ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จำนวน "108" มาจากการบำเพ็ญตบะ ของโยคีอินเดีย ในสมัยดึกดำบรรพ์  (อ่าน 2073 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



จำนวน "108"  มาจากการบำเพ็ญตบะ ของโยคีอินเดีย ในสมัยดึกดำบรรพ์

คำว่า 108 ที่คนไทยเอามาใช้ในหลายๆเรื่อง...อาจารย์กาญจนาคพันธุ์ ท่านว่า ได้มาจากการบำเพ็ญตบะ หรือบำเพ็ญภาวนา ของโยคีอินเดียสมัยดึกดำบรรพ์

การสำรวมจิตในสมัยนั้นใช้การนับ และการนับอะไรก็ไม่ง่ายเท่านับนิ้วมือ หลับตานั่งขัดสมาธิ ยกมือขวาขึ้นเพียงหน้าอก วางมือซ้ายหงายอยู่บนหัวเข่าซ้าย...จากนั้นก็เริ่มนับ...

ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาจรดที่ปลายนิ้วกลาง แล้วเลื่อนมาที่นิ้วก้อย เลื่อนไปนิ้วนาง...พอครบจำนวน 9 ครั้งหนึ่ง เอานิ้วหัวแม่มือซ้ายหมายข้อนิ้วซ้ายเป็นการใส่คะแนนเสียหนหนึ่ง

นับเช่นนี้ไปจนหมดข้อนิ้วซ้าย ก็เป็นจำนวน 12 คูณ 9=108 นี่คือการร่ายมนต์คาบหนึ่ง


 :96: :96: :96: :96:

ท่านั่งนับอย่างนี้ ทางมหายานเรียกว่า “มุทรา” ต่อมากลายเป็นท่าสำคัญในลัทธิต่างๆ ในลัทธิฮินดู...ถือกันว่าเป็นท่าของพระกฤษณะสอนคัมภีร์ภควัทคีตาแก่พระอรชุน

ลัทธิพราหมณ์ เวลาทำพิธีในเทวาลัย จะต้องสรงน้ำเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นประธาน ก็ต้องใช้น้ำจาก 108 หม้อ

ต่อมา การนับนิ้วเปลี่ยนเป็นการนับลูกประคำ ใช้ลูกประคำ 108 เม็ดคล้องคอ นับลูกประคำทีละเม็ด จนครบ 108 ก็เป็นมนต์คาบหนึ่ง


 :25: :25: :25: :25:

พุทธศาสนาในอินเดีย จะเอา 108 มาใช้อย่างไรไม่รู้ ไทยเราเอาคาถาเจริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่เราท่องกันคล่องปาก อิติปิโสภควา...นั้นมานับทุกพยางค์รวมกัน ได้ 108 เรียกคาถาพระคุณ 108

เอามาใช้ทางไสยศาสตร์ เรียกคาถาหัวใจ 108 ถือเป็นสุดยอดคาถา สำหรับบริกรรมเสกคาถาลงเลขยันต์ ทำธง ทำผ้าประเจียด ทำตะกรุด ฯลฯ ตัวอย่างหัวใจคาถา คงเคยได้ยินมาบ้าง

นะมะพะทะ จะพะกะสะ...และอื่นๆ เช่น อิสวาสุ หัวใจพระเจ้า กะระสะติด หัวใจจังงัง สุนะโมโล หัวใจขุนแผน ยะตะมะอะ หัวใจหนุมาน ภูตากังเก หัวใจเกราะเพชร ฯลฯ

พระเคราะห์ 108 นับกำลังเทวดาที่เสวยอายุ คือ พระอาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 เสาร์ 10 พฤหัสบดี 19 ราหู 12 ศุกร์ 21 ...รวมเป็น 108


 st12 st12 st12 st12

จีนก็เอาไปใช้ในลัทธิพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่นับว่าสำคัญ ก็คือการย่ำระฆัง จะต้องย่ำเช้าเย็นครั้งละ 108 ที

จำนวน 108 นี้ จีนดึงไปเข้ากับธรรมชาติ 1 ปีมี 12 เดือน ปีจีนแบ่งเป็น 24 ฤดู แบ่งเป็น 72 ระยะ ระยะละ 5 วัน รวมจำนวนเดือน จำนวนฤดูกับจำนวนระยะเข้าด้วยกัน 12+24+72=108

จีนถือการเคาะระฆัง เป็นการปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานของสัตย์ในขุมนรก เสียงกังวานของระฆังจะทำให้พญายมหมดสติลบคมกงจักรที่บดเลื่อยสัตว์นรก ทั้งดับไฟนรกให้เหือดหาย

คัมภีร์พุทธศาสนาจีนบางเล่ม บอกว่า ผู้ที่ดับชีพลง หากได้ยินเสียงระฆังจะได้ไปเกิดใหม่ เมื่อพระราชินีสมัยต้นราชวงศ์เหม็งสวรรคต วัดจีนทั่วราชอาณาจักร เคาะระฆังช้าๆ 3 หมื่นครั้ง เพื่อให้พระราชินีไปเกิดใหม่


 st11 st11 st11 st11

แต่ในพิธีกงเต๊กของญวน มีความหมายในการเคาะระฆังไปอีกอย่าง...เสียงระฆัง แสดงความนอบน้อมไปถึงพระมาลัยเถรเจ้า ให้ช่วยมาดับทุกข์ของสรรพสัตว์ที่ตกนรก

เสียงระฆังที่ดังจากวัดในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นในพรรษา พระตีระฆังตอนย่ำรุ่ง เป็นสัญญาณบอกชาวบ้านว่าจะออกบิณฑบาต เสียงระฆัง ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ก็เป็นเหมือนสัญญาณบอกชาวบ้าน

พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ กับการสืบทอดพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ยังดำรงคงอยู่


 ans1 ans1 ans1 ans1

กาญจนาคพันธุ์ ทิ้งท้าย...เสียงระฆังนั้น วังเวง โน้มน้อมหัวใจให้อ่อนโยน ใฝ่ไปในทางสงบ เสียงระฆัง...เป็นสัญญาณการนำสันติภาพ...ในเมืองไทย ในไม่ช้ากำลังจะมาถึง

เราคงต้องนั่งฟังพระท่านเคาะระฆัง สร้างความหวังต่อๆ ไป...เพราะสันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง นั้น ถูกอ้างว่าต้องมาก่อนความเป็นประชาธิปไตย

ตอนนี้ หากพระไทยท่านเลิกทะเลาะกัน หันมาเคาะระฆังให้ถึง 108 ที...เหมือนพระจีนพระญวน ไม่แน่ว่าประชาธิปไตยที่คนบางฝ่ายลุ้นและรอคอยนักหนา คงจะได้มาเสียที.


คอลัมน์ ชักธงรบ โดยกิเลน ประลองเชิง
http://www.thairath.co.th/content/602924
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
    เรื่องพุทธคุณ 108 ผมเองเชื่อว่ามาจาก

       พระพุทธเจ้า เป็นเรื่องที่เกี่ยว กับธาตุ ขันธ์ นี่แหละ

       แต่มันไม่มีประโยชน์ ที่จะหามาอธิบาย กับผู้ที่ไม่ได้ ฝึก มาแนวเดียวกัน

   เกี่ยวกับกรรมฐาน 3 ภาค..และ ร้อยเรียงมา จนถึงกายสิบแปด


     ลองไปค้นหาเรื่องเกี่ยว  ความเข้าใจธาตุ ทั้งหลาย ในเว็บนี่แหละครับ

       
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา