ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอน กฎหมายตั้งสังฆราช องค์ที่ 20  (อ่าน 953 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอน กฎหมายตั้งสังฆราช องค์ที่ 20
« เมื่อ: มกราคม 09, 2016, 08:54:59 am »
0

ขั้นตอน กฎหมายตั้งสังฆราช องค์ที่ 20
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ขั้นตอนกฎหมาย และ 7 อันดับสมณศักดิ์อาวุโส
เรื่องโดย ไตรเทพ ไกรงู

นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เครือข่ายปกป้องพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช และเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ เนื่องจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดนั้น ยังมีข้อครหาไม่เหมาะสมหลายประการ

กลายเป็นประเด็นร้อน และเรื่องหนักใจ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ยากจะตัดสิน ต่อให้ “ทำตามขั้นตอนและกฎหมาย” ก็ไม่มีทางและไม่มีวันจะโดนใจ “ฝ่ายหนุนสุดตัวและฝ่ายคัดค้านสุดกำลัง”


 :96: :96: :96: :96: :96:

สำหรับขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 นั้น ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2535 ตามมาตรา 7 ใจความว่า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง วรรคสอง เมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบตามมติของ มส. ให้เสนอสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสชั้นรองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช


 ask1 ask1 ask1 ask1 ask1

โดยธรรมเนียมการสถาปนาพระราชาคณะทั่วไปนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี แต่สำหรับการสถาปนา “สมเด็จพระสังฆราช” นั้น ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ไม่ต้องรอให้ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ดังกรณี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน ป.ธ.4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2531 ซึ่งได้มีการสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2532 ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นการสถาปนาตามฤกษ์ที่โหรหลวงได้คำนวณขึ้นถวาย ดังนั้น การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษ

ส่วนระยะเวลาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่แทนองค์เดิมนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว 6 พระองค์ ตั้งแต่ลำดับที่ 14 ถึง 19 โดยมีระยะเวลาการสถาปนาที่น่าสนใจดังนี้


     st12 st12 st12 st12 st12

    ลำดับที่ 14 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 1 ปี 5 เดือน

     ลำดับที่ 15 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย ป.ธ.9) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 10 เดือน

     ลำดับที่ 16 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี ป.ธ.9) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 6 เดือน

     ลำดับที่ 17 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ ป.ธ.6) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

     ลำดับที่ 18 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสน์ วาสโน ป.ธ.4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

     ลำดับที่ 19 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน ปธ.9) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

 st11 st11 st11 st11 st11

ส่วนระยะเวลาการสถาปนาไม่มีระเบียบปฏิบัติว่า ต้องสถาปนาในวันสำคัญ ส่วนใหญ่จะสถาปนาช่วงกลางปี ระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน แต่การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ ระยะเวลาสถาปนา 10 เดือน (องค์ที่ 15) สถาปนาในวันฉัตรมงคล

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ การสถาปนาพระราชาคณะ(การตั้งชื่อ) พระธรรมคุณาภรณ์ หรือเจ้าคุณพิมพ์ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา และรองเจ้าคณะภาค 7 หรือผู้ริเริ่มสร้างโปรแกรมสมณศักดิ์ที่คณะสงฆ์ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเป็นผู้รวบรวมทำเนียบสมณศักดิ์ฉบับสมบูรณ์ ให้ข้อมูลว่า การสถาปนาองค์ใหม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติจะใช้พระนามสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”



ask1 ask1 ask1 ask1 ask1


พ.ร.บ.คณะสงฆ์หมวดสมเด็จพระสังฆราชมีด้วยกัน 5 มาตรา

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 หมวดสมเด็จพระสังฆราช มีด้วยกัน 5 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 7 กำหนดไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

มาตรา 8 สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม

มาตรา 9 ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชทรงลาออกจากตำแหน่ง หรือพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากตำแหน่ง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของสมเด็จพระสังฆราช หรือตำแหน่งอื่นใดตามพระราชอัธยาศัยก็ได้

มาตรา 10 ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

และมาตรา 11 สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) มรณภาพ (2)พ้นจากความเป็นพระภิกษุ (3)ลาออก (4)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออก

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ขณะนี้ คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช



ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

7 อันดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์

“คม ชัด ลึก” ได้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล 7 อันดับ สมเด็จพระพระราชาคณะอาวุโสโดยสมณศักดิ์ มีดังนี้

      1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (มหานิกาย) แม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม และดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 สมเด็จวัดปากน้ำเกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2468 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีอายุย่าง 89 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538

      2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม (ธรรมยุติกนิกาย) กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะแยกมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เกิดวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2460 ปัจจุบันมีอายุยืนถึง 97 ปี แต่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544

      3.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ธรรมยุติกนิกาย) กรรมการมหาเถรสมาคม และนายกสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2470 ปัจจุบันมีอายุ 87 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2552 พร้อมกันกับสมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหมฺคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร แต่โปรดให้เข้ารับการสถาปนาก่อน ในทางสมณศักดิ์จึงถือว่ามีอาวุโสกว่าสมเด็จพระวันรัต

      4.สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย) และปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย เป็นชาวจังหวัดตราด เกิดวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2479 ปัจจุบันมีอายุ 78 ปี เข้ารับพัดเป็นสมเด็จในวัดพระแก้วต่อจากสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552

      5.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม (มหานิกาย) กรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดสุทัศน์เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2473 ปัจจุบันอายุ 83 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553

     6.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส (ธรรมยุติกนิกาย) เจ้าคณะภาค 1-2-3-12-13 ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และกรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดเทพศิรินทร์เป็นชาวจังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2490 ปัจจุบันมีอายุ 66 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะปีเดียวกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสุทัศน์ แต่พรรษาอ่อนกว่าจึงเข้ารับพัดทีหลัง

     7.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม (มหานิกาย) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484 ปัจจุบันมีอายุ 72 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 ถือว่ามีอาวุโสอ่อนสุดในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้งปวงในปัจจุบัน

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปข้างต้นแล้ว ก็จะพบว่า “สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์” วัดปากน้ำ มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ที่สำคัญก็คือ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง “ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช” อยู่อีกด้วย แม้ว่าสมเด็จวัดปากน้ำจะมีอายุพรรษาสูงถึง 89 ปี แต่ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160108/220139.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ