ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้แสดงธรรม ชื่อว่า "บุพพการี" ผู้ปฏิบัติธรรม ชื่อว่า "กตัญญูกตเวที"  (อ่าน 4389 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29353
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ความกตัญญูเป็นมงคลสูงสุด

ความกตัญญูเป็นอุดมมงคล กตัญญูนั้นคือความเป็นผู้รู้คุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน เมื่อใครเขาทำคุณให้แก่เรา ไม่ว่ามากหรือน้อยก็นึกถึงคุณของเขา คิดจะตอบแทนคุณของเขา การตอบแทนคุณเรียกว่า "กตเวที" กตัญญูจึงมาคู่กับกตเวทีเสมอ 

    พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุคคลที่หาได้ยาก ๒ จำพวก คือ 
    ๑. บุพการี ผู้ที่กระทำคุณแก่เราก่อน มีบิดามารดา ครู อาจารย์ เป็นต้น
    ๒. กตัญญูกตเวที ผู้ที่รู้คุณที่เขาทำแล้วแก่ตนและตอบแทนคุณผู้นั้น มีการตอบแทนคุณมารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น


 :25: :25: :25: :25:

มารดาบิดาท่านให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรามาก่อนใครๆ ส่วนครูอาจารย์ก็ให้วิชาความรู้แก่เรารองมาจากบิดามารดา ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้ทำคุณแก่เราก่อน สมควรที่เราจะตอบแทนคุณท่านในเมื่อมีโอกาส การกระทำเช่นนี้ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเวลามีชีวิตอยู่ เป็นเหตุให้เกิดในสุคติโลกสวรรค์เมื่อตายไปแล้ว

เรื่องราวของผู้ที่มีความกตัญญูนั้นมีมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน อย่างท่านพระอานนท์กตัญญูรู้คุณของพระบรมศาสดา ยอมเอาตนเข้าขวางช้างนาฬาคีรีที่พระเทวทัตปล่อยมา หวังจะให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่ด้วยอำนาจพระเมตตา ช้างไม่อาจทำร้ายพระพุทธเจ้าได้   

แม้ท่านสารีบุตรก็ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที กล่าวคือท่านพระสารีบุตรเคยได้อาหารทัพพีหนึ่งจากราธะพราหมณ์ก็ไม่ลืม เมื่อราธะพราหมณ์ต้องการจะบวชเมื่อแก่ พระสงฆ์ไม่ยอมบวชให้ 
     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ใครรู้จักพราหมณ์ผู้นี้บ้าง
     ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ท่านรู้จัก เพราะเคยถวายอาหารแก่ท่านทัพพีหนึ่ง 
     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้ท่านพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาเป็นภิกษุในพระศาสนา


     st12 st12 st12 st12

     ความกตัญญูรู้คุณท่าน จึงเป็นเหตุให้ได้รับความสุขความเจริญทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ความกตัญญูจึงจัดเป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่ง


ที่มา : สิ่งที่เป็นมงคล(มงคล ๓๘) โดยประณีต ก้องสมุทร
http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html#25
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2016, 10:43:15 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29353
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
   

บุคคลผู้หาได้ยาก ๒ จำพวก

      บุคคลหาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน
    บุพพการีบุคคล ๑
    กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑


    ans1 ans1 ans1 ans1

      อรรถกถาบุคคลผู้หาได้ยาก ๒ จำพวก
             
    บทว่า "ทุลฺลภา" ได้แก่ มิใช่บุคคลที่หาได้โดยง่าย.
    บทว่า "ปุพฺพการี" ได้แก่ ผู้กระทำอุปการะก่อนนั่นเทียว.
    บทว่า "กตเวที" ได้แก่ ประกาศอุปการคุณที่บุคคลอื่นกระทำแล้ว คือกระทำอุปการคุณให้ปรากฏ.

    บัณฑิตพึงแสดงบุคคลทั้ง ๒ พวกนั้น ด้วยอาคาริยบุคคลและอนาคาริยบุคคล คือคฤหัสถ์และบรรพชิต.
    ก็บรรดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย มารดาและบิดาชื่อว่าบุพพการี (ผู้กระทำอุปการะก่อน)
    ส่วนบุตรและธิดาผู้ปฏิบัติมารดาบิดา และกระทำการอภิวาทเป็นต้นแก่บิดามารดา ชื่อว่ากตเวที (ผู้รู้อุปการคุณอันบุพพการีชนกระทำแล้ว)

    สำหรับบรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์และอุปัชฌาย์ชื่อว่าบุพพการี.
    อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกทั้งหลาย (ลูกศิษย์และผู้อยู่ร่วม) ที่ปฏิบัติอาจารย์และอุปัชฌาย์ ชื่อว่ากตเวที
    เพื่อประกาศบุคคลทั้ง ๒ พวกนั้นให้แจ่มแจ้ง บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่องของพระโสณเถระผู้เลี้ยงดูอุปัชฌาย์ เป็นต้น.


     :25: :25: :25: :25:

     อีกนัยหนึ่ง บุคคลใด เมื่อผู้อื่นยังมิได้กระทำอุปการะเลย ไม่เพ่งเล็งถึงอุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตนแล้วกระทำการอุปการะ ผู้นั้นก็ชื่อว่าบุพพการี เปรียบเหมือนบิดามารดาพวกหนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์พวกหนึ่ง บุพพการี บุคคลนั้นชื่อว่าหาได้โดยยาก เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหาครอบงำไว้.

     บุคคลใดรู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตน ประกาศอยู่ซึ่งอุปการะที่เป็นไปตามสมควรแก่อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ผู้นั้นชื่อว่ากตัญญูกตเวที เปรียบเหมือนบุคคลผู้ปฏิบัติชอบในมารดาและบิดา หรือในอาจารย์ และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย. กตัญญูกตเวทีบุคคลนั้น ชื่อว่าหาได้โดยยาก เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาครอบงำไว้.



     อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เมตตารักใคร่ โดยไม่มีเหตุ ชื่อว่าบุพพการี.
     บุคคลเมตตารักใคร่ โดยมีเหตุ ชื่อว่ากตัญญูกตเวที.
     บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดยไม่เพ่งเล็งถึงเหตุเป็นต้นอย่างนี้ว่า "ผู้นี้จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่าบุพพการี.
     บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดยเพ่งเล็งถึงสาเหตุเป็นต้นอย่างนี้ว่า "ผู้นี้จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่ากตัญญูกตเวที.

     ผู้มืดมาสว่างไปข้างหน้า ชื่อว่าบุพพการี. ผู้สว่างมาสว่างไปข้างหน้า ชื่อว่ากตัญญูกตเวที.
     ผู้แสดงธรรม ชื่อว่า บุพพการี. ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
     พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าบุพพการีในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก. พระอริยสาวก ชื่อว่ากตัญญูกตเวที.


      st11 st11 st11 st11

     ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาแห่งทุกนิบาต ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้ว่า (ผู้กระทำอุปการะก่อน ชื่อว่าบุพพการี. ผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้วกระทำตอบในภายหลัง ชื่อว่ากตเวที).

     บรรดาบุคคลทั้ง ๒ พวกนั้น
     บุพพการีชนย่อมกระทำความสำคัญว่า "เราให้หนี้"
     บุคคลผู้กระทำตอบแทนในภายหลัง ย่อมทำความสำคัญว่า "เราใช้หนี้".


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=2940&Z=3224
อรรถกถา ปุคคลบัญญัติปกรณ์ บุคคลบัญญัติ ทุกนิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=58
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2016, 10:42:34 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

   ช่วงนี้พระอาจารย์ ออกบทความค่อนข้าง จะเข้าใจยาก มากขึ้น
 ปัญญาปฏิบัติตามไม่ค่อยทัน

  แต่นับว่าเป็นครูที่หาได้ยาก มาก อย่างยิ่งในยุคนี้

  like1 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา