ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สังเวชนียสถาน อินเดีย-ไทย  (อ่าน 1039 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สังเวชนียสถาน อินเดีย-ไทย
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2015, 08:56:49 am »
0



สังเวชนียสถาน อินเดีย-ไทย
โดย กิติกร มีทรัพย์

"สถานที่ตรัสรู้" เป็นสังเวชนียสถานที่ตั้งอยู่ตำบลคยา (KaYa) เมืองราชคฤห์ (Rajkira) แขวงมคธ ปัจจุบันคือรัฐพิหาร เรียกกันในปัจจุบันว่า "พุทธคยา" อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ เป็นอภิสัมพุทธสถาน ที่ได้รับการปรับปรุงจัดวางไว้ดีเยี่ยม คือ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นชั้นๆ เพื่อสะดวกแก่การทำทักษิณาวรรต สวดมนต์สรรเสริญพระพุทธเจ้า

พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ เป็นต้นแห่งเจเนอเรชั่นที่ 4 นับจากต้นแรก มีกิ่งก้านสาขาหลายกิ่ง ต้องมีเสาซีเมนต์ค้ำยันไว้ตรงโคนต้นมี "พระแท่นวัชรอาสน์" อันเชื่อว่าเป็นพระที่นั่งตรัสรู้บนกองหญ้าที่นายโสตถิยะปูถวาย ประหนึ่งว่าเป็น "พระนิสีทนสันถัต" พระแท่นวัชรอาสน์ ถูกล้อมด้วยรั้วเหล็กโดยรอบ สามารถสัมผัสได้โดยการเห็นด้วยตาและด้วยใจโดยอธิษฐานจิตเท่านั้น

เบื้องหน้าพระศรีมหาโพธิ์ สร้างเป็น "พระมหาเจดีย์ใหญ่" สถาปัตยกรรมชมพูทวีปที่สง่างาม มีพุทธบริษัททั่วทุกมุมโลกมาชุมนุม สวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณไม่ขาดสาย

สำหรับสังเวชนียสถานที่พุทธ มณฑล ในประเทศไทยนั้น ศิลปินสายพุทธสร้างเป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ เป็นพระแท่นสลักหินรูปโพธิบัลลังก์ อันเป็นสัญลักษณ์ของปางตรัสรู้ในอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา


1.ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา  2.พระแท่นสลักหินรูปโพธิบัลลังก์
3.พระธัมเมกขสถูป   4.พระแท่นหินสัญลักษณ์แห่งการดับขันธปรินิพพาน

"สถานที่ปฐมเทศนา" เป็นสังเวชนียสถานที่ตั้งอยู่ ณ ตำบล สารนาถ หรือ "ตำบลอิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "สวนกวาง" เมือง พาราณสี อันเป็นที่แสดงธรรมครั้งแรก คือ "ธัมมจักกัปวัตนสูตร" เป็นสังเวชนียสถานที่แตกต่างจากที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งแสดงให้ปรากฏเป็นรูปธรรม

แต่สังเวชนียสถานที่ นี้เป็นสัญลักษณ์ กล่าวคือพ ระสถูปเห็นเด่นสง่าที่สุดในหมู่พุทธสถานอื่นๆ ที่นั่นคือ "พระธัมเมกขสถูป" เป็นสัณฐานโดยรวมรูปโอคว่ำ 2 ชั้น ไม่มีเรือนยอดประดับ

พุทธศิลปินแสดงให้เห็นว่า เป็นดุมล้อเกวียน อันเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดยมิได้หยุดนิ่งเลย นัยหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมจักร หรือวงล้อพระธรรมที่มีซี่ล้อแปดกำ (ทำเป็นช่องโดยรอบแปดช่อง) มีความหมายว่า เป็นอริยมรรคมีองค์แปด ตัวดุมล้อจำหลักลวดลายประดับ โดยรอบ งดงามยิ่งตามศิลป ต้นแบบแห่งชมพูทวีป (Jambudvipa Classic Art)

     มีพื้นที่โดยรอบเหมาะแก่การกระทำประทักษิณาอย่างยิ่ง
     พระพุทธสถานข้างเคียง ในบริเวณที่น่าจดจำมีหลายแห่ง เช่น "เจาคันธีสถูป" คือ สถานที่พระพุทธองค์ได้พบปัญจวัคคีย์ ครั้งแรกหลังการตรัสรู้

     สังเวชนียสถานในประเทศไทย เป็นรูปพระธรรมจักร สลักหินสีเทาขาวขนาดใหญ่ วางอยู่บนพระแท่น เหนือเนินหญ้าเขียวสด เด่นสง่างดงาม ที่ฐานพระแท่นสลักพระธรรมคำสอนไว้


1.พระธรรมจักร   2.ลวดลายงามประดับดุมล้อเกวียน
3.วิหารแห่งปรินิพพาน   4.ภูมิทัศน์โดยรอบ งดงามสงบเย็น

"สถานที่ดับขันธปรินิพพาน" สังเวชนียสถานนี้อยู่ที่ตำบลสาลวัน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันคือแขวงกาเซีย)

สังเวชนียสถานนี้ ทำเป็นรูปธรรม คือทำเป็นพระพุทธรูปปาง "อนุฏฐิตสีหไสยาสน์" คือ "ปางเสด็จบรรทมครั้งสุดท้าย" ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สร้างขึ้นใหม่

โดยเบื้องหน้าวิหารมีต้นรังใหญ่ต้นหนึ่ง ตั้งตรงและดูแข็งแรง พระพุทธรูปปางบรรทมดังกล่าว เป็นฝีมือประติมากรสกุลช่างมถรา (คล้ายเป็นช่างพื้นบ้าน ไม่ใช่ช่างหลวง ที่มุ่งเน้นความเป็นจริงเกินไป จนละเลยความสง่างาม) โดยรอบพระแท่นบรรทมมีที่ว่างไม่มากนัก แต่ก็มากพอที่จะทักษิณาวรรตได้ บริเวณนี้เรียกว่า "สาลวโนทยาน"

ไม่ไกลจากสังเวชนียสถานนี้ เป็น "มกุฏพันธนเจดีย์" คือ "สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ" เป็น กองอิฐขนาดใหญ่ สูงมาก นัยว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช เคยถูกทำลาย แต่ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่


 :25: :25: :25: :25:

ส่วนสังเวชนียสถาน ในประเทศไทย พุทธศิลปินสร้างสลักด้วยหิน เป็นพระแท่นบรรทมงดงาม จารึกปัจฉิมโอวาท ซึ่งมีความหมายว่า
     "....ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนท่าน อันสังขารทั้งหลายมีแต่เสื่อมไปเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศลให้เต็มที่ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    ความเป็นไปและที่มาแห่งสังเวชนียสถาน ก็เป็นดังที่เล่ามานั้น ผู้ประสงค์จะแสดงธรรมสังเวช ระลึกถึงพระศาสดา สามารถไปยังสถานที่ทั้งสี่แห่ง ณ พุทธมณฑลสถาน ถนนพุทธมณฑลสายสี่ จังหวัดนครปฐม ไม่จำเป็นต้องไปไกลถึงประเทศอินเดียก็ย่อมได้


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1439697000
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ