ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ยูเนสโก” แก้เกณฑ์ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เน้นต้องเป็นสากล  (อ่าน 2337 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อธิบดีกรมศิลปากร เผย “ยูเนสโก” แก้เกณฑ์ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เน้นต้องเป็นสากล

วันนี้ (24 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมคณะทำงานการปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติการขึ้นทะเบียน แหล่งมรดกตามอนุสัญญามรดกโลก ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งการประชุมเป็นการแก้ไขแนวปฏิบัติฯต่อจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ที่ประเทศบราซิล เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยแก้ไขในส่วนภาคผนวก 5 ข้อ 3 ว่าด้วยเรื่องรูปแบบและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูลของแหล่งมรดกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม เพื่อขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก รวมทั้งยังมีการแก้ไขข้อบัญญัติอื่นๆด้วย เช่น ข้อ 119 เรื่องการใช้แหล่งมรดกอย่างยั่งยืน ข้อ 137 เรื่องการเสนอแหล่งมรดกต่อเนื่องกัน และข้อ 163, 164, 165, 166 และ 167 เป็นต้น

“ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องแหล่งมรดกที่ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ว่า ควรต้องปรับปรุงเส้นเขตแดนให้ชัดเจนมากขึ้น และการปรับปรุงคุณสมบัติของแหล่งมรดกนั้น ๆ รวมทั้งชื่อของแหล่งมรดกโลกด้วย ส่วน ภาคผนวก 5 ข้อ 3 ที่แก้ไข ได้เน้นถึงความสำคัญของแหล่งมรดกที่ควรจะได้รับการขึ้นทะเบียน โดยเนื้อหาจะคล้ายของเดิม แต่ปรับข้อความให้กระชับขึ้น ซึ่งที่ประชุมย้ำให้ประเทศที่จะเสนอขึ้นทะเบียนต้องเขียนรายละเอียดให้ ชัดเจน และแสดงให้เห็นว่าทำไมแหล่งมรดกแห่งนี้จึงมีความสำคัญโดดเด่นเป็นสากล และต้องเขียนอย่างระมัดระวังให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก” นางโสมสุดา กล่าว

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องความสำคัญของการปกป้องรักษาและการบริหาร จัดการแหล่งมรดก ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงแผนดังกล่าวว่าจะมีการบริหารจัดการ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบแหล่งที่จะขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกว่า มีแหล่งมรดกอื่นที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันหรือไม่ โดยให้เน้นความสำคัญของแหล่งมรดกว่ามีความสำคัญในระดับชาติและระดับนานาชาติ อย่างไร เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีการเสนอแหล่งมรดกโลกในลักษณะเดียวกันในอนาคต อย่างไรก็ตามผลสรุปจากการประชุมครั้งนี้ประธานคณะทำงานจะเสนอให้คณะกรรมการ มรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ลงมติเห็นชอบในประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 เดือนมิถุนายน 2554 ที่ประเทศบาห์เรน
บันทึกการเข้า