ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การให้ทาน ละความตระหนี่ได้ จริงหรือ.?  (อ่าน 3092 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ความตระหนี่เป็นเหตุของการไม่ให้ทาน

[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๘๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
       เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้
       บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้

[๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
        คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทาน
        คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใด ความหิวและความกระหายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
       ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิด
       เพราะบุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า


[๘๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
        ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกลก็แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน
        ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้
        ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน


[๙๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
       ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก
       พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของสัตบุรุษ อันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
       เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษและของพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน
       พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์





มีน้อยให้น้อย แต่มีอานิสงส์มาก

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ

[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย(โดยอ้อม) ก็แต่พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง
       บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
       เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น


 ask1 ask1 ask1 ask1

[๙๒] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
        การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติธรรม เพราะเหตุอะไร เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น ฯ

[๙๓] ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดานั้นด้วยพระคาถาว่า
       บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม) โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับ ด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ(ประพฤติธรรม)
       เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ
       การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้ ฯ



อ้างอิง :-
มัจฉริสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๕๒๕ - ๕๘๒.  หน้าที่  ๒๔ - ๒๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=525&Z=582&pagebreak=0ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=86
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


บุรุษผู้เลี้ยงดูภรรยา มีน้อยให้ทานแต่น้อย จะมีผลมาก
ยกเอาอรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๒ มาแสดงบางส่วน

      ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ดังนี้.

      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า
     "บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรมประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภรรยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น"


      ans1 ans1 ans1 ans1

     บทว่า ธมฺมํ จเร ได้แก่ ย่อมประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐.
     บทว่า โยปิ สมุญฺชกํ จเร แปลว่า บุคคลแม้ใดย่อมประพฤติสะอาด ได้แก่ประพฤติให้สะอาดด้วยสามารถแห่งการชำระล้างความชั่วทั่วๆ ไปตั้งแต่ต้น และด้วยสามารถแห่งการย่ำยี ดุจการนวดฟางข้าวเป็นต้น.
     บทว่า ทารํ จ โปสํ แก้เป็น ทารํ จ โปเสนฺโต แปลว่า เลี้ยงดูภรรยา.
     บทว่า ททํ อปฺปกสฺมึ แปลว่า เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ ได้แก่บุคคลใดแม้สักว่ามีใบไม้และผักเป็นต้นมีน้อยก็ทำการแบ่งให้ได้นั่นแหละ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมประพฤติธรรม.

     บทว่า สตสหสฺสานํ แปลว่า เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง คือบุรุษที่ท่านแบ่งออกเป็นพวกละพันๆ นับได้เป็นร้อย จึงชื่อว่าบุรุษแสนหนึ่ง.
     บทว่า สหสฺสยาคินํ แปลว่า บูชาภิกษุพันหนึ่ง. มีวิเคราะห์ว่า
     ชื่อว่าการบูชาพันหนึ่ง เพราะอรรถว่าการบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือว่าการบูชาอันเกิดแต่การบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ. การบูชาพันหนึ่งนั้นมีอยู่แก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ามีการบูชาพันหนึ่ง.





     ด้วยบทว่า บุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมเป็นอันแสดงถึงบิณฑบาตสิบโกฏิ (๑-) หรือว่าสิบโกฏิแห่งกหาปณะ ตรัสว่า บุคคลเหล่าใดย่อมให้ของมีประมาณเท่านี้ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น. บุคคลนี้ใดแม้เมื่อประพฤติธรรม ย่อมประพฤติสะอาด เลี้ยงดูภรรยา แม้ของมีน้อยก็ยังให้ได้ การบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อยของบุคคลผู้ประพฤติธรรมนั้น.

     อีกอย่างหนึ่ง ทานอันใดสักว่าของผู้คุ้นเคยกันเพียงคนหนึ่งก็ดี สักว่าเป็นสลากภัตก็ดี อันบุคคลผู้ยากจนให้แล้ว ทานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด (๒-) ย่อมไม่ถึงค่าส่วนร้อยของทานอันผู้ยากจนให้แล้ว.

____________________________
(๑-) คำว่าสิบโกฏินี้ หมายเอาส่วนที่ให้ผลเป็นพันส่วน แล้วคูณด้วยบุรุษแสนหนึ่ง.
(๒-) ทานทั้งหมดนี้ หมายเอาทานที่บุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่งด้วย.


 ans1 ans1 ans1 ans1

      ชื่อว่า กลํ แปลว่า ส่วนหนึ่งนั้นแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วนบ้าง เป็น ๑๐๐ ส่วนบ้าง เป็น ๑,๐๐๐ ส่วนบ้าง ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาส่วนแห่งร้อย ตรัสว่า ทานอันใดอันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว ให้เพราะทานนั้น ท่านจำแนกแล้วร้อยส่วน การให้บิณฑบาตโดยรวมตั้งสิบโกฏิของบุคคลนี้ ก็ไม่ถึงค่าแม้ส่วนหนึ่งแห่งทานอันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว.

      เมื่อพระตถาคตทรงทำอยู่ซึ่งทานอันหาค่ามิได้อย่างนี้แล้ว เทวดาผู้ยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมหาทานอย่างนี้ให้เป็นไปด้วยคาถาบาทหนึ่ง ดุจเอาวัตถุอันประกอบไปด้วยรัตนะตั้งร้อยใส่เข้าไปในนรก ซัดไปซึ่งทานอันมากอย่างนี้ว่า มีประมาณนิดหน่อยอย่างนี้ ดุจประหารอยู่ซึ่งมณฑลแห่งพระจันทร์ จึงกล่าวคาถาว่า
       การบูชาอันไพบูลย์นี้ อันใหญ่โตนี้ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติธรรม เพราะเหตุไรเมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น.





       ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกทานแสดงแก่เทวดานั้น จึงตรัสว่า
      ททนฺติ เหเก วิสเม นิวิฎฺฐา ฆตฺวา วธิตฺวา อถ โสจยิตฺวา สา ทกฺขิณา อสฺสุมุขา สทณฺฑา สเมน ทินฺนสฺส น อคฺฆเม.
       บุคคลเหล่าหนึ่งตั้งอยู่ในกรรม ปราศจากความสงบ โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ.

      พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้อย่างนี้ว่า
      เราไม่อาจเพื่อถือเอามหาทานแล้ว ทำให้ชื่อว่ามีผลน้อย หรือทานอันน้อยทำให้มีชื่อว่ามีผลมาก
      เพราะความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่มหาทานนี้ ชื่อว่ามีผลน้อยอย่างนี้ เพราะความไม่บริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ทานน้อยนี้ ชื่อว่ามีผลมากอย่างนี้ เพราะความบริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ดังนี้ จึงตรัสคำว่า
      โดยนัยอย่างนี้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น ดังนี้.


อรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๒ 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=86
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2015, 10:27:37 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ทาน ละความตระหนี่ได้ จริงหรือ.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2015, 10:24:21 am »
0
 st11 st12 st12 st12
 เห็นภาพพระอาจารย์ แล้ว รู้สึกมีความสุข
 การทัศนะ พระอริยะ มีความสุขอย่างนี้ นี่เอง

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ข่มความตระหนี่ก่อน..แล้วจึงให้ทาน หรือ ให้ทานก่อนเพื่อข่มความตระหนี่..??


อันนสูตรที่ ๓ (ฉบับหลวง)

[๑๓๙] เทวดากราบทูลว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ ฯ

[๑๔๐] พ. ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
         เพราะเหตุนั้นบุคคลพึงนำความตระหนี่ให้ปราศจากไป
         พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินเสียให้ทาน
         เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ


ที่มา : พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
etipitaka.com/compare/thai/thaimc/15/36/?keywords=อันนสูตรที่ ๓





๓. อันนสูตร ว่าด้วยข้าว (ฉบับมหาจุฬาฯ)

{๑๓๙}[๔๓]  เทวดากล่าวว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้

{๑๔๐} พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
         ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
         เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่ ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
         เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า


ที่มา : พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
etipitaka.com/compare/thai/thaimc/15/36/?keywords=อันนสูตรที่ ๓





๓. อันนสูตร ว่าด้วยผลของการให้อาหาร (ฉบับมหามกุฏฯ)

[๑๓๙] เทวดากราบทูลว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้.

[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
        ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้ อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อม พะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
        เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงนำความตระหนี่ออกไปเสีย
        พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินแล้วให้ทาน
        เพราะบุญทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า.


ที่มา : พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิการ สคาถวรรค เล่มที่ ๑
etipitaka.com/compare/thaimc/thaimm/15/58/?keywords=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2015, 11:02:25 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ทาน ละความตระหนี่ได้ จริงหรือ.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2015, 11:09:51 am »
0


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

สุภาษิตสอนหญิง — สุนทรภู่

มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท    อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง  อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ     ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล     จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ

ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ          ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร    หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง
ถ้าเราดีมีจิตคิดอุปถัมถ์        กุศลล้ำเลิศเท่าภูเขาหลวง
จะปรากฎยศยิ่งสิ่งทั้งปวง      กว่าจะล่วงลุถึงซึ่งพิมาน

เทพไทในห้องสิบหกชั้น       จะชวนกันสรรเสริญเจริญสาร
ว่าสตรีนี้เป็นยอดยุพาพาล     ได้เลี้ยงท่านชนกชนนี



 :49: :49: :49: :coffee2: :coffee2: :coffee2: :coffee2:

เหนื่อยครับ ขอพักก่อน เรื่องยังไม่จบ โปรดติดตาม.....
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ