ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รายงานพิเศษ : "19 พระสังฆราช" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  (อ่าน 3523 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

รายงานพิเศษ : "19 พระสังฆราช" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติในวันที่ 16 ธันวาคม 2558 โดยมีประมุขสงฆ์ 19 รูป จาก 13 ประเทศ เดินทางเข้าร่วมพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ กล่าวสำหรับตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตามที่มีคำว่า "สังฆราช" ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

"สมเด็จพระสังฆราช" เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ คาดว่าคณะสงฆ์ไทยนำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์ โดยพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ของลังกาที่เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย


 :96: :96: :96: :96:

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น "สกลมหาสังฆปริณายก" มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา และสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า จะได้เป็นพระสังฆราช

ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนีได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี" และมาเป็น "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" ในสมัยกรุงธนบุรี ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 :25: :25: :25: :25:

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีตำแหน่งสังฆปริณายก 2 องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย และพระสังฆราชขวา ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่ง สมเด็จพระอริยวงศ์เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวา เรียกว่า "คณะเหนือ" พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้าย เรียกว่า "คณะใต้" มีพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง 2 พระองค์ แต่โดยปกติสมเด็จพระพนรัตน์ไม่ได้เป็น "สมเด็จ" ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวาเป็นสมเด็จทุกพระองค์ เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็น "มหาสังฆปริณายก" มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิมทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงเป็นสมเด็จทุกพระองค์

สำหรับแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทยเริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีพัฒนาเพิ่มเติมในสมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การปกครองคณะสงฆ์จัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบ ดังนี้ "สกลสังฆปริณายก" ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช, "มหาสังฆนายก" ได้แก่ เจ้าคณะใหญ่, "สังฆนายก" ได้แก่ เจ้าคณะรอง, "มหาสังฆปาโมกข์" ได้แก่ เจ้าคณะมณฑล, สังฆปาโมกข์ ได้แก่ เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ และ "สังฆวาห" ได้แก่ เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู

 st11 st11 st11 st11

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำหน้าพระนามพระบรมราชวงศ์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏมีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้าพระนามว่า "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร 5 ชั้น"

ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่า กรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศพระนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ 4 รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป

 ans1 ans1 ans1 ans1

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีสมเด็จพระสังฆราช19พระองค์ ดังนี้

พระองค์ที่ 1 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (พ.ศ.2325-2337)

พระองค์ที่ 2 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2337-2359)

พระองค์ที่ 3 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2359-2362)

พระองค์ที่ 4 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2363-2365)

พระองค์ที่ 5 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2365-2385)

พระองค์ที่ 6 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะราชวรวิหาร (พ.ศ.2386-2392)

พระองค์ที่ 7 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี

สุวัณณรังสี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2394-2396)

พระองค์ที่ 8 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺคโต) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2434-2435)

พระองค์ที่ 9 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2436-2442)

พระองค์ที่ 10 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2453-2464)

พระองค์ที่ 11 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2465-2480)

พระองค์ที่ 12 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2481-2487)

พระองค์ที่ 13 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2488-2501)

พระองค์ที่ 14 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2503-2505)

พระองค์ที่ 15 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2506-2508)

พระองค์ที่ 16 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร (พ.ศ.2508-2514)

พระองค์ที่ 17 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2515-2517)

พระองค์ที่ 18 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2517-2531)

พระองค์ที่ 19 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2532-2556)

โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชพระองค์ที่ 19 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่อยู่ในตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ยาวนานที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ข้อมูลจากเว็บไซต์ธรรมะไทยและวิกิพีเดีย
ตีพิมพ์ในมติชนรายวันฉบับวันที่16 ธันวาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450237255
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รายงานพิเศษ : "19 พระสังฆราช" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2015, 09:40:21 am »
0
 st11  st12  thk56  like1
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รายงานพิเศษ : "19 พระสังฆราช" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2015, 06:22:04 am »
0

      ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา