ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวบ้านหาดสำราญร่วมสืบสานประเพณีชักพระทางน้ำข้ามทะเลกว่า 5 กม.หนึ่งเดียวในโลก  (อ่าน 1092 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ชาวบ้านหาดสำราญร่วมสืบสานประเพณีชักพระทางน้ำข้ามทะเลกว่า 5 กม.หนึ่งเดียวในโลก

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่บริเวณท่าเรือบ้านปากปรน ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานตรัง จัดงานประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเล แห่งเดียวในไทย หนึ่งเดียวในโลก เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้ปรากฏคงอยู่สืบไป สมโภชน์เฉลิมฉลองตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ และส่งเสริมการทำบุญของพุทธศาสนิกชน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตำบลหาดสำราญ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

โดยมีนายวิโรจน์ อินทร์สว่าง นายอำเภอหาดสำราญ นางกรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง นายจรินทร์ ณ พัทลุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าหวี อ.หาดสำราญ จ.ตรัง พร้อมด้วย ส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ประชาชน และนักท่องเที่ยว ร่วมประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเล ล่องไปในทะเลตรัง จากท่าเทียบเรือบ้านปากปรน ตำบลหาดสำราญ อ.หาดสำราญ เดินทางสู่แหลมจุโหย ตำบลเกาะลิบง อ.กันตัง เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร


 :25: :25: :25: :25:

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยวิถีชีวิตชาวบ้านปากปรน มีความผูกพันกับสายน้ำและท้องทะเลอันดามัน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการประมง ดังนั้นในช่วงออกพรรษา จึงเป็นจุดกำเนิดงานประเพณีชักพระทางน้ำของชาวบ้านปากปรนขึ้น โดยทุกวันออกพรรษา ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งเรือพระ 1 ลำ สำหรับใช้ลาก ภายในเรือจะมีพระลากประจำเรือ และนิมนต์พระสงฆ์จากวัดปากปรน ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมานั่งประจำเรือพร้อมทั้งใส่เครื่องดนตรี โพน กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ไว้คอยส่งสัญญาณให้จังหวะในการลาก และก่อนถึงวันลาก 3 วันชาวบ้านจะมีการทำเรือจำลองขึ้นมาอีก 1 ลำ เพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์กลางทะเล

โดยชาวบ้านจะตัดเล็บ ตัดผม ใส่ไว้ในเรือจำลอง และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้ศีลให้พรก่อนวันลาก 1 วัน และวันนี้ แรม 8 ค่ำ ชาวบ้านนำอาหารคาว หวาน ใส่ปิ่นโต ลงเรือไปร่วมขบวน ปีนี้ขบวนเรือลาก มีเรือหางยาวลากนำ จำนวน 14 ลำ และมีเรือร่วมขบวนของชาวบ้านอีกจำนวนหลายลำ โดยเริ่มลากจากสะพานบ้านปากปรน ต.หาดสำราญ ไปยังแหลมจุโหย เกาะลิบง อ.กันตัง แหล่งอาศัยของพะยูน และแหล่งดูนกอพยพนับแสนตัว


 st12 st12 st12 st12

ตลอดเส้นทางการลาก จะมีการบรรเลงดนตรีอย่างครึกครื้นสนุกสนาน มีการซัดต้ม ผลไม้ ระหว่างเรือร่วมขบวนเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว เมื่อขบวนเรือเดินทางถึงกลางทะเล เรียกว่า “จุดทางน้ำ 4 แพรก” ซึ่งจุดนี้เรือทุกลำจะหยุด เพื่อประกอบพิธีลอยพระเคราะห์ ลอยไปกลางทะเล เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา และขอบคุณพระแม่คงคา ที่ให้อาชีพจุนเจือครอบครัว ประเพณีลากพระทางทะเล นับเป็นประเพณีโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย จากนั้นขบวนเรือทั้งหมด ลากเรือพระสู่แหลมจุโหย เกาะลิบง และเมื่อถึงเกาะลิบง มีกิจกรรมเลี้ยงเพลพระ และชาวบ้านจะร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน พร้อมกับการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ชักเย่อ วิ่งตะขาบและกิจกรรมริมชายหาด เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนในหมู่บ้าน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงบ่ายมีการลากเรือกลับเข้าสู่ฝั่ง โดยถือปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมานับ 100 ปี จนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีประจำถิ่นที่ยังหลงเหลืออยู่ และเมื่อเรือพระลากมาถึงบริเวณแม่น้ำปากปรนจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ “การชิงเรือพระ” เหมือนการเล่นชักเย่อในน้ำ ซึ่งชาวบ้านจะนำเรือพระมาไว้ตรงจุดกึ่งกลาง และเรือพายแต่ละทีมอยู่ซ้ายขวา การตัดสินเริ่มจากเสียงโพนดังขึ้น เพื่อเริ่มแย่งชิงเรือพระ หากเรือพระโดนลากไปอยู่ฝ่ายใด ถือว่าเป็นผู้ชนะ นอกจากนี้ ช่วงบ่ายถึงเย็นมีกิจกรมแข่งเรือพายของชาวบ้าน ที่บริเวณสะพานท่าเรือปากปรนเพื่อความสนุกสนานอีกด้วย
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านปากปรนและพื้นที่ใกล้เคียงเกือบทั้งหมด มีอาชีพทำการประมงวิถีชีวิตจึงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำลำคลองและการใช้เรือ ในสมัยก่อนการเดินทางโดยทางบกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ประกอบกับช่วงเวลาการทำประมงของชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะทำกันในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงหรือ น้ำใหญ่ คือ ระหว่างขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 5 ค่ำ และแรม 13 ค่ำ ถึงขึ้น 5 ค่ำ รวมทั้งไม่มีวัดอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อบ้านอื่นมีการลากพระกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงมักไม่มีโอกาสได้เข้าร่วม ดังนั้น ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงที่ว่างเว้นจากการประกอบอาชีพ ชาวบ้านจึงร่วมกันนำเอาเรือที่ใช้กันทำประมงมาประกอบตกแต่งเป็นเรือพระแล้วใช้เรือลำอื่นๆ ผูกลากไปในคลองปากปรน และได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมานับหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งเป็นประเพณีประจำถิ่น


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1446718414
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ