ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีศักดิ์สิทธิ์ "ผิดปกติ"  (อ่าน 1031 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประเพณีศักดิ์สิทธิ์ "ผิดปกติ"
« เมื่อ: เมษายน 21, 2016, 10:05:05 am »
0

ประเพณีศักดิ์สิทธิ์ ผิดปกติ

ประเพณี 12 เดือน ล้วนเกี่ยวข้องการทำมาหากินในเศรษฐกิจยังชีพเพื่อความอยู่รอดของคนในชุมชนที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ โดยมีพิธีกรรมในศาสนาผีเพื่อวิงวอนร้องขอและบงการอำนาจเหนือธรรมชาติ (ได้แก่ ผี) บันดาลให้ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ในข้าวปลาอาหารทั้งปวง เริ่มมีพัฒนาการไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว

การละเล่นดั้งเดิมในพิธีกรรมตามประเพณี 12 เดือน มีในชุมชนหมู่บ้านทั่วไป โดยทุกคนในหมู่บ้านเป็นผู้เล่นร่วมกัน (เท่ากับไม่มีคนดู)


 :25: :25: :25: :25:

ผี พราหมณ์ พุทธ

ครั้นมีพัฒนาการเป็นเมือง แล้วเติบโตเป็นรัฐขนาดใหญ่หลังรับศาสนาใหม่จากอินเดีย ก็ต้องจัดให้มีพิธีกรรมตามประเพณีเพื่อแสดงตนเป็นผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์สู่อาณาประชาราษฎร โดยยกศาสนาพราหมณ์กับพุทธมาหุ้มผีไว้ให้ดูศักดิ์สิทธิ์และทันสมัยขึ้น (ดูได้ในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นอยุธยา)

กิจกรรมอย่างนี้ นักวิชาการตะวันตกยกเป็นการแสดงเพื่อศาสนาการเมืองของรัฐจารีต อาจเรียกว่ารัฐละคร หรือรัฐนาฏกรรมก็ได้


 st11 st11 st11 st11

การละเล่น เป็นการแสดง

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ส่งให้สังคมพัฒนาสู่เศรษฐกิจการเมืองและการตลาดมากขึ้น การละเล่นถูกปรับเปลี่ยนเป็นการแสดง จึงจำแนกออกจากกันมีคนเล่นและคนดู เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งไม่เกี่ยวโดยตรงกับการทำมาหากินของชุมชนเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป

ประเพณีพิธีกรรม 12 เดือน (ลาวเรียกฮีต 12) ทำต่อเนื่องมานานหลายพันปีมาแล้ว จึงยากจะทำความเข้าใจได้หมด เพราะหลายอย่างเปลี่ยนแปลง หรือถูกดัดแปลงจนไม่เหลือเค้าเดิม และอีกหลายอย่างแสดงออกเป็นสัญลักษณ์ที่ทุกวันนี้ไม่รู้จักและไม่เข้าใจ แล้วอธิบายไม่ได้ว่าหมายถึงอะไร.? ทำไม.? ฯลฯ


 st12 st12 st12 st12

รัฐราชการเพื่อความศักดิ์สิทธิ์

การศึกษาไทยให้ความสำคัญลักษณะศักดิ์สิทธิ์ของประเพณี 12 เดือนเหนือกว่าการศึกษาทำความเข้าใจความหมาย จึงเน้นจดจำรายละเอียดขั้นตอนประเพณีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมว่า ทำอะไร.? ยังไง.? เมื่อไหร่.? ฯลฯ โดยไม่สงสัยว่า ทำอย่างนั้นทำไม.? เพื่ออะไร.?

เมื่อเน้นความศักดิ์สิทธิ์ของประเพณี จึงถูกครอบงำอย่างง่ายๆ โดยไม่มีที่สงสัยว่าเป็นแบบแผนจากอินเดีย ทั้งๆ อย่างนี้หรืออย่างนั้นไม่มีในอินเดีย หากเป็นประเพณีในท้องถิ่นมาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ (เช่น ลอยกระทง) หรือเอาแต่ชื่อจากอินเดีย ส่วนพิธีกรรมเป็นพื้นเมืองล้วนๆ (เช่น สงกรานต์) ยิ่งเป็นรัฐราชการ ก็ยิ่งเน้นความศักดิ์สิทธิ์ผิดปกติ



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชนรายวัน
วันที่ : 18 เม.ย. 59
http://www.matichon.co.th/news/108780
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2016, 10:10:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ