ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สีสัน"ผีตาโขน" งานบุญด่านซ้าย  (อ่าน 1386 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สีสัน"ผีตาโขน" งานบุญด่านซ้าย
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2015, 09:30:16 am »
0


สีสัน"ผีตาโขน" งานบุญด่านซ้าย
ชลระดา หมื่นไธสง รายงาน

"ผีตาโขน" งานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาว อ.ด่านซ้าย จ.เลย ในทุกปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก

รวมถึงปีนี้ที่นักท่องเที่ยวมาร่วมงานจนแน่นขนัดตลอดทาง โดยจังหวัดเลยร่วมกับอำเภอด่านซ้าย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย จัดงาน "งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน" ประจำปี 2558 เมื่อ วันที่ 26-28 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ วัดโพนชัย และหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จ.เลย

"ผีตาโขน" เป็นส่วนหนึ่งของ "งานบุญหลวง"เป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น โดยรวมเอา "งานบุญพระเวส" ฮีตเดือนสี่ หรือเรียกว่า งานบุญผะเหวด ตามสำเนียงอีสาน และงานบุญบั้งไฟฮีตเดือนหก เข้าเป็นงานบุญเดียวกัน

งานบุญพระเวสเป็นงานฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ เชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์แรงกล้า บันดาลให้พบพระศรีอริยเมตไตรยในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบูชาอารักษ์หลักเมือง ถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล



ในการทำชุดผีตาโขนจะใช้เศษผ้าหลากสีนำมาเย็บติดกัน โดยมี "หมากกะแหล่ง" ลักษณะคล้ายกระดิ่งใช้แขวนคอควาย หรือกระดิ่ง กระพรวน และกระป๋อง ผูกติดกับบั้นเอว แขวนคอ หรือเคาะเขย่า เพื่อให้เกิดจังหวะและมีเสียงดังเวลาขยับตัวหรือเต้น

ผีตาโขนทุกตัว จะมีอาวุธประจำกายเป็นดาบหรือง้าว ทำจากไม้เนื้ออ่อนให้มีลักษณะคล้ายอวัยวะเพศชาย และทาสีแดงตรงปลายเอาไว้หยอกล้อ เพื่อให้เกิดความขบขันและสนุกสนาน โดยไม่มีจุดประสงค์เรื่องลามกหรือหยาบคาย

ส่วนหัวของหน้ากาก จะทำด้วยหวดนึ่งข้าวเหนียว ใบหน้าทำจากโคนก้านมะพร้าวถากเป็นรูปหน้ากาก แล้วเจาะช่องตา จมูกทำจากไม้นุ่นที่นำมาแกะเป็นรูปทรงต่างๆ ของหน้ากาก จากนั้นนำหัว ใบหน้า และเขา มาเย็บติดกันด้วยเชือก แต่จมูกใช้ตะปูยึดติดกับหน้ากากจากด้านใน แล้วนำมาวาดลวดลายตามจินตนาการของผู้ทำ



วันแรกของงานเริ่มด้วย พิธีเบิกพระอุปคุต โดยนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ ประกอบด้วย มีด ดาบ หอก ฉัตร ถือเดินตามขบวนจากวัดโพนชัยไปที่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน เพื่อเชิญพระอุปคุต (ก้อนกรวดสีขาว) ในแม่น้ำ เล่าขานกันว่าเมื่อมีงานบุญใหญ่โตมักมีมาร ผจญ จึงต้องเชิญพระอุปคุตมาเพื่อช่วยปราบมารให้ราบคาบ เมื่อได้พระอุปคุตแล้วจะนำใส่หาบเคลื่อนขบวนกลับมาทำพิธีที่หออุปคุต วัดโพนชัย

รุ่งเช้าวันที่สอง เปิดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนอย่างยิ่งใหญ่ หน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย โดยมีขบวนแห่เจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม และคณะพ่อแสน ร่วมด้วยกองทัพผีตาโขนจำนวนมาก ที่ออกวาดลวดลายสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวนแห่ เมื่อบรรดาผีตาโขนน้อยใหญ่ปรากฏตัวหลอกล่อผู้คน นักท่องเที่ยวต่างคว้ากล้องและสมาร์ตโฟนขึ้นมาเก็บภาพประทับใจ รวมถึงเข้าไปร่วมแจมในขบวนและเซลฟี่เป็นที่ระลึก

ช่วงบ่ายเหล่าผีตาโขนรวมกลุ่มเต้นกันอยู่ที่วัดโพนชัย ขณะที่บ้านเจ้าพ่อกวนจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญให้แก่เจ้าพ่อกวน และเจ้าแม่นางเทียม จากนั้นมีพิธีอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยมีขบวนแห่พระพุทธรูป พระสงฆ์ 4 รูป เจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม คณะแสน นางแต่ง และขบวนเซิ้งร่วมกันเคลื่อนไปยังวัดโพนชัย

เมื่อขบวนแห่ถึงวัดโพนชัย จะเดินเวียนรอบอุโบสถ 3 รอบ โดยมีผีตาโขนร่วมสร้างสีสัน เจ้าพ่อกวนจะโปรยกัลปพฤกษ์ คือเหรียญเงินเหรียญทองในระหว่างเคลื่อนขบวน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างแย่งกันอย่างสนุกสนาน เก็บไว้เป็นสิริมงคล

ต่อมาผู้เล่นผีตาโขนทิ้งหน้ากากผีตาโขนลงแม่น้ำหมัน ถือเป็นการลอยเคราะห์ให้ไหลล่องไปกับแม่น้ำ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเก็บไว้ใช้ประดับบ้าน หรือเก็บไว้ใช้อีกในปีหน้า จึงเปลี่ยนเป็นการทิ้งชุดผีตาโขนใหญ่แทน ต่อด้วยพิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถนขอฝน


วันสุดท้ายนับเป็นวันสำคัญที่สุด ตั้งแต่เช้ามืดมีพิธีเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ กล่อมเกลาจิตใจและได้อานิสงส์ผลบุญแรงกล้า

 ans1 ans1 ans1 ans1

หากมาเยือน จ.เลย แล้วไม่ควรพลาดไปสักการะพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของเมืองด่านซ้าย สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ลาวล้านช้าง ที่ทรงกระทำสัตยา ธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงทรงร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง เป็นรอยต่อของทั้งสองอาณาจักร

ข้อควรทราบ ในการเข้าสักการะพระธาตุศรีสองรัก คือ ห้ามใส่เสื้อสีแดง ถือของสีแดง หรือนำของไหว้ที่เป็นสีแดงเข้าไป เพราะสมัยโบราณถือกันว่าสีแดงเปรียบเหมือน "เลือด" ที่เป็นผลจากการทำสงคราม


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1436080422
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ