ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวอุบลฯ รุมประณามเว็บไซต์ลงข่าวมั่ว หินผาแต้มถล่ม กระทบภาพเขียนสี  (อ่าน 985 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ชาวอุบลฯ รุมประณามเว็บไซต์ลงข่าวมั่ว หินผาแต้มถล่ม! กระทบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์

อุบลราชธานี - เช้าวันนี้เว็บไซต์ของจังหวัดอุบลราชธานี รุมประณามเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง 2 สำนักที่เผยแพร่ข่าวผาแต้มถล่มกระทบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ระบุเป็นการเขียนข่าวไม่จริง พร้อมถามหาความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าว ขณะที่ผู้ว่าฯ นำภาพกลุ่มภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ลงแสดงในกลุ่มไลน์และเว็บไซต์ข่าวจังหวัด และยืนยันการถล่มของหินไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภาพเขียนดังกล่าว
       
       จากกรณีมีเว็บไซต์ข่าวของสำนักงานหัวสีบานเย็น เสนอข่าวเกิดหินหน้าผาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เกิดพังถล่มลงมาจนกระทบกับภาพเขียนสีโบราณอายุกว่า 4,000 ปี แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี
       
       ล่าสุด วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จุดที่เกิดเหตุหินถล่มอยู่บริเวณผากระทัง ตั้งอยู่บริเวณบ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม และอยู่ห่างจากกลุ่มภาพเขียนสีโบราณอายุกว่า 4,000 ปี ของผาแต้มที่ตั้งอยู่บ้านหนองผือน้อย ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมปีที่ผ่านมา หรือกว่า 1 เดือนแล้ว


ภาพเขียนประวัติศาสตร์ยังคงอยู่สมบูรณ์

        หลังเกิดเหตุนายนครินทร์ สุทัตโต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้มได้ทำหนังสือขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา จ.ขอนแก่น เข้าตรวจสอบ และเมื่อวันที่ 26 มกราคม นายพิทักษ์ เทียมวงศ์ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ และนายศุภมิตร จันทะคาม นักธรณีวิทยาปฏิบัติการร่วมกับคณะจากสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 จ.ขอนแก่น
       
       ผลเข้าตรวจสภาพชั้นหินที่เกิดเหตุพบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรณีพิบัติประเภทหินถล่ม (Rock Fatt) เป็นหน้าผาหินทรายชั้นหนาที่รองรับน้ำหนักด้วยหินดินดานที่มีสภาพแตกร่อนง่าย และเป็นโพรงถ้ำลึกเข้าไปประมาณ 10 เมตร กว้าง 25 เมตร มีร่องรอยการซึมผ่านของน้ำ



        สำหรับปริมาณของหินที่ถล่มลงมาประมาณ 50×40×10 ลูกบาศก์เมตร ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์และไม่มีทรัพย์สินเสียหายและเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
       
       ส่วนสาเหตุการถล่ม เนื่องจากชั้นหินที่มีความแตกต่างกันของชั้นหินทรายหนาที่อยู่ด้านบนซึ่งมีน้ำหนักถูกรองรับด้วยชั้นหินดินดาน แต่ชั้นหินดินดานมีความแข็งแรงน้อยกว่า และแตกร่อนง่าย พร้อมกับเป็นส่วนที่เว้าเข้าไปในหน้าผา ส่วนชั้นหินทรายได้ยื่นออกมา เมื่อชั้นหินดินดานผุกร่อนทำให้การรับน้ำหนักเสียสมดุลจึงเกิดการพังถล่มของชั้นหินทราย


        คณะนักธรณีวิทยาที่เข้าสำรวจการถล่มของชั้นหินที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังสรุปความเห็นต่อกรณีความมั่นคงของหน้าผาบริเวณผาแต้มที่เป็นที่ตั้งของภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ จะมีโอกาสเกิดขึ้นแบบเดียวกับผากระทังหรือไม่ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบมีรอยแตกของชั้นหินมีความเสี่ยงต่อการถล่มของหินอยู่หลายจุด แต่เป็นรอยแตกไม่ใหญ่มากนัก บางส่วนเป็นรอยแตก รอยแยกตามปกติที่มีในชั้นหินทรายโดยทั่วไป แต่ก็ควรมีการเฝ้าระวังและมีมาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับนักท่องเที่ยว พร้อมให้มีการประเมินความเสี่ยงโดยผู้
เชี่ยว



        ขณะที่นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวผาแต้มถล่ม พร้อมนำรูปภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ทั้ง 4 กลุ่มที่ยังอยู่ในสภาพปกติมาแสดง
       
       โดยระบุว่า ขอยืนยันว่า ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่บริเวณผาแต้มนั้น ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างไร จุดที่มีการถล่มอยู่ห่างจากบริเวณที่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มไปประมาณ 6 กิโลเมตร
       
       แต่อย่างไรก็ตาม จังหวัดอุบลราชธานี และอุทยานแห่งชาติผาแต้ม มิได้นิ่งนอนใจ จึงได้เชิญนักธรณีวิทยาและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบ และหาแนวทางการป้องกันภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มเอาไว้ เนื่องจากคุณลักษณะทางธรณีวิทยาของชั้นหินบริเวณผาแต้มทั้งหมดมีคุณลักษณะแบบเดียวกันคือ ประกอบด้วยหินดินดานและหินทราย


บริเวณหน้าผาที่ถล่มอยู่ไกลออกไปจากผาแต้ม

        จึงเป็นการดีที่จะได้นำเอาเหตุการณ์นี้ วางมาตรการป้องกันภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้มเอาไว้ ส่วนบริเวณหน้าผาที่ถล่มนั้น มีขนาดความเสียหายคือ ความยาว 50 เมตร กว้าง 40 เมตร และลึกประมาณ 6-10 เมตร
       
       จุดที่ถล่มอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านท่าล้ง ส่วนที่ตั้งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองผือน้อยใกล้กับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ทั้ง 4 กลุ่มภาพ ยังอยู่ในสภาพปกติทุกประการ ยังสามารถเดินทางมาชมและท่องเที่ยวได้ตามปกติ



        ขณะที่ตามเว็บไซต์ข่าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี และตามกลุ่มไลน์ในจังหวัด ได้มีการเข้ามาแสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวของเว็บไซต์ข่าวของหนังสือพิมพ์หัวสีบานเย็น โดยประณามการเขียนข่าวไม่สร้างสรรค์ เขียนข่าวไร้จรรยาบรรณ เอาเรื่องไม่จริงมาโยงให้เกิดความเสียหายกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตมีการนำเสนอข่าวไม่จริงของสำนักข่าวนี้ เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นที่รู้จักของคนไปทั่วโลก มีการนำสถานที่เข้าฉากถ่ายทำภาพยนตร์ของฮอลลีวูดชื่อดังหลายเรื่อง เช่น อเลกซานเดอมหาราช ซึ่งนำแสดงโดยดาราดัง “ลีโอนาโด ดิคาปริโอ” เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ไปทั่วโลก
       
        จึงเรียกร้องให้เว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวมีการแสดงความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวที่ไม่จริงนี้ด้วย


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000011122
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ