ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขบวนบุญสู่ศรัทธา มุ่งหน้าวัดห้วยปลากั้ง  (อ่าน 971 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ขบวนบุญสู่ศรัทธา มุ่งหน้าวัดห้วยปลากั้ง

วัดห้วยปลากั้ง จังหวัดเชียงราย ก่อนหน้านี้ เคยเป็นวัดร้างตั้งอยู่บนเนินป่าเขาไร้ผู้คนเหลียวแล แต่วันนี้พลิกฟื้นพัฒนาจากหน้ามือเป็นหลังมือ กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและที่บำเพ็ญธรรมของนักแสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศโดยเฉพาะหมายมั่นตั้งใจดั้นด้นมาให้ถึง เพื่อมาชมความงามของพบโชคธรรมเจดีย์ 9 ชั้น กราบไหว้ขอพรพระแม่กวนอิมไม้จันทน์หอมแกะสลักที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ทั้งหมดเหล่านี้มาด้วยวิริยะอุตสาหะของ พระอาจารย์พบโชค ติสสวังโส ในการบำรุงพระพุทธศาสนาให้คนละกิเลสสร้างบุญบารมีให้แก่ตนเอง ที่ได้ดำเนินการสร้างพระแม่กวนอิมก่อปูนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างขณะนี้ ทั้งยังบำเพ็ญเมตตาด้วยการรับอุปการะเด็กกำพร้า...คนชรากว่า 700 ชีวิต มาเลี้ยงดูส่งเสริมให้เรียนหนังสือมีการศึกษาสร้างอนาคต

พระอาจารย์พบโชค ติสสวังโส เดิมชื่อ พบโชค มาไพศาลกิจ เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเซ่ติดกับนางลิ้มฟ้า มาไพศาลกิจ พ่อค้าชาวจีนที่บ้านตลาดสำรอง ต.พังตรุ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2502 ปัจจุบันอายุ 56 ปี มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่วัยหนุ่ม เห็นความวุ่นวายทางโลกเกิดความเบื่อหน่าย จึงตัดสินใจบวชศึกษาพระธรรมวินัยใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2540 เมื่ออายุได้ 38 ปี ที่วัดบางกระวนาราม จ.ราชบุรี มีพระครูบรรพตพัฒนคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์


 :25: :25: :25: :25:

ต่อมาได้จาริกแสวงบุญมาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดร่องธาร ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย ทราบว่ามีวัดร้างบนดอยกลางป่าแห่งหนึ่ง ที่บ้านห้วย–ปลากั้ง ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย จึงเกิดศรัทธาจะเข้าไปบูรณปฏิสังขรณ์ ให้เป็นวัดที่มีความร่มรื่นต้อนรับศรัทธาผู้แสวงบุญ จึงได้เข้าไปแผ้วถางก่อร่างสร้างศาสนสถาน ตั้งแต่ปี 2548 จากศาลาปฏิบัติธรรมและกุฏิที่ทำจากไม้มุงหลังคาด้วยใบหญ้าคา เวลาผ่านไป 10 ปีจนถึงปัจจุบัน ด้วยวิริยะพากเพียร ด้วยศรัทธาแกร่งกล้าของพระอาจารย์พบโชค...“ด้วยใจมุ่งมั่นจะรับใช้พระพุทธศาสนา เราจะทำให้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่นี่ให้จงได้”

จากสำนักสงฆ์ห้วยปลากั้งมาเป็นวัดห้วยปลากั้ง ที่มีสิ่งปลูกสร้างทางธรรมที่งดงาม ร่มรื่น และยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมแก่ผู้แสวงบุญ และยังประโยชน์สาธารณะให้แก่ชุมชน ทำให้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายปัจจัยในการสร้างเสริมแต่งเติมสิ่งต่างๆมาโดยตลอด ด้วยความมีเมตตาสูงของพระอาจารย์พบโชคได้กลายเป็นเนื้อนาบุญของผู้ทุกข์ยากมาขอพึ่งบุญบารมีพระอาจารย์อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเด็กกำพร้าที่ขาดคนดูแลเลี้ยงดู

พระอาจารย์พบโชคเล่าว่า “ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ปีแรก ก็มีชาวบ้านนำเด็กกำพร้าพ่อแม่มาให้อาตมาเลี้ยงดู 2 คน อาตมาก็เลี้ยงมา แล้วก็มีคนเอาเด็กกำพร้าพ่อบ้าง กำพร้าแม่บ้าง หรือกำพร้าทั้งพ่อและแม่ มาฝากให้เลี้ยงดูมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันมีเด็กกำพร้าที่อาตมาต้องอุปการะเลี้ยงดูรวมทั้งคนชรามากมายถึง 700 กว่าคน”

 st12 st12 st12 st12

แรกเริ่มเดิมที...ก็อุปการะเลี้ยงดูกันแบบพ่อเลี้ยงลูก ต่อมาเด็กเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่เพียงแค่เด็กกำพร้า ยังมีเด็กที่ฐานะพ่อแม่ยากจนมาฝากให้ทางวัดเลี้ยงดู จำนวนรวมทั้งสิ้น 543 คน ยังมีคนชราที่ไม่มีลูกหลานดูแลอีกจำนวน 72 คน นอกจากนี้ยังมีเด็กยากจนที่อาตมาไปพบในที่ต่างๆที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน อยู่กับญาติกับปู่ย่าตายาย ก็รับเลี้ยงดูส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือต่ออีกไม่ต่ำกว่า 30 คน

ซึ่งอาตมาถือว่า “การให้” เป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่พึงกระทำ วัชรินทร์ แก้วกันทา ผู้อำนวยการกิจการเด็กกำพร้า วัดห้วยปลากั้ง บอกว่า ทางวัดได้รับการอนุเคราะห์จากธนาคารอาคารสงเคราะห์สร้างอาคารหอพัก 3 ชั้น จำนวน 28 ห้อง พบโชคคอนโดธรรม ให้กับเด็กหญิงตั้งแต่เด็กชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมและอาชีวะ จำนวนรวมกว่า 200 คน โดยแต่ละห้องมีเด็กพักอยู่ห้องละ 6-8 คน มีเตียง 2 ชั้น ห้องละ 2-3 ตัว เด็กเล็กสามารถนอนได้เตียงละ 2 คน

“เด็กเล็กให้อยู่ชั้นล่าง เด็กโตอยู่ชั้นบน มีสนามสำหรับให้เด็กวิ่งเล่นออกกำลังกาย มีโรงซักรีดสำหรับซักเสื้อผ้าเด็ก มีห้องคอมพิวเตอร์ให้เด็กลงมาใช้งานหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต”


 st11 st11 st11 st11

วัชรินทร์ บอกว่า สำหรับเด็กชายสร้างเป็นบ้านพัก จำนวน 27 หลัง แยกไปอยู่อีกส่วนหนึ่ง บางหลังอยู่ได้ 4-5 คน หลังใหญ่อยู่รวมกันได้ถึง 16 คน แยกพักอาศัยเป็นเด็กเล็กและเด็กโต รวมทั้งหมด 350 คน มีลักษณะเช่นเดียวกันกับหอพักเด็กหญิงคือ มีเตียงนอน 2 ชั้นให้เด็กนอน

“เด็กกำพร้าที่อยู่ในความอุปการะส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวชนเผ่ากว่าร้อยละ 50 เป็นชาวอาข่าและลาหู่มากสุดประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กชนเผ่า นอกนั้นเป็นเผ่าเย้า กะเหรี่ยง ม้ง และจีนฮ่อ คนเมืองพื้นราบก็มีอยู่จำนวนหนึ่งไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้าร้อยละ 90 ที่เหลือเป็นเด็กยากจนที่พ่อแม่และญาติมาฝากให้ทางวัดดูแล”

 :96: :96: :96: :96:

ทศพร ไชยประเสริฐ เลขานุการ พระอาจารย์พบโชค ติสสวังโส เสริมว่า พระอาจารย์จะมาส่งเด็กๆไปโรงเรียนตอนเช้า และมารอรับเด็กกลับจากโรงเรียนในตอนเย็น เด็กจะตื่นนอนตั้งแต่เวลาตี 5 อาบน้ำแต่งตัวแล้วเดินกันมาเป็นแถว มารับอาหารเช้าที่โรงทานพบโชคภัตตาคาร

“เด็กจะรับอาหารจากพี่เลี้ยงไปนั่งทานกันภายในโรงทาน เมื่อทานอาหารเสร็จ ทุกคนต้องรับผิดชอบล้างจานช้อนของตัวเองแล้วนำไปคว่ำให้เป็นระเบียบ โดยจะมีพี่เลี้ยงคอยดูแลตั้งแต่การเทเศษอาหาร ล้างน้ำแรก ล้างน้ำยาล้างจาน และล้างน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง ก่อนจะนำไปคว่ำ”

หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ในแต่ละชุด ชุดหนึ่งประมาณ 50-80 คน เด็กจะมายืนเข้าแถวต่อหน้าพระอาจารย์ สวดมนต์บทธรณีสูตรบูชาพระแม่กวนอิม แล้วเดินต่อแถวกันมารับเงินค่าขนมจากพระอาจารย์ เด็กอนุบาลถึงเด็กประถม คนละ 10 บาท เด็กมัธยมต้น คนละ 20 บาท เด็กมัธยมปลาย คนละ 40 บาท เด็ก ปวช. คนละ 60 บาท และเด็กระดับมหาวิทยาลัย คนละ 100 บาท แล้วขึ้นรถรับส่งไปโรงเรียน


 :49: :49: :49: :49:

ซึ่งโรงเรียนที่เด็กไปเรียนหนังสือมีอยู่ 4 โรงเรียน 1 วิทยาลัย กับ 1 มหาวิทยาลัย ทางวัดมีทั้งรถตู้และรถสองแถวไว้คอยรับส่งนักเรียนอยู่ 8 คัน ซึ่งเด็กระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ที่มีอยู่ 3-4 คน จะขับขี่รถจักรยานยนต์ของวัดไปเรียนหนังสือเอง

สำหรับในตอนเย็น ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็นเป็นต้นไป เด็กๆจะทยอยกันกลับมาวัด มานั่งเรียงแถวต่อหน้าพระอาจารย์ สวดบทธรณีสูตรบูชาพระแม่กวนอิม และท่องบท กรรไกร ไข่ ผ้าไหม ประกอบการใช้นิ้วและมือ เพื่อเป็นการฝึกสมาธิ ก่อนจะไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงทาน แล้วแยกย้ายกันเข้าหอพักเพื่อพักผ่อน

“เราจะทำกิจกรรมเช่นนี้ทุกวัน...ที่ไปโรงเรียน”

 ans1 ans1 ans1 ans1

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน พระอาจารย์พบโชคได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่า...“ในปีนี้สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญลดลงมาอย่างน่าตกใจ ซึ่งหายไปกว่าร้อยละ 80-90 จากที่เคยมีคนเข้ามาเที่ยวทำบุญวันละหลายร้อยคนถึงพันคน เหลือเพียงวันละร้อยกว่าคน ทำให้ปัจจัยในการดูแลเด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส และคนชรา พลอยถูกผลกระทบไปด้วยอย่างมาก เป็นภาระที่อาตมากังวล แต่ก็ยังพอดูแลเด็กได้อยู่ ยังมีผู้ใจบุญมาบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสด ขนม อยู่เป็นประจำ”

“อาตมาใคร่บอกบุญถึงผู้แสวงบุญทั้งหลาย ได้ช่วยบริจาคทุนทรัพย์ ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องนุ่งห่ม ชุดนักเรียน รองเท้า ถุงเท้า และขนม ให้แก่เด็กกำพร้าผู้ยากไร้เหล่านี้ เพื่อเป็นบารมีบุญอันยิ่งใหญ่ให้บังเกิดแก่ท่านผู้มีจิตอันเป็นกุศล อานิสงส์แห่งการให้ จะส่งผลให้ท่านผู้ทำทาน ไม่ยาก ไม่จน ไม่ต่ำกว่าคน และไม่จนกว่าใคร”.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/528155
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ