ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สช. ห่วงชาวโซเชียล ติดภาวะ "โฟโม" ชี้แชร์ไม่คิด มีสิทธิ์ละเมิดคนอื่น  (อ่าน 802 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สช. ห่วงชาวโซเชียล ติดภาวะ "โฟโม" ชี้แชร์ไม่คิด มีสิทธิ์ละเมิดคนอื่น

(29 ก.ย.58) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวในเวที สช.เจาะประเด็นครั้งที่ 5/2558 เรื่อง "ระวัง! แชต แชร์ ทวิต ละเมิดสิทธิสุขภาพ" ว่า การใช้สื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียของคนไทยในขณะนี้ เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "โฟโม (FOMO)" ซึ่งย่อมาจาก  Fear Of Missing Out คือ การกลัวการตกกระแส ตกเทรนด์ ตกข่าวต่างๆ หากไม่ทราบเรื่องนี้ก็จะถูกมองว่าเชย ล้าสมัย ทำให้เกิดการรับและส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็วจนมีการกรองข้อมูลน้อยลง อาจทำให้เกิดการละเมิดบุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งโดยที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะข้อมูลสุขภาพ

ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่า มีการส่งต่อหรือแชร์ออกไปทางโซเชียลมีเดียจำนวนมาก อาจเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยตามมาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่ระบุว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยและทำความเสียหายให้บุคคลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นโดยตรง ซึ่งผู้ละเมิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 
 :49: :49: :49: :49:

นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พฤติกรรมเสี่ยงในการละเมิดสิทธิข้อมูลด้านสุขภาพนั้น ส่วนสำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์ เพราะเป็นผู้ดูแลข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย ถือว่าเป็นเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณอยู่แล้ว แต่บางครั้งจะเห็นว่ามีบางกรณีเกิดขึ้นที่กลายเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย เช่น การถ่ายภาพเซลฟี่ของแพทย์ในห้องผ่าตัดโดยเห็นหน้าผู้ป่วย เป็นต้น

สำหรับประชาชนมักพบกรณีการแชร์ภาพและข้อมูล เช่น การขอรับบริจาคเลือดโดยมีการระบุชื่อผู้ป่วยชัดเจน ซึ่งไม่ทราบได้เลยว่ามีการขออนุญาตผู้ป่วยแล้วหรือไม่ การส่งต่อเพราะความสงสารอยากช่วยเหลือก็อาจเป็นร่วมกระทำความผิดละเมิดสิทธิผู้ป่วยเช่นกัน และยังนำไปสู่การสืบต่อว่าผู้ป่วยคนนี้ป่วยเป็นโรคอะไรจึงจำเป็นต้องขอรับบริจาคเลือดด้วย นอกจากนี้ ยังต้องระวังเรื่องการเซลฟี่ในโรงพยาบาล เพราะอาจไปติดผู้ป่วยคนอื่นได้ การถ่ายรูปเพื่อนขณะทำการรักษา เช่น กรณีดาราสาวแตงโม รวมไปถึงการถ่ายรูปเหยื่อภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุ เช่น กรณีระเบิดที่แยกราชประสงค์

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

 
นพ.นวนรรน กล่าวด้วยว่า การเซลฟี่ของแพทย์ในโรงพยาบาลไม่ว่าจะมีหรือไม่มีคนไข้ ยังไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจน ซึ่งถามว่าแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์มีสิทธิถ่ายหรือไม่ก็ถือว่ามี แต่ต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ความเหมาะสม และบริบทในขณะนั้นด้วย ซึ่งต้องดูเป็นกรณีๆ ไปว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างบางคนถ่ายเซลฟีเพื่อโปรโมตให้เห็นว่าทำงาน บางคนบ่นคนไข้ หรือการถ่ายรูปกับคนไข้เด็กเพราะเห็นว่าน่ารัก แม้พ่อแม่เด็กจะไม่ได้ว่าอะไร แต่เมื่อนำไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์ แม้ไม่ได้บอกว่าเด็กป่วย แต่หากเกิดประเด็นดรามาขึ้นมาก็ต้องรับผิดชอบ
 
นอกจากนี้ นพ.นวนรรน กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้รับมอบหมายจาก สช.ในการทำไกด์ไลน์การใช้โซเชียลของบุคลากรทางการแพทย์ขึ้นมา เพื่อเป็นมาตรฐานและบรรทัดฐานว่ากรณีใดทำได้หรือไม่ควรทำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่าง โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากต่างประเทศว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง แล้วปรับให้เหมาะสมกับบริบทและปัญหาของสังคมไทย คาดว่าประมาณ 2-3 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะมีการเปิดประชาพิจารณ์จากทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากผ่านการประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้ว สช.ก็จะเสนอไกด์ไลน์ตัวนี้ต่อสภาวิชาชีพต่างๆ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล เป็นต้น เพื่อนำไปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละวิชาชีพต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443528193
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ