บทเกริ่นนำ 
"สำนวน ในโยชนา มูลกัจจาย ฉบับไวยากรณ์ ( ที่หลายคนรู้จัก ) จะแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่อันนี้ไม่ใช่ฉบับ มูลกรรมฐาน ฉบับ มูลกรรมฐาน หายาก อันคัมภีร์ มูลกัจจายนะ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน คือฉบับไวยากรณ์ เท่าที่เรียนมา มี มูลกัจจายนะ มีอยู่ ประมาณ 10 ชุด
เท่าที่จำได้ คือ 1.ชุดไวยากรณ์ 2.ชุดมูลกรรมฐาน 3.ชุดพยากรณ์ 4.ชุดประมวลธรรม และ อีก 6 ชุด จำชื่อไม่ได้ นะ เพราะไม่สนใจ สนใจเพียงชุดเดียว คือ ชุดมูลกรรมฐาน ไม่ใช่ ชุดไวยากรณ์
นี่เป็นตัวอย่างสำนวณ ใน มูลกัจจายนะ ฉบับ โยชนา อุณาทิ และ กิพพิธาน
ว่าด้วยเรื่อง สมาธิ และ สมถ
"กิเลเส สเมตีติ สมโถ, สมาธิ. สมุ อุปสเม , ธาตุสญฺญาทิ, กฺวจิสทสฺสานุวตฺตนโต น ธาตุวนฺตสฺส โลโป, อิมินา ถปจฺจโย ทมนํ ทมโถ......
สภาวะใด ยังกิเลส ให้สงบ เหตุนั้น สภาวะนั้น ชื่อว่า สมถ ได้แก่ สมาธิ สม ธาตุ ในตวามสงบ ตั้งขื่อธาตุ เป็นต้น เพราะการตามมา ของ กฺวจิ ศัพท์ ลง ถ ปัจจัย ด้วยสูตรนี้ การฝึก ชื่อว่า ทมถ......"มันก็ยากอยู่เหมือนกัน ที่จะนำมาแสดงให้ท่านทั้งหลาย ได้เข้าใจ โขคของฉันได้ พระอาจารย์ที่ดี สั่งสอนมูลกรรมฐาน กัจจายนะ จึงอยู่กับฉันส่วนหนึ่ง และ มูลกัจจายนะ ฉบับไวายากรณ์ นั้น ฉันก็จดจำไว้ได้ส่วนหนึ่ง แต่จำไว้ได้เฉพาะ ที่เกี่ยวกับกรรมฐาน ถ้าไม่เกี่ยวก็จะไม่จำ เพราะตอนเรียนกันปากเปล่า ไม่มีกระดาษปากกาจด ท่านท่องเราฟัง ท่าานอธิบาย เราจำ และก็แปล ......
ฉันก็มีความสุข ที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้ แต่เสียดาย ปัญญาฉันมีไม่มาก ไม่สามารถจดจำได้อย่างที่ต้องการ ก็เอาเท่าที่พอจำได้ นะ
."
ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
ฉบับโยชนา เป็น ฉบับประพันธ์ โดยพระญาณกิตติ สมัยล้านนา ไม่ใช่ ฉบับแท้ที่เป็น ของ พระกัจจยานะ รจนาไว้ คราครั้งพุทธกาล ทำให้เข้าใจผิด แต่ฉบับ โยชนา ก็อ้างอิง มาจากฉบับคัดลอกเก่า เช่นกัน สำนวณบางครั้ง ก็ผิด บางครั้ง ไปตามการคัดลอก และบันทึก แค่ ฉบับ บาลีมูลกัจจายน์ นี้ ในประเทศไทย มีฉบับที่ชัดเจน 7 ฉบับ มีชื่อเสียง อันดับเจ็ดก็อยู่ทีวัด สังกัจจายน์ เป็นฉบับใบาลาน ขอมบาลี ถูกคัดลอกในสมัย ร4 ไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ แต่ฉบับที่พระนิยมใช้เรียน กันในสมัย ร3 มา จนมาเปลี่ยนชื่อว่า หลักสูตรใหม่ นั้นเดิมที นิยมใช้ฉบับ ทองน้อย เพราะฉบับนี้ถูกคัดลอกเป็นจำนวนมาก เป็นทางการ 3 ชุด คือ ฉบับทองทึบ ฉบับล่องชาด ฉบับวัดสังข์กระจาย
ส่วนฉบับรดน้ำดำโท ( ต้น ) ฉบับเทพชุมนุม นั้น ( ไม่มีการคัดลอก )
ส่วนฉบับทองน้อย นั้น คัดลอกมาจาก ฉบับรดน้ำดำโท ( ต้น ) ดังนั้นสรุปก็คือ โยชนามูลกัจจายน์ นั้น ถูกคัดลอกมาจริงจังในสมัย ร3 เรียบเรียงเป็นใบลาน ฉบับค่อนข้างจะสมบูรณ์ ชื่อว่า ฉบับรดน้ำดำโท และ ฉบับถูกคัดลอกมาอีก ยุค ร3 อีก สองสายคือ ฉบับทองน้อย และฉบับเทพชุมนุม พอมาในสมัย ร4 ฉบับทองน้อยก็ถูกคัดลอก ออกมาเป็นสามสาย คือ ฉบัยทองทึบ ฉบับวัดสังข์กระจาย ฉบับล่องชาด
นี่เป็นคำตอบ ว่า ทำไม ฉันจึงไม่ค่อยอยากจะถ่ายทอด เรื่องมูลกรรมฐาน กัจจายนะ ที่ครูท่านสอนไว้ ซึ่งมันเป็นการจดจำ และท่องไว้ กับท่าน ซึ่งไม่ใช่ฉับ โยชนา คือ ไวยากรณ์ แต่เป็นฉบับ มูลกรรมฐาน ดังนั้นข้อความที่จะถ่ายทอดไว้เผื่อฉันต้องจากท่านตลอดกาล ก็ไม่อยากให้สูญไปกับฉัน ก็จะพยายามถ่ายทอดส่วนสำคัญไว้ เท่านั้น