดสินผู้อื่น ทั้งที่บางครั้งข้อมูลอาจยังไม่ครบถ้วน เขายังไม่รู้จริงไม่รู้ลึก แต่ก็บังอาจมาตัดสินผู้อื่น ในโลกนี้ไม่มีใครรู้หรอกว่า “หัวใจดวงนี้เต้นอยู่เพื่อสิ่งใด” นอกจากตัวเราจะเป็นผู้ค้นพบได้เอง ดังที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า

       “ทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าคุณตัดสินปลาด้วยความสามารถในการปีนต้นไม้ ทั้งชีวิตมันก็จะคิดว่าตัวเองโง่อยู่อย่างนั้น”

       ans1 ans1 ans1 ans1

       ดังนั้น คำพิพากษาจากสมมติฐานที่ไม่จริงแบบนี้ เราจะยกมาเป็นคำตัดสินชีวิตของเราได้อย่างไร ในเมื่อทัศนคติของเขายังเอียงอยู่เช่นนี้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีคือ อย่าไปฟังและอย่าไปเชื่อถ้อยคำของคนพวกนี้
       
       ผู้ที่หูเบาเชื่อคนง่าย ในทางพุทธศาสนาถือว่า “งมงาย” การเชื่อง่ายเกินไปอย่างนี้อันตราย ในนคโรปมสูตร พระพุทธองค์ถึงกับตรัสเปรียบเทียบเรื่องความเชื่อไว้ว่า “เป็นเสมือนเสาหลักเมืองที่ขุดหลุมฝังลึก เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันนครของพระราชา ประการแรกสุด”


        st12 st12 st12 st12

       ในฐานะชาวพุทธทุกคนน่าจะรู้ดีว่า พระพุทธเจ้าได้อนุเคราะห์เครื่องมือในการวินิจฉัยก่อนเชื่อไว้แล้ว ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน “กาลามสูตร” ว่า อย่าเชื่อเพราะฟังตามๆกันมา อย่าเชื่อเพราะอ้างคัมภีร์ตำรา อย่าเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา เป็นต้น
       
       ทีนี้มาดูกันว่า เหตุใดความเชื่อ จึงเป็นประเด็นสำคัญต่อการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ


       
       ในเช้าวันหนึ่งที่อากาศแจ่มใส เด็กชายบอยดีใจมาก เมื่อรู้ว่าพ่อจะพาไปดูโชว์ช้างลากซุง เพราะช้างเป็นสัตว์ที่เขาชอบมากเป็นพิเศษ
       
       แล้วบอยกับพ่อก็เดินทางมาถึงปางช้าง ระหว่างเพลิดเพลินดูโชว์ช้างลากซุงอยู่นั้น เจ้าช้างตัวยักษ์ได้แสดงให้เห็นถึงพละกำลังอันมหาศาลของมัน แต่เมื่อแสดงจบถึงช่วงพัก คนเลี้ยงช้างก็นำมันมาล่ามไว้กับเสาหลัก บอยสังเกตเห็นว่า ขาข้างหนึ่งของมันถูกล่ามโซ่ไว้กับเสา


        ask1 ask1 ask1 ask1

       เสาต้นนั้นเป็นเพียงท่อนไม้เล็กๆ ตอกลงพื้นลึกเพียงไม่กี่นิ้ว แม้โซ่จะเส้นใหญ่ แต่เขาก็มั่นใจว่า สัตว์ที่ล้มต้นไม้ได้อย่างช้างตัวนี้ ย่อมปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากเสาต้นนั้น และหนีไปได้แน่ๆ แต่ทำไมมันไม่ไป “อะไรกันแน่ที่เหนี่ยวรั้งไว้ ทำไมช้างจึงไม่หนี” เด็กน้อยได้แต่เก็บความสงสัยนี้ไว้ในใจ
       
       อาทิตย์ต่อมาที่โรงเรียน บอยได้นำความสงสัยนี้ไปถามครู และคนอื่นๆ ทุกคนตอบคล้ายกันว่า “ที่ช้างไม่หนี เพราะมันถูกฝึกให้เชื่อง”
       
       “ถ้ามันเชื่อง แล้วทำไมยังต้องล่ามโซ่มันอีกล่ะ?” บอยถามกลับด้วยความสงสัย แต่ก็ไม่มีใครให้คำตอบได้

        :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

       หลายปีผ่านไป เมื่อบอยโตเป็นหนุ่ม เขาก็ลืมเรื่องนี้ไป แต่แล้ววันหนึ่ง บอยก็ได้ยินเด็กน้อยคนหนึ่งเอ่ยคำถามเดียวกันนี้กับท่านผู้รู้ และท่านก็ตอบว่า
       
       “ช้างไม่หนี เพราะมันถูกล่ามกับเสาอย่างนี้มาตั้งแต่ยังเล็ก”
       
       คำตอบนี้ช่วยให้ความสงสัยที่ได้เก็บมาเนิ่นนานในใจของบอยถูกคลี่คลาย ชายหนุ่มหลับตาเห็นภาพช้างแรกเกิดที่ไม่มีทางสู้ ถูกล่ามไว้กับเสา เขาแน่ใจว่าตอนนั้นช้างน้อยคงต้องทั้งผลักทั้งดึง ฉุดกระชาก เพื่อดิ้นรนให้ตัวเองเป็นอิสระ และแม้มันจะพยายามสักเพียงใด แต่ก็ไม่สำเร็จ เสาต้นนั้นแข็งแกร่งเกินไปสำหรับช้างตัวน้อยอย่างมัน วันต่อๆมามันก็ลองพยายามอีก วันแล้ววันเล่า...กระทั่งในที่สุด เจ้าช้างน้อยก็ยอมจำนนรับความพ่ายแพ้ ยอมถูกผูกติดกับเสาหลักต้นนั้นตลอดมา


        ans1 ans1 ans1 ans1

       บอยสรุปเป็นคำตอบให้กับตัวเองว่า “เหตุที่ช้างตัวใหญ่มีแรงมหาศาล ต้องทนลำบากทำงานลากซุง แถมยังถูกล่ามไว้กับเสาหลักอย่างไร้อิสรภาพ แต่มันก็ไม่ยอมหนี นั่นเพราะมันเชื่อว่า หนีไม่ได้นั่นเอง!”
       
       ลองโยงนิทานเรื่องนี้ มาเทียบกับตัวเราดู
       
       อะไรบ้างที่ทำให้ช้างน้อยอย่างเรา ไม่กล้า ไม่เชื่อว่าตัวเองทำได้ อะไรคือสิ่งที่ยังฝังใจกับความอ่อนแอของตนในอดีต แล้วก็เชื่อถือยึดติดอยู่อย่างนั้น โดยที่ไม่เคยตั้งข้อสงสัยกับการเติบโตของตนเองในปัจจุบันเลย ทำไมไม่ลองทดสอบพละกำลังของตนดูอีกสักครั้งเล่า
       
       อย่าลืมว่า “เราในวันนี้ ไม่เหมือนคนเก่าในวันนั้น”


        :25: :25: :25: :25:

       ฉะนั้น จงมีศรัทธา เชื่อมั่น เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก แล้วมองให้เห็นภาพว่า ตัวเองกำลังมีความสุข ประสบความสำเร็จ เมื่อได้ทำในสิ่งที่รัก เพราะทันทีที่เราได้ตัดสินใจเชื่อว่า “ตัวเองทำได้” ภาพในสมองของเราก็จะปรากฏขึ้น และนิวรอนก็จะยิงประจุไฟฟ้าออกไป พร้อมกับสร้างเส้นสายใหม่ขึ้นมา เป็นชุดคำสั่งในการขับเคลื่อนให้เราตื่นขึ้นมาทุกเช้าเพื่อทำสิ่งนั้น

       
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 174 มิถุนายน 2558 โดย ทาสโพธิญาณ
http://manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9580000062520
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ