ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝรั่งเจริญจริงไหม.? แล้วไทยล่ะ : "ไทยสบายแล้วมัวประมาท ฝรั่งขาดปัญญา..."  (อ่าน 920 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ฝรั่ง เจริญจริงไหม...แล้วไทยล่ะ.?

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเสนอผลงานวิชาการที่ประเทศกรีซ ณ กรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ เป็นการจัดของ ATHENS INSTITUTE FOR EDUCATION AND RESEARCH ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 58 เวลาว่างๆ ได้มีโอกาสนั่งอ่านหนังสือ "รู้ไว้เสริมปัญญาและพัฒนาคน" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) รู้สึกภูมิใจและมีสาระสำคัญ ซึ่งตรงกับความคิดของผู้เขียน

เคยถามตัวเองตลอดเวลาว่า ประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ นั้น เขาเป็นประเทศที่ประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ ถือเป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นผู้มีอิทธิพลสูงในสหประชาชาติ United Nation และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ และคนไทยเรา โดยเฉพาะ "หมอไทย" ก็ได้เรียนต่างประเทศกันมาก อย่างรุ่นผู้เขียนก็ไปเรียนบอร์ด (Board) ที่อเมริกากว่าครึ่งห้องเลยทีเดียว และได้เฝ้าสังเกตติดตามมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เขาก็ยังมีภัยธรรมชาติ วิกฤตการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ อย่างเช่นประเทศกรีซต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟจนเกิดวิกฤตรุนแรง ส่งผลให้เกิดแรงกระทบไปทั่วโลก ที่เป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้


 :96: :96: :96: :96: :96:

ประเด็นที่ท่านเจ้าคุณ ป.อ. ปยุตฺโต ตั้งประเด็นตามที่มีผู้ถามว่า...คนไทยนับถือศาสนาพุทธ ทำไมเมืองไทยจึงไม่พัฒนา อยู่ในสภาพแบบนี้ แต่ฝรั่งนับถืออย่างอื่นกลับเจริญไปไกล?

ท่านให้ข้อคิดว่า ข้อสำคัญ หลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนาไม่มีการบังคับศรัทธา เป็นไปโดยเสรี ให้ใช้ปัญญาพิจารณา โดยไม่ผูกมัดด้วยข้อกำหนดตายตัว ทั้งในด้านความเชื่อและการปฏิบัติ คนจะเข้าถึงศาสนาพุทธเพียงใดอยู่ที่การศึกษา ชาวพุทธอาจจะนับถืออะไรก็ได้ ซึ่งคงจะเป็นตัวแปรและมีอิทธิพล

    1.ไม่ใช่ว่าคนไทยเราจะเข้าถึงแนวทางของพระพุทธศาสนากันทั้งหมดและทุกสมัย
    2.เพราะไม่มีการบังคับความเชื่อนี้แหละ คนไทยจึงไม่ได้นับถือเฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่อาจจะนับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน เช่น ศาสนาพราหมณ์ ไสยศาสตร์ ลัทธิผีสางเทวดา โหราศาสตร์จึงเข้ามามีอิทธิพลด้วย บางอย่างก็ก้าวล่วงล้ำเข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนาด้วยดังเช่นที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่
    3.ปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เป็นต้น

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

สภาพแวดล้อมมีปัจจัยสำคัญๆ ที่เห็นได้ชัดๆ เป็นที่ประจักษ์ ดังเช่นคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม "อยู่ดีมีสุข" ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติแวดล้อม เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับ "ปุถุชน" ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง จีน แขก ฯลฯ หมายความว่ามนุษย์ปุถุชนจะดิ้นรนขวนขวายเมื่อมีทุกข์บีบคั้นหรือภัยคุกคาม ในแง่นี้จะเห็นได้ว่า "อารยธรรมตะวันตก" เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความเจริญ คือการถูกทุกข์บีบคั้น และภัยคุกคามเป็นการขาดแคลนปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การบีบคั้นของภัยธรรมชาติ เช่น ความหนาวเย็น หิมะตกทั้งปีมีความรุนแรงถึงขนาดที่ว่าถ้าไม่มีการแก้ไขป้องกัน แล้วชีวิตจะอยู่ไม่ได้

แต่สำหรับเมืองไทยอุดมสมบูรณ์ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" พร้อมสรรพ ก็ไม่มีปัญหา 4 ฤดูพร้อมสรรพ นิสัยที่ติดตัวอย่างถาวรกับการผัดผ่อนเอาไว้ก่อน เช่น บ้านเราหลังคารั่ว ฝาผุ ยังไม่ยอมซ่อม เพราะเรายังไม่มีเวลา ยังไม่ซ่อมนะ เอาไว้ก่อน เดี๋ยวก่อน...พอถึงเดือนก็เอาไว้ก่อน ก็ผลัดต่อๆ ไปๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งยังไม่ซ่อมเลย แต่ในประเทศฝรั่งจะผิดเพี้ยนไม่ได้เลย อีกสองเดือนฤดูหนาวจะมา เดือนหน้าถ้าไม่ซ่อมจะหนาวตายแน่ๆ


 :41: :41: :41: :41:

ภัยธรรมชาติที่รุนแรงและความขาดแคลน เนื่องจากธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นอันตรายที่บีบคั้น ทำให้เขา "ไม่ประมาท" หรือ "มัวประมาทอยู่ไม่ได้" คือจำเป็นต้องไม่ประมาท ต่างจากไทยที่สุขสบายอุดมสมบูรณ์ เป็นปัจจัยตัวเอื้อจะนำไปสู่ "ความประมาท" เช่น ทำให้นอนเสพเสวยความสุข ชอบผัดผ่อนไปเรื่อยๆ อย่างนี้ก็คือ "ลัทธิแห่งความประมาทนั่นเอง"

จึงมีประเด็นว่าเราจะแก้นิสัย "คนไทย" นี้อย่างไร...พุทธศาสนาไม่ได้สอนหรือ?

 :29: :29: :29: :29:

สิ่งบีบคั้นอื่นๆ อีก โดยเฉพาะทางจิตใจและปัญญา สังคมตะวันตกเป็นสังคมที่ผ่านประวัติแห่งการบีบคั้นทางปัญญาอย่างมาก อย่างประวัติศาสตร์สมัยกลางของยุโรป ศาสนาคริสต์มีอำนาจครอบงำยุโรปทั้งทวีป โดยมี "วาติกัน" เป็นศูนย์กลาง "โป๊ป" (Pope) ที่แปลว่าสันตะปาปา เป็นผู้สวมมงกุฎให้กษัตริย์ของประเทศทั้งหลายทั่วไปหมด ฉะนั้นถ้ามีกษัตริย์องค์ไหนเกิดเรื่องขัดแย้งไม่เชื่อใจ โป๊ปสามารถสั่งลงโทษ เช่น ปี 1619 (ค.ศ.1076) Pope Gregory ที่ 7 สั่งลงโทษคว่ำบาตรพระเฮนรีที่ 4 กษัตริย์เยอรมันและเป็นจักรพรรดิโรมันด้วย กษัตริย์ต้องเดินทางข้ามเทือกเขาแอลป์มาขอขมาโป๊ปและถูกสั่งลงโทษให้อดอาหาร 3 วัน โป๊ปจึงยกโทษให้

อย่างกาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญที่เขาเคยเรียนกัน ไปสอนเรื่องโลกค้านขัดแย้งกับคำสอนในพระคัมภีร์ ยังถูกจับขึ้นศาล ถูกขังตัวอยู่ในบ้าน 8 ปี ตั้งแต่ ค.ศ.1633 จนตาย เมื่อ ค.ศ.1642 เป็นต้น ซึ่งทั้งปวงกรณีตัวอย่างนี้ ต่างจากสังคมไทยของเรา ไม่มีการบีบคั้นทาง "ปัญญา" เลย จึงทำให้เกิดภาวะเรื่อยเปื่อยอะไรก็ได้ ใครจะคิดอย่างไร จะสงสัยอะไรก็ไม่ว่า พูดไปก็ไม่เห็นมีใครฟัง มีคนฟังไม่กี่คนก็ไม่เป็นไร แต่ฝรั่งเขาไม่อย่างนั้น พูดแสดงความสงสัยเขาจับเลย กลายเป็นการกระตุ้นเขาให้พวกที่อยากรู้ ยิ่งอยากมาฟัง ยิ่งลักลอบ ทำให้การลับก็ยิ่งเอาจริงเอาจัง เป็นเหตุการณ์ทำให้ "ฝรั่ง" แสดงปัญญากันอย่างจริงจัง ฝังลึกยาวนานจนกระทั่งเป็นนิสัย "ใฝ่รู้ขึ้น"


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

เป็นอันว่า "สังคมตะวันตก" นี้ดีอย่างที่เขามีตัวเร่งทำให้คนไม่ประมาท ซึ่งเรียกว่า "อย่างเทียม" ทั้งโดยธรรมชาติแวดล้อมที่ทารุณ และโดยการบีบคั้นกันเองในหมู่มนุษย์ล้าหลังนี้ ว่าคนถูกบีบคั้นและภัยธรรมชาติคุกคาม จึงลุกขึ้นดิ้นรน ขวนขวาย สร้างสรรค์ปัญญาในแบบของเขามากขึ้น จนเป็นวิถีชีวิตสังคมของเขาเลยทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่า

"ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง" ที่ผ่านมานั้นเขาเริ่มใช้ระบบ "แข่งขัน" โดยเฉพาะคนอเมริกัน คือการแข่งขัน (Competition) เป็นหัวใจของการสร้างความเจริญ โดยที่เขาเชิดชูลัทธิ "ปัจเจกนิยม" (individualism) ซึ่งแสดงออกมาเด่นทางด้านการแข่งขันทางด้านการค้า อเมริกันถือว่าเป็นวิธีการสร้างความเจริญ คนจะเชื่องช้าอยู่ไม่ได้ จึงเกิดลัทธิ "ตัวใครตัวมัน" ใครดีใครได้ ใครแข็งก็อยู่ ใครอ่อนก็ตายไป ไม่มีใครช่วยใคร ทุกคนต้องดิ้นรนขวนขวายเอาเอง จึงเท่ากับมีภัยคุกคามทำให้ต้องดิ้นรนตลอดเวลา เขาจึงสร้างสรรค์ความเจริญมาได้ ระบบแข่งขันก็ดีตรงนี้ คือดีสำหรับมนุษย์ที่ยังมี "กิเลส" ซึ่งไม่สามารถที่จะไม่ประมาทด้วยสติปัญญา ท่านเจ้าคุณเรียกระบบนี้ว่า "ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์" คือ คิดเอง สร้างเอง แล้วให้คนอื่นทำตาม เช่น สร้างกติกากฎเกณฑ์ต่างๆ ทางด้านการค้า เป็นต้น เพื่อให้ชาติอื่นทำตาม

 ask1 ask1 ask1 ask1

หากเรามองย้อนหลังไปยุคสัก 2 ทศวรรษเศษ ยุคพลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดนเริ่มเข้าสู่ประเทศไทย ต่อด้วยยุคท่านนายกฯอานันท์ ปันยารชุน จะชัดขึ้นๆ โดยเราตื่นตัวก๊อบปี้ออกมาเลย เขาว่าไม่อย่างนั้นไทยเราจะอยู่ลำบาก คนไทยจึงเกิดการต่อสู้ดิ้นรน นิสัยคน วิถีชีวิต เปลี่ยนเป็นแบบชาวตะวันตกอเมริกันไปเลย แต่ก่อนนี้คนไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตอนนี้หายากขึ้น แต่ก็ยังพอมีอยู่มากพอควร ด้วยผู้เขียนมั่นใจว่า "วัฒนธรรมไทย" เรื่องเอื้ออาทร คนสงสารคนยังมีอยู่ เพราะคนไทยจะนับถืออะไรๆ ทั้งในศาสตร์ โหราศาสตร์ ผีสางเทวดา คนไทยก็ยังมี "พรหมวิหารธรรม" อยู่ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าต้องการให้เราพัฒนาคนให้ไม่ประมาทด้วย "สติปัญญา" ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า... "ปมาโท มจฺจุโน ปทํ" แปลว่า "ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย" กล่าวคือ การที่มี "สติ" ตามระลึกเท่าทันตื่นตัวต่อเหตุการณ์ มีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นไปจะมีผลต่อชีวิต ต่อสังคม ต่อศาสนา ก็ไม่นิ่งเฉย เฉื่อยชา ไม่ปล่อยปละละเลย ต้องรีบเอามาตรวจดูว่าเรื่องนี้เกิดแล้วจะมีผลดีหรือผลร้าย ถ้าจะเกิดความเสื่อมเสียต้องรีบ "แก้ไขป้องกัน" อันไหนจะทำให้เกิดความเจริญก็ให้ "รีบจัดทำ" ส่วน "ปัญญา" ก็วิเคราะห์เรื่องราวหาเหตุผลปัจจัย แล้วก็รีบตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง ไม่ต้องให้ทุกข์มาบีบคั้นอย่างที่เรียกว่า "อยู่ด้วยความไม่ประมาท"

พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้แล้ว หรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่เรา สมัยเก่าๆ จะสอนลูกๆ เสมอว่า "เอ็งอย่าประมาทนะลูก"

 :25: :25: :25: :25: :25:

อนึ่งท่านเจ้าคุณท่านให้ข้อสังเกตว่า "ไทยสบายแล้วมัวประมาท ฝรั่งขาดปัญญาก็เจริญไม่ตลอด" สังคมตะวันตกเขาสร้างวิถีชีวิตของความเห็นแก่ตัว และพร้อมสร้างกติกา กฎหมาย และหลักการต่างๆ ของสังคมโลกขึ้นมาเพื่อป้องกันการรุกล้ำสิทธิ การพัฒนาในทิศทางนี้จึงได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "สิทธิมนุษยชน" (Human Rights) ที่คนตะวันตกเขาภูมิใจกันอย่างนักหนา ใช้กันอย่างชำนาญมากและไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยจนได้เช่นกัน

"ภัยคุกคามประดิษฐ์" ของคนตะวันตกสร้างขึ้นมา ข้อดีก็คือเร่งคนให้กระตือรือร้น ขวนขวาย สร้างความเจริญขึ้นมาได้ เกิดมีความไม่ประมาทเทียม แต่ผลร้ายเบื้องปลายคือ "ทำให้คนเห็นแก่ตัว" เอาแต่ตัวเองรอดเพื่อความอยู่ดีมีสุข ร่ำรวยสมบูรณ์ของตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น และไม่คำนึงถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปก็ช่างมัน

ผู้เขียนเองได้สังเกตติดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสื่อมวลชนประเทศจีน พบว่าในที่สุดแต่ละคนมุ่งหาประโยชน์ส่วนตน สังคมก็มากไปด้วยการเบียดเบียนกัน และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็เสื่อมโทรม ทรัพยากรธรรมชาติก็ร่อยหรอ ดังเช่นประเทศทั่วโลกประสบตั้งแต่อเมริกา ยุโรปแล้ว ประเทศไทยไม่ต้องพูดถึงเลยก็ปรากฏชัดเจนเช่นเดียวกันนะครับ

บทความของ นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436331040
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2015, 09:35:58 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ