ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศาลปะกำเทวาลัย ตามความเชื่อของชาวกวย  (อ่าน 804 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ศาลปะกำเทวาลัย ตามความเชื่อของชาวกวย

ศาลปะกำ เป็นเทวาลัยตามคติของชาวกวยสุรินทร์นิสมสร้างไว้ในชุมชน ที่บ้าน หรือคุ้มขางทายาทสายบิดา คตินิยมนี้ไม่ใช่ลัทธิฮินดู พราหมณ์ แต่เป็นคติที่มีมาเดิมก่อนที่ลัทธิฮินดู พราหมณ์แพร่เข้ามาสู่อินโดจีน หลักฐานเชิงคติชนวิทยาสืบค้นได้ว่าลัทธิอินดู พราหมณ์เพิ่งจะหันมานิยมสร้างเทวาลัยศาสนาสถานในที่ราบกลางชุมชนเพื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นี่เอง ก่อนนิยมสร้างไว้บนยอดเขาหรือที่สูง ทั้งนี้เพื่อหันมาเอาใจและเข้าสู่กระแสอารยธรรมของชนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนนี้เอง
 
ชาวกวย นับถือเทพประจำชุมชนเช่นเดียวกับชาวอียิปต์และกรีกโบราณ ขณะที่ชาวฮินดูโรมันและขอมนับถือเทพบนสวรรค์ ทั้งชาวอียิปต์และชาวกวยต่างถือว่าเทพที่สถิตอยู่ในชุมชนคือวิญญาณของบรรพบุรุษคอยคุ้มครองให้พรเมื่อมนุษย์ประสบภัยแต่ชาวบ้านโรมัน ฮินดูและขอมถือว่าเทพสถิตบนสวรรค์มีทั้งเทพผู้สร้างผู้รักษาและผู้ทำลายมีทั้งเทพดีและเทพร้ายเทพเหล่านี้จะคอยสอดส่องดูพฤติกรรมแสดงออก

 
 :96: :96: :96: :96:

ชาวกวย นิยมสร้างศาลปะกำให้เป็นที่สถิตของวิญญาณบรรพบุรุษ ภายหลังให้เป็นที่สถิตของผีปะกำอีกด้วย ผีปะกำเป็นคนละชนิดกับวิญญาณบรรพบุรุษเป็นวิญญาณเจ้าป่าเจ้าของผู้คอยอารักขาช้างป่าศาลปะกำจึงต้องสร้างให้เอกเทศจากที่อยู่อาศัยยิ่งอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่เงาบ้านไม่ทับหรือเงาศาลไม่ตกต้องบ้านยิ่งดี ด้วยถือว่าเงาตกทับอาจนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้อยู่อาศัยเพราะเท่ากับอยู่ใต้ร่มเงาเดียวกันกับอมนุษย์
 
ศาลปะกำ เป็นที่เก็บรักษาหนังปะกำและอุปกรณ์ในการคล้องช้าง หนังประกำ คือเชือกบ่วงบาศ และสายโยงที่ใช้คล้องช้างป่า ทำจากหนังกระบือสด 3 ตัวนำมาริ้วเป็นเส้น แล้วฟั่นเป็นสายเกลียวตามคตินิยมดั้งเดิมสองในสามทำจากหนังกระบือตัวผู้ อีกเกลียวทำจากหนังกระบือตัวเมียไม่มีรอยต่อยาวประมาณ 20-40 เมตร ขณะฟั่นครูบาใหญ่จะเสกเป่าคาถากำกับการแทงบ่วงศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ห้ามสตรีแตะต้องหรือกล้ำกรายเด็ดขาด
 
 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ผีปะกำ คือผีที่สิงสถิตอยู่ในหนังปะกำ ชาวกวยเชื่อว่าเชือกปะกำที่เขาใช้ในการคล้องช้างคือที่รวมวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นพระครูปะกำ หมอช้างต้นตระกูลและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ไม่จะเป็นพระครูปะกำหมอช้างต้นตระกูลและญาติพี่น้องที่ล่วงลับ ผีปะกำจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวบ้านตากลาง เชือกปะกำนี้ทำจากหนังกระบือ 3 ตัว นำมาฟั่นเกลียวให้เป็นเชือกยาวประมาณ 40 เมตรปลายข้างหนึ่งทำเป็นบ่วงบาศในยามที่ไม่ได้ออกคล้องช้างจะจัดเก็บเอาไว้บนศาลปะกำโดยศาลนี้จะมีลักษณะเป็นหอสูง มีสี่เสาหันหน้าไปทางทิศเหนือชาวกวยเลี้ยงช้างเชื่อว่าหากจะทำกิจการอันใดต้องทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวขอพรผีปะกำก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อเสี่ยงทายผลที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ

 

โดยชาวกวยจะตรวจดูคางไก่ที่ใช้ประกอบพิธีในการเซ่นไหว้ถ้าหากผลของการเสี่ยงทายออกมาดีเช่นกระดูกอ่อนคางไก่เหยียดตรงหรือเอียงเล็กน้อยที่ประกอบกิจกรรมนั้นได้ด้วยความมั่นใจแต่ถ้าตรงกันข้ามเช่นกระดูกคางไก่กอดอกโค้งม้วนเข้าหาโคน ชาวกวยเรียกว่า “กอดดอก"” ถือว่าไม่ดีจะเลิกและจะยกเลิกกิจกรรมนั้นเสียเช่นตั้งใจว่าจะนำช้างไปแสดงที่ที่ต่างถิ่นแต่ถ้าผลการตรวจคางไก่ออกมาไม่ดีก็ต้องงดการเดินทางในเรื่องของความเชื่อที่เกี่ยวกับผีปะกำนี้

นอกจากเรื่องของการเซ่นไหว้เพื่อขอพรและเสี่ยงทายอนาคตแล้วชาวตากลางเชื่อว่า
หากกระทำผิดใดๆ ต่อข้อห้ามของปะกำ (ผิดปะกำ) จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ร้ายกับคนในครอบครัวหรือไม่ก็ช้าง เช่น ช้างนั้นเจ็บป่วยทำร้ายคน เสียชีวิต หรือเกิดอาละวาดดุร้ายขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุศาลปะกำนี้หากบ้านไหนที่เลี้ยงช้างแต่เสียชีวิต หรือเกิดอาละวาดดุร้ายขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ศาลปะกำนี้หากบ้านไหนที่เลี้ยงช้างแต่ไม่ได้ยกศาลขึ้นใหม่ก็จะอาศัยศาลดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ซึ่งอยู่ตามบ้านญาติพี่น้องเป็นที่ประกอบพิธี

 
 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

พิธีเซ่นผีปะกำ ถือเป็นพิธีที่ชาวกวยเลี้ยงช้างแห่งบ้านตากลางต้องกระทำอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะผีปะกำถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของเขา ดังนั้นก่อนที่ชาวกวยกระทำการใดๆ ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกับช้างจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผีปะกำก่น เช่น จะฝึกช้าง ช้างเจ็บป่วย จะตัดงาช้าง จะนำช้างไปทำงานต่างถิ่น กลับจากคล้องช้างป่าหรือลูกสาวจะแต่งงาน ลูกชายจะบวช ฯลฯ โดยการเซ่นไหว้ แต่ละครั้งจะมีรายละเอียดของเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ กันไป โดยเช้าวันงานเจ้าของบ้านและญาติพี่น้องจะนำของเซ่นไหว้ไปยังศาลปะกำ จุดเทียนแล้วอัญเชิญผีปะกำและวิญญาณบรรพบุรุษมารับเครื่องเซ่นไหว้พร้อมกับขอให้มีโชคลาภในกิจการนั้นๆ

เมื่อจบผู้เซ่นจะนำไก่มาฉีกเอากระดูกคางไก่มาดูเพื่อทำนายอนาคตถึงสิ่งที่กระทำในการเซ่นผีปะกำนี้ มีหลักว่าผู้ทำพิธีและขึ้นหอปะกำได้จะต้องเป็นผู้ชายลูกหลานของต้นตระกูลที่เป็นเจ้าของปะกำนั้นเท่านั้น ส่วนคนอื่นๆ ห้ามขึ้นโดยเฉพาะสตรีห้ามแตะต้องหนังปะกำเด็ดขาด หากสตรีไปถูกหนังปะกำชาวกวยเชื่อว่าจะกลายเป็นคนบ้า ดังนั้นผู้เข้าร่วมพิธีจึงต้องมานั่งล้อมรอบอยู่ที่พื้นรอบศาลปะกำ

 
   คำกอง/สุรินทร์


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.banmuang.co.th/news/region/29587
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ