ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มส.เปิดมหกรรม บ้านวิถีพุทธสู่อาเซียน ครั้งที่ ๒  (อ่าน 846 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




มส.เปิดมหกรรม บ้านวิถีพุทธสู่อาเซียน ครั้งที่ ๒

มส.เปิดมหกรรมบ้านวิถีพุทธสู่อาเซียนครั้งที่๒ สร้างฐานเยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกัน-รู้เท่าทันสื่อ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

ปัจจุบันนี้การสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อทั้งระดับบุคคล สังคม สถานศึกษา ภาครัฐ ยังไม่มีความชัดเจน ประชากรของประเทศก็ดำรงตนอยู่ในกระแสสังคมออนไลน์ที่ร้อนแรงตามยถากรรมและยึดหลักหลัก "อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ" พึ่งตัวเองนั่นแหละดีที่สุด มีแนวทางของการสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อให้กับตัวเองและสมาชิกของครอบครัวตัวเองเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแชร์มั่วๆ

แนวทางทางที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรมคือผลผลิตจากโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งนายเดชา ชาวนาวงศ์  รีไรท์เตอร์หนังสือพิมพิ์คมชัดลึก มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลข่าวสารให้สาธณชนได้ทราบ ขณะเดียวกันได้ส่งลูกสาวเข้าเรียนโรงเรียนวิถีพุทธแต่ระดับอนุบาลจนจบชั้นป.๖ ขณะนี้เรียนอยู่ชั้นม.๔ในโรงเรียนรัฐบาลทั่วไปตั้งชั้นม.๑ ให้ความเห็นว่า  การที่ลูกสาวได้เรียนโรงเรียนวิถีพุทธทำให้มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันสื่อ เพราะว่าโรงเรียนวิถีพุทธมีการเรียนการสอนเริ่มจากจิตใจเป็นสำคัญ  โดยฝึกให้เป็นผู้สามารถวิเคราะห์จิตของตัวเองได้ว่าเป็นอย่างไร รู้ผิดรู้ถูกอย่างไร แล้วถึงวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมรอบข้างและขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ จึงทำให้ไม่รู้สึกเป็นห่วงลูกว่าจะตกเป็นเหยื่อของสื่อ ปัจจุบันนี้ลูกสาวก็มีมือถือที่ซื้อด้วยเงินของเขาเองราคาไม่มากนักพอใช้งานเชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ก็เพียงพอแล้ว



และบทความ"การบริโภคของยุวชนชาวพุทธรุ่นใหม่ของ "ซูมิ  เลานดอน  นักเขียนสาวพุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตในสหรัฐฯ เธอสนใจพุทธธรรมและถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนอย่างต่อเนื่อง และศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธรได้นำมาเผยแพร่ที่ระบุมีพฤติกรรมของเธอที่สอดคล้องกับลูกสาวของนายเดชารีไรท์เตอร์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้เป็นอย่างดี โดยเธอสรุปในตอนท้ายของบทความว่า "หลักสูตรในสถานศึกษาก็ยังมีการเรียนการสอนวิชาพุทธศาสนา ทั้งสอนให้เราเท่าทันสื่อและรู้รับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนองค์การนักศึกษาที่อาสาสมัครเพื่อสังคมก็มีมากมายให้ยุวชนเลือกทำงาน อันเป็นการฝึกฝนขัดเกลาจิตใจตนนั่นเอง"


เช่นเดียวกับน.ส.สุมาลี คงคส อายุ ๑๗ ปี นักศึกษาปวช.ปี ๓ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เรียนที่วิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ชั้นปวช.ปี 1 เริ่มแรกครูจะไม่อนุญาตให้มีมือถือติดตัว หากมีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกก็ต้องขออนุญาตใช้ได้ ตอนแรกก็หงุดหงิดแต่เวลาผ่านไปไม่นานบวกกับได้รับการศึกษาอบรมหลักธรรมที่เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อทำให้ผ่านคลายได้มากขึ้นและรู้สึกว่าไม่บริโภคสื่อก็ไม่เห็นเป็นอะไร ทำให้เราสามารถบริหารจัดการในการบริโภคสื่อและใช้สื่อได้อย่างมีกาลเทศะ แม้ว่าจะมีสิ่งยั่วยวนเข้ามาก็พิจารณาก่อนว่า มีคุณมีโทษอย่างไร  ไม่เหมือนก่อนหน้าที่ที่บริโภคสื่อตามธรรมชาติของวัยรุ่นทั่วไปที่ยึดติดในบริโภคนิยม


ขณะที่นายวิธรัตน์ ปรือปรัก ครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์  วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ให้ความเห็นว่า แม้ว่าทางโรงเรียนจะไม่อนุญาตให้เด็กมีมือถือติดตัว แต่ก็ได้สอนให้นักเรียนรู้จักใช้และรู้เท่าทันสื่อและจากการประเมินเบื้องต้นของนักเรียนทั้งหมดประมาณร้อยละ ๗๐ เป็นผู้ที่รู้เท่าทันสื่อ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษนั้นตั้งอยู่เลขที่ ๕๔/๑ หมู่ ๑๑ ต.คูน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีการเรียนการสอนที่ยึดแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ โดยมีสโลแกรนด์ว่า วิทยาลัยคุณธรรม นำการศึกษา พัฒนสู่ประชาคาอาเซียน" ทั้งนี้อาจารย์ประไพ ประดิษฐสุขถาวร ครูโรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดาพนมยงค์๔๑ ถนนสุขุมวิท๗๑ คลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม.ได้เขียนบทความ "วิถีพุทธ"   ระบุว่า โรงเรียนวิถีพุทธเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามแนวคำสอนของพระพุทธศาสนา จัดร้อยเรียงเนื้อหาหลักสูตรด้วยการเอาชีวิตเป็นตัวตั้งเน้นทางปัญญา โดยเด็กนักเรียนจะเข้าสู่กระบวนดารฝึกและฝนเพื่อให้รู้จักคิดและความรู้สึกของตัวเอง มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถยั้งคิดกำกับดูแลคำพูดและการกระทำของตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม


คำสอนของพระพุทธศาสนาที่นำมาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธนั้นก็คือไตรสิขาอันได้แก่ศีล สมาธิและปัญญา และคำว่าปัญญานี้เป็นระดับของการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งพระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เคยอธิบายให้เข้าใจชัดขึ้นว่า  เริ่มจากการรับข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่เชื่อมไปถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นแท่งๆเป็นก้อนซึ่งมีบริบทของมันแต่ไม่เป็นระบบ เหมือนกับรายการเล่าข่าวอยู่ทุกวันนี้ และข่าวลือก็ถือว่าเป็นข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่ง แล้วเราก็ใส่สีตีไข่กัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริงก็ได้ ความรู้ระดับนี้จึงเป็นความรู้ที่จริงบ้างเท็จบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นเท็จหรือเป็นขยะ   เป็นเพียงความรู้ระดับสุตะคือการรับรู้เท่านั้นยังไม่ชื่อว่าเป็นปัญญา จึงทำให้เกิดการทะเลาะกันได้
           

"ต้องนำความรู้นั้นมาปรุงมาผสมผสานกับความรู้หรือประสบการณ์เดิมของเรา ให้มันจมหายกลายเป็นของเรา ทำให้เกิดความรู้แล้วเอาไปพูดเอาไปเขียนต่อได้หรือคิดตามได้ แต่ความรู้ระดับนี้ก็ยังไม่เป็นปัญญาอยู่ดี เพราะปัญญาต้องไปอีกขั้นหนึ่ง" พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า

พจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "ปัญญา" ไว้ว่า "ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความรู้ลึก ฉลาดที่เกิดแต่การเรียนและคิด" ความรอบรู้ก็คือรู้รอบกับรู้ลึก คือรู้ถึงเบื้องลึกหลังปรากฏการณ์ เขาจึงเรียกการรู้ลึกว่าเป็นความสามารถมองไปถึงข้างใน และความรู้ลึกนี้เป็นคุณสมบัติของนักบริหารหรือคนทั่วไป คือสามารถอ่านคนออก ใช้คนเป็นให้ตรงกับงาน หรือการจะเลือกคนมาเป็นคู่ชีวิตก็ต้องสามารถมองเขาออกรู้ถึงอุปนิสัยใจคอของเขา

           

อธิการบดี มจร กล่าวต่อว่า ในพระพุทธศาสนาก็มีคำเหล่านี้อยู่นั่นก็คือ "รู้รอบ" ก็คือ "รู้ปฏิจจสมุปบาท"  รู้ลึกก็คือ "รู้ไตรลักษณ์"  คนทั่วไปมองว่าเป็นคนละเรื่องแต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน อย่างเช่นการปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์เมื่อเห็นไตรลักษณ์ก็เห็นปฏิจจสมุปบาทคือเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่หรือวงจร ความรู้รอบและรู้ลึกนี้แหละคือ "ปัญญา"  ปัญหาก็คือเรารู้ลึกและไม่กว้าง อย่างเช่นทำวิจัยก็อ่านรู้เรื่องอยู่คนเดียว ต้องนำมาพิมพ์ด้วยภาษาที่มนุษย์ทั่วไปอ่านรู้เรื่องด้วย
             
"เมื่อมองโลกแบบปัญญาคือรู้รอบ รู้ลึกแล้วก็จะทำให้เกิดบูรณาการในตัวของมันเอง เมื่อเรามองโลกแบบปัญญาหรือแบบบูรณาการแล้ว เราก็จะไม่มัวทะเลาะกัน เพราะทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหา และจะแก้ปัญหาก็ต้องช่วยกันแก้ นี้คือความคิดหรือเจตคติแบบปฏิจจสมุปบาทคือคิดแบบวงจรหรือสังสารวัฏ ซึ่งเราไม่ค่อยคิดแบบนี้กัน ส่วนใหญ่จะติดแบบเส้นตรงไปเรื่อยไม่วนมาหาตัวเรา พอเกิดปัญหาก็คิดว่าเราไม่เกี่ยวข้อง ที่คนสีต่างๆทะเลาะกันนั้น คนอยู่เฉยๆเสียงเงียบทั้งหลายก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเพราะเห็นเขาตีกันแล้วไม่ห้าม" พระพรหมบัณฑิต กล่าว



เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น.วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม และอธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดงานมหกรรมเปิดบ้านวิถีพุทธสู่อาเซียนครั้งที่ ๒  ที่ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ทั้งนี้เพราะจากผลงานของโรงเรียนวิถีพุทธวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษดังกล่าว พร้อมให้กำลังใจเด็ก เยาวชน คนหนุ่มสาว ประกวดร้องเพลงศีลธรรม และรับชมการร้องสรภัญญะของชาวบ้านในจังหวัดศรีสะเกษ

จากการประมวลการรู้เท่าทันสื่อวิถีพุทธของโรงเรียนวิธีพุทธดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สังคมไทยทั่วไปไม่ได้ขาดภูมิรู้แต่ขาดภูมิธรรม(ปัญญา)จึงตกอยู่ในสภาพ "คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด(แกมโกง)" โดยภาพรวม


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160201/221634.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ