ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกจิตด้วยการฟังธรรม  (อ่าน 930 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฝึกจิตด้วยการฟังธรรม
« เมื่อ: มกราคม 02, 2016, 08:30:32 pm »
0

ฝึกจิตด้วยการฟังธรรม

สวัสดีปีใหม่ 2559 ครับ ท่านผู้อ่าน ไทยรัฐ และแฟนคอลัมน์ “ลม เปลี่ยนทิศ” ที่เคารพทุกท่าน ปีลิงปีนี้ไม่ว่าจะเป็น ลิงหนุมาน หรือ ลิงหงอคง ก็คงช่วย พระราม และ พระถังซัมจั๋ง ไม่ได้มากนัก เพราะเศรษฐกิจโลกปีนี้ยังไร้วี่แววสดใส อนาคตประเทศไทย ก็ได้ก้าวสู่โลกใหม่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และคนไทยเกือบ 70 ล้านคน ก็กลายเป็น “ประชากรอาเซียน” ยังไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร

วันเสาร์สบายๆเสาร์แรกของปีนี้ ผมขอชวนท่านผู้อ่านไปคุยเรื่องธรรมะ ต้อนรับปีใหม่กันดีกว่านะครับ เป็นธรรมจากหนังสือ การปฏิบัติอบรมจิต ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพครับ


 :25: :25: :25: :25:

การตั้งใจฟังธรรม เป็นการอบรมจิตอย่างหนึ่ง ในศาสนประวัติ มีพระพุทธสาวกจำนวนไม่น้อยที่สำเร็จมรรคผล เมื่อได้ฟังธรรมคำสั่งสอน ของ พระพุทธเจ้า เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ฟังปฐมเทศนาก็ได้ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม และเมื่อ พระพุทธเจ้า แสดงพระสูตรที่ 2 ที่เรียกว่า อนัตตลักขณสูตร (เรื่องเบญจขันธ์) ก็ทำให้ พระเบญจวัคคีย์ มีจิตพ้นจากอาสวะ (กิเลสในจิต) สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้ง 5 รูป

การตั้งใจฟังธรรม จึงเป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการอบรมจิตอย่างหนึ่ง แม้จะไปไม่ถึงธรรมดังกล่าว แต่การตั้งใจฟังธรรมก็เป็นการปฏิบัติตาม มรรค 8 ที่ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิ และ ปัญญา นั่นเอง

 st12 st12 st12 st12

ศีล ในการตั้งใจฟังธรรม จะต้องมีการสำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมใจ

สำรวมกาย คือ กายต้องอยู่ในอาการที่สงบ ไม่หลุกหลิกกระสับกระส่าย

สำรวมวาจา คือ ต้องตั้งวิตกวิจารไปเป็นธรรม คนเราจะต้องคิดก่อนจึงพูด บางทีรู้สึกคล้ายกับว่า พูดโดยไม่คิด คือ พูดโพล่งออกไป แต่อันที่จริงต้องมีคิดนำ คือ คิดจะพูดแล้วก็พูด แต่ยังไม่ทันคิดว่า ที่จะพูดนั้นเหมาะหรือไม่เหมะอย่างไร เพราะความคิดนี้รวดเร็วมาก เมื่อจะพูดจึงต้องคิดก่อนพูด คิดที่เป็นเหตุให้พูด นี่แหละเรียกว่า “วิตกวิจาร” จะต้องคิดไปในธรรมที่ฟังเรียกว่า พูดในใจกับธรรมที่ฟัง จึงชื่อว่าสำรวมวาจา

สำรวจใจ คือ สำรวมใจให้สงบ ไม่ตั้งเจตนาหรือความจงใจไปว่า จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ จะพูดอย่างนั้นอย่างนี้ จะคิดอ่านอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นการงานต่างๆ ถ้าส่งใจไปคิดการงานต่างๆเสีย ก็ไม่สำรวมใจ ต่อเมื่อทำใจให้สงบจากเจตนาที่คิดการงานต่างๆ จึงจะชื่อว่าสำรวมใจ
การสำรวมกายวาจาใจ นับเป็นศีลที่จะต้องมีในขณะฟังธรรม


 st11 st11 st11 st11

สมาธิ จะต้องมีสมาธิในการฟังธรรม คือ ทำจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวไปสู่ความดี) ทั้งหลาย และตั้งใจไว้ในธรรมที่ฟัง นำธรรมที่ฟังเข้ามาสู่ใจ เปิดใจออกรับธรรมที่ฟัง ให้ธรรมที่ฟังไหลเข้ามาสู่ใจตามลำดับเสียง อักษร ภาษาที่แสดงเมื่อมีสมาธิในการฟังดั่งนี้ ก็เป็นการปฏิบัติในสมาธิ

ปัญญา จะต้องมีความรู้ที่ฉวยได้จากธรรมที่ฟัง ความรู้ที่ฉวยได้จากธรรมที่ฟังนี้ เริ่มตั้งแต่ความรู้เรื่องที่แสดง เมื่อรู้เรื่องที่แสดง ก็รู้เหตุผลที่แสดง เมื่อรู้เหตุผลที่แสดงความรู้ก็เข้าถึงสัจจะ ตามเหตุและผลตามลำดับ เหมือนการส่องดูเงาหน้าตัวเองในกระจก เงาหน้าของตนที่ปรากฏในกระจกนั้น ก็เป็นเงาหน้าในกระจก หน้าของตนเองนั้น ตนเองมองไม่เห็น ปกติตาของตนเองนั้น ได้แต่มองออกไปข้างนอก เห็นแต่ข้างนอก ไม่เห็นย้อนกลับเข้ามา จะต้องมีเครื่องมือ คือ กระจก และมองไปที่กระจก กระจกก็จะส่องหน้าของตนเองให้เงาไปปรากฏที่กระจก

 :96: :96: :96: :96: :96:

เมื่อต้องการแต่งหน้า ถ้าไปแต่งที่เงาในกระจก ก็แต่งไม่ถูกหน้า ต้องแต่งที่หน้าของตนเอง จึงจะแต่งถูกหน้า ฉันใดก็ดี ธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ก็เป็นเหมือนกระจกที่ส่องให้เห็นหน้าตนเอง ฉะนั้น ที่เรียกว่าปฏิบัติธรรมนั้น จักต้องมาแต่งที่ตนเอง

เมื่อปริยัติธรรมส่องให้เห็นว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นสมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นี้เป็นทุกขนิโรธ การดับทุกข์ นี้เป็นมรรค ทางปฏิบัติในการดับทุกข์เป็นการปฏิบัติทางปัญญาทั้งสิ้น

ปีใหม่นี้ ลองฝึกอบรมจิตด้วยการฟังธรรม อย่าง มีศีล สมาธิ และ ปัญญา ดูครับ ผมเชื่อว่าจะช่วยให้ท่านฟันฝ่าอุปสรรคที่หนักหนาสาหัสปีนี้ไปได้อย่างแน่นอน.


คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย โดย ลม เปลี่ยนทิศ
https://www.thairath.co.th/content/556841
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ