ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: น้อมรำลึก 'สมเด็จพระญาณสังวรฯ' พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  (อ่าน 1366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

น้อมรำลึก 'สมเด็จพระญาณสังวรฯ' พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะ ประมุขสงฆ์สูงสุด ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศ...

เป็นเวลากว่า 730 วัน ที่พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของ "สมเด็จพระสังฆราช" ด้วยพระชันษา 100 ปี ทรงเป็น "สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ที่ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่วงการศาสนาไทย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงรวมพระประวัติของ "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" และพระอาการประชวร พร้อมทั้งการเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง สำหรับใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิม ว่า “เจริญ คชวัตร” ถือกำเนิด ณ อ.เมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2456 โยมบิดาชื่อน้อย และโยมมารดาชื่อ กิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนบุตรชาย 3 คนของครอบครัว เมื่อพระชนมายุย่าง 14 ปี ถือบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม ต่อมาทรงย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม 2 พรรษา ก่อนจะย้ายมาศึกษาต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองอาราม ทรงสอบได้ประโยคต่างๆ มาโดยลำดับ จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ.2476 ช่วงออกพรรษาทรงกลับมาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อญัตติเป็นธรรมยุต ณ วัดบวรนิเวศ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ครั้งยังเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระรัตนธัชมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระญาณสังวรได้รับหน้าที่เป็นพระอภิบาลโดยตลอด

เมื่อ พระชนมายุ 59 พรรษา ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร พ.ศ.2532 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระนามเดิมเฉกนี้ และทรงให้ถือเป็นแบบธรรมเนียมตราในกฎมหาเถรสมาคมสืบมา พระองค์ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะประมุขสงฆ์สูงสุด พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม


ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้รายงานว่า พระอาการทรงมีความดันโลหิตต่ำ เนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ทั้งนี้ยังตรวจพบว่าพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และพระอันตคุณ (ลำไส้เล็ก) ขาดพระโลหิตและมีแผลติดเชื้อ จึงถวายการรักษาด้วยการผ่าตัดพระอันตะและพระอันตคุณบางส่วนออก ภายหลังการผ่าตัดปรากฏว่า พระอาการโดยรวมดีขึ้น จากนั้นก็มีแถลงการณ์ของทาง รพ. เกี่ยวกับพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชออกมาให้ประชาชนติดตามเรื่อยๆ

และเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 24 ต.ค. 56 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิต อยู่ในเกณฑ์ต่ำลง คณะแพทย์ยังคงถวายพระโอสถ และตรวจรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชม. ในวันเดียวกัน ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ได้ออกแถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง พระอาการประชวร ฉบับที่ 9 ความว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการทรุดหนักลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 น. เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จากนั้นได้อัญเชิญพระศพไปประดิษฐาน ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร


ริ้วขบวนเคลื่อนพระศพ 'พระสังฆราชฯ'

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่เป็นพระโกศทองน้อยในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน

โดยพระโกศกุดั่นน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 6 ใช้กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เจ้าจอม เจ้านายทรงกรม ผู้สำเร็จราชการ ผู้ได้รับตรานพรัตนราชวราภรณ์ พระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศลำดับที่ 5 ใช้กับ สมเด็จพระสังฆราชฯ ส่วนพระโกศทองน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 4 ใช้กับ สมเด็จเจ้าฟ้า พระวรราชเทวี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า สมเด็จพระนางเจ้า พระวรราชชายา


ซ้อมการเคลื่อนขบวนพระอิสริยยศเชิญพระโกศสมเด็จพระสังฆราชฯ

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระสามัญชนองค์แรกที่ได้รับพระราชทาน "พระโกศทองน้อย" พร้อมรับพระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง


ขอบคุณภาพข่าวจาก
https://www.thairath.co.th/content/548993
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ