ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝรั่งเจริญจริงไหม.? แล้วไทยล่ะ : "พุทธศาสนาไม่ได้ห้ามให้คนร่ำรวย แต่ขอให้รวย..."  (อ่าน 904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ฝรั่ง เจริญจริงไหม...แล้วไทยล่ะ? (2)

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและปรากฏการณ์ความรุนแรงทางธรรมชาติ ทั้งฝนแล้ง พายุรุนแรงที่ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังประสบอยู่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนเกิดจากผลของน้ำมือมนุษย์ ฉบับที่แล้วว่าด้วยเรื่องของระบบที่นำมาซึ่งปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าว

ก็เกิดคำถามว่า ฉะนั้นแล้วระบบอะไรที่น่าจะดีต่อมนุษย์และสังคม โดยนัยนี้ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) บอกว่า "ระบบที่ดีที่สุดจึงหนีไม่พ้นจะต้องเป็นระบบแห่งความไม่ประมาทที่แท้ ซึ่งเป็นไปด้วยสติ ปัญญา" เมื่อเราใช้สติปัญญาแล้ว มันก็คลุมหมดปิดช่องเสียได้ให้มี มีแต่ส่วนดี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเขาทำอย่างไร จะพัฒนาคนให้อยู่ด้วย "ธรรม" คือไม่ประมาท คำถามอยู่ที่ว่าคนไทยเราจะพัฒนาคนของเราให้ถึง อยู่ด้วยความไม่ประมาท "เป็นไปได้หรือไม่?" ดูเหมือนคนไทยเรายังห้าสิบห้าสิบ

 ans1 ans1 ans1 ans1

    ตามหลักความไม่ประมาท สิ่งที่เราต้องทำให้มี 2 อย่าง คือ
    1.ทำให้คนเจริญงอกงามอยู่ด้วยความดีงาม มีความร่มเย็นเป็นสุข
    2.เมื่อดีงามร่มเย็นเป็นสุขแล้วให้ไม่ประมาท เร่งสร้างสรรค์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยไม่ผิดเพี้ยน ไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลิน ตกหลุมหรือติดกับดักความประมาท

หากดูตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วิเคราะห์สังคมไทย จุดอ่อนของสังคมไทย ได้แก่ "ความประมาท" หากเราทุกๆ คนยังชีพด้วยสัมมาอาชีพ ด้วยความไม่ประมาท แสดงว่าเป็นสังคมพัฒนาจริง คนที่สุขสบายยิ่งขวนขวาย สร้างสรรค์ หากทำได้ท่านจึงยอมรับเป็นผู้ประเสริฐจริง

 รวมความแล้วผลสรุปจุดเน้นได้ว่า เกณฑ์วัดพัฒนามนุษย์คือ สำหรับมนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา ต้องบีบเค้นจึงจะไม่ประมาท (ไม่ประมาทเทียม) สำหรับมนุษย์ที่พัฒนาแล้วใช้สติปัญญาเร่งรัดตัวเองได้ จึงไม่ประมาท (ไม่ประมาทแท้)

 :25: :25: :25: :25:

ท่านเจ้าคุณยังระบุว่า เวลานี้ฝรั่ง โดยเฉพาะอเมริกันก็ยังหาทางออกไม่ได้ เขายังไม่เห็นต้นตอของปัญหา หรือยังไม่เห็นโทษแห่งฐานความคิดความเชื่อของตนที่ว่า "ระบบแข่งขัน" เท่านั้นที่จะทำให้เกิดความเจริญ ตอนนี้สภาพสังคมอเมริกันเสื่อมลง ก็มองได้แค่ว่าเพราะคนของตนสูญเสียCompetitiveness คือคนอเมริกันในยุคปัจจุบันไม่มีคุณสมบัติในการแข่งขัน เช่น ขาดจริยธรรมการทำงาน (Work ethic) ขาดสันโดษ ไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นคนร่ำรวยหยิบโหย่ง เป็นต้น เลยสรุปว่า ฉะนั้นเราต้องแก้ไขฐานะความเป็น "ผู้นำ" และความยิ่งใหญ่กลับมาด้วยการทำให้คนอเมริกันกลับมามีความพร้อมที่จะแข่งขัน ท่านเจ้าคุณบอกว่าอเมริกันก็ได้แค่นั้นแหละ วนเวียนอยู่แค่การถือว่า "คนจะฟื้นได้ก็ด้วยการแข่งขันเก่ง"

ที่จริงสาระความเจริญอเมริกันก็อยู่ที่ว่า ในอดีตถูกบีบคั้นมาทุกด้าน ทั้งด้านธรรมชาติที่ทารุณขาดแคลน ทั้งด้านชีวิตแห่งการบุกผ่าพรมแดน รวมทั้งสงครามกับอินเดียนแดง ทั้งด้านวิถีชีวิต สังคมแห่งการแข่งขัน ลัทธิตัวใครตัวมัน (ไม่พูดถึงเรื่องศาสนา) ก็จึงต้องดิ้นรนขวนขวายขยันรู้ แต่เวลานี้สังคมอเมริกันได้รับผลของความขยันเปลี่ยนแปลงเป็นความพรั่งพร้อมสุขสบายก็เลยเข้าวงจรปุถุชนที่ว่า "พอสุขสบายก็ฟุ้งเฟ้อ มัวเมา เชื่องช้า ประมาท คนอเมริกันก็ได้แต่หวังให้การแข่งขันนั้นมาเร่งคนของตัวเองต่อไปอีก"

 st12 st12 st12 st12

ใน "เวทีโลก" จะเห็นได้ชัดว่า มีคำว่าต้องแข่งขันใช้ทั่วไปหมด โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศชาติก็คิดถึงการแข่งขัน "เมืองไทยเราก็พลอยรับเอาลัทธินี้เข้ามาด้วย และพูดกันเกร่อถึงการพยายามแข่งขันให้สู้เขาให้ได้"

 แต่ในการแก้ไขปัญหาของ "โลก" ระบบการแข่งขันนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้สำเร็จ มีแต่จะทำให้ "โลกพินาศ" เพราะในที่สุดมันจะกลับมาซ้ำเติมปัญหาที่ว่ามาทั้งหมด เช่น ทำให้ปัญหาธรรมชาติแวดล้อมก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าต่างคนต่างแข่งขันหาผลประโยชน์ หรือว่าต่างคนต่างแบ่งแยกกัน มันก็แก้ไม่ได้ จนมาถึงจะ "ติดตัน" เพราะทุกประเทศยึดลัทธิวิธีสร้างความเจริญด้วยการแข่งขัน ซึ่งก็คือลัทธิเดียวกัน คือเห็นแก่ตัว หาผลประโยชน์ด้วยการทำลายธรรมชาติ ก็วนไปวนมา

  st11 st11 st11 st11

หากเราติดตามดูประวัติศาสตร์ชาติไทยของเราในอดีตมีความเชื่อในเรื่องผี เรื่องเทพ เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือสามัญวิสัย ตั้งแต่ยุคแรกสร้างประเทศ เช่น พงศาวดารในสมัยกรุงศรีสัชนาลัยแห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้กล่าวถึงผี ผีบ้านผีเมือง ทรงบ้านทรงเมือง ผีสารพัด ผีหมื่นดง ผีหมื่นถ้ำ ล้ำหมื่นผา ความเชื่อเรื่องผีนับเป็นความเชื่อเรื่องเก่าแก่ของสังคมไทยมานาน จะเห็นโดย "คนไทย" จะนับถือผีมาก่อน "พระ" เสียอีก

ต่อมาศาสนาพุทธเข้ามา เรานับถือพุทธไปได้ระยะหนึ่งไทยเขาก็เริ่มมี "ลัทธิบริโภคนิยม" เข้ามา ลัทธินี้คือลัทธิที่สอนว่า เป้าหมายของการประสบความสำเร็จในชีวิตมนุษย์นี้ คนเราต้องมั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยปัจจัยสี่ โดยเฉพาะ "เงิน" เป็นหัวแก้วหัวแหวน เป็นแก้วสารพัดนึก มีเงินย่อมมีทุกอย่าง ทำให้วัดความสำเร็จกันที่ "เงิน" เงินคือพระเจ้าและการมีความมั่งคั่งพรั่งพร้อมมากที่สุด

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ทุกวันนี้คนในสังคมไทยถูกกระตุ้นให้อยาก "รวย" ซึ่งกระตุ้นได้ง่ายมาก เพราะมนุษย์ทุกคนมีตัณหาอยู่แล้ว เราก็จะออกวิ่งตามปัญหาไป วิ่งทางไหนดีล่ะ ด้วยความรู้พื้นฐานง่ายๆ ที่คนไทยบางกลุ่มไม่มีและไม่รู้จักใช้วิจารณญาณ บางคนอยากมีเงิน อยากรวยเป็นเศรษฐี เมื่อหันหน้าไปพึ่งใครไม่ได้ ก็ไปพึ่งเทพไปบูชาเทพ เพราะเชื่อว่าเทพจะทำให้รวยได้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เทวามาร์เกตติ้ง" ครองบ้านครองเมือง ดังเช่นปรากฏในสังคมไทยปัจจุบัน

พุทธศาสนาไม่ได้ห้ามให้คนร่ำรวย แต่ขอให้รวยด้วยความ "ชอบธรรม" นั่นคือหลักการที่ถูกต้องถ่องแท้ แต่ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากกลับดำเนินชีวิตอย่างไม่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม มุ่งไปสู่ความร่ำรวยโดยไม่คำนึงถึงวิธีการว่า "ชอบธรรม" หรือไม่? ซึ่งประเทศไทยติดกับดักดังกล่าว คนบางคนมีความคิดไม่สำคัญว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีใด ขอให้ได้มาก็พอ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ "เติ้ง เสี่ยวผิง" ผู้นำจีนที่พาชาติก้าวสู่นายทุนนิยม เจ้าของวลีเด็ดที่ว่า "ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวดี"


 ans1 ans1 ans1 ans1

นี่คือสภาพสังคมไทยที่เกิดจึงมุ่งมั่นหาเงิน หาความสำเร็จโดยการโกง การทุจริตในสังคม ไม่ถามหาความชอบธรรม และกลายเป็นเรื่องปกติธรรมที่ใครๆ ก็ทำกัน เล่ห์เหลี่ยมการโกงอย่างแยบคายจึงถูกนำมาใช้เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย แต่สุดท้ายแม้ไม่มีใครรู้ว่าเขาทำกรรมอะไรไว้ "แต่ตัวเราเองก็รู้ดีที่สุด" นี่เองที่ทำให้สังคมนี้ คนจำนวนมากมีความทุกข์ ติดกับดัก ที่บอกใครไม่ได้ ใครทำคนนั้นก็ต้องรับกรรมไป คำถามจึงเกิดขึ้นว่า พระพุทธศาสนามีคำตอบแก้ปัญหาให้สังคมโลก สังคมไทยหรือไม่? อย่างไร?

แต่ท่านบอกว่า "พระพุทธศาสนานี้มีคำตอบให้อย่างแน่นอน" ภูมิหลังสังคมตะวันตกจนถึงปัจจุบันมีปัญหาทางจิตใจและทางสังคม ก็เริ่มเห็นความสำคัญของ "จริยธรรมขึ้นมา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้เกิดมีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม (environmental ethics) ซึ่งก็เป็นจริยธรรมแห่งความจำใจอยู่นั่นเอง เช่น บอกว่ามนุษย์ต้องพึงสังวร (Restraint) ในการที่จะปฏิบัติต่อธรรมชาติ (คือต้องควบคุมยับยั้งตนเอง) โดยไม่เอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ตามใจชอบ เป็นต้น

 :25: :25: :25: :25:

ในเวลาเดียวกัน จริยธรรมก็ฟื้นฟูเฟื่องขึ้นทางด้านการศึกษาตามมหาวิทยาลัยดังของอเมริกัน กลับมามีการศึกษาจริยธรรม เช่น มีจริยธรรมธุรกิจ (business ethics) คือทำธุรกิจอย่างไร โดยไม่ส่งผลให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อม เพราะการแข่งขันมากมาย ธุรกิจมักจะทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในเมื่อจริยธรรมของตะวันตกเป็นแบบจำใจ ฝืนใจ มันก็ไม่มั่นคง ไม่มีหลักประกัน เพราะมนุษย์ฝืนใจก็ทุกข์ จึงคอยหาทางเรียนแบบศรีธนญชัย

ส่วนจริยธรรมของพระพุทธศาสนานั้น ไม่เป็นจริยธรรมแห่งการประนีประนอมหรือแบบฮั้วกัน แต่เป็นจริยธรรมที่ต่างก็ประสานประโยชน์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งในที่สุดจะทำให้องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ในอารยธรรมของมนุษย์ได้อยู่ร่วมกันและเจริญงอกงามคือ
         1.ชีวิตมนุษย์
         2.สังคม
         3.สิ่งแวดล้อม


 :96: :96: :96: :96:

ขณะนี้องค์ประกอบทั้งสามกำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ที่เรียกว่า Unsustainable คือเป็นวิธีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งทำให้ผลประโยชน์ทั้งสามอย่างขัดแย้งกันไปหมด

แนวคิดตะวันตกนั้นต่างจากแนวคิดพุทธ ถ้ามองไปในแง่ปรัชญาตะวันตก การพัฒนายั่งยืนมองไม่เห็น เกิดทางตันหมด เพราะแนวคิดแฝงด้วยความขัดแย้งไว้ตลอด เพราะเป็นจริยธรรมแห่งความ "จำใจ" เริ่มตั้งแต่มองมนุษย์ แยกต่างหากจากธรรมชาติ และให้ "มนุษย์พิชิตธรรมชาติ" แล้ว "จัดการกับธรรมชาติตามใจชอบ" เพื่อเอามาสนองความต้องการของตนที่จะเสพให้มากที่สุด เพื่อจะได้สุขมากที่สุด

 :25: :25: :25: :25:

ส่วน "แนวคิดพุทธ" จะต้องประสานให้สิ่งที่ดีแก่บุคคลก็ดี แก่วัฒนธรรม ให้สิ่งที่ดีแก่สังคมก็ดี แก่มนุษย์ด้วย แก่ธรรมคติด้วยการอนุรักษ์และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ ถึงยุคนี้ได้องค์ประกอบทั้งสามก็ประสานประโยชน์กันได้ และกลายเป็นระบบ "เกื้อกูลซึ่งกันและกัน" ก็แก้ปัญหา "มนุษย์" ได้ ซึ่งคือความสำเร็จของ "อารยธรรม"

ท่านเจ้าคุณกล่าวในที่สุดเป็นบทสุดท้ายที่จะพิสูจน์ว่า "การพัฒนามนุษย์จะทำได้แค่ไหน เป็นจุดสุดยอด ซึ่งเราไม่ได้ยุ่งกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ด้วยซ้ำ" นั่นคือ "คำตอบ" ที่พระพุทธศาสนามีให้และก็เป็นคำตอบให้ว่า "ฝรั่งเจริญจริงไหม?" และไทยคือพุทธ ทำไมไม่เจริญ ไงเล่าครับ

 
นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436943769
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ