พ่อเมืองปทุมฯ เปิดงานสืบสานประเพณีจุดลูกหนู สร้างความสามัคคีในชุมชน ผู้ว่าฯ ปทุมธานี เปิดงานสืบสานประเพณีลูกหนู โดยมีชาวบ้านซึ่งเป็นตัวแทนจากวัดต่างๆ เข้าร่วม เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างชุมชน รวมทั้งรักษาประเพณีสืบต่อไปยังลูกหลาน
เมื่อวันนี้ (24 เม.ย.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานอเนกประสงค์ของ อบจ.ปทุมธานี ริมถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีจุด “ลูกหนู” หรือ “จรวดมอญ” ซึ่งจัดโดย อบจ.ปทุมธานี โดยมีนายชาญ พวงเพ็ชร์ นายก อบจ.ปทุมธานี และหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดงานสืบสานประเพณีจุดลูกหนู
นายชาญ เปิดเผยว่า งานประเพณีลูกหนูจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และปีนี้มีกิจกรรมประกอบด้วย ขบวนแห่ลูกหนูรอบเมือง การแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของประเพณีจุดลูกหนูปทุมธานี และชมมหกรรมการแข่งขันลูกหนู โดยชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนจากวัดวาอารามต่างๆ ทั่วจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีชาวบ้านที่ศรัทธาเข้ามาให้การสนับสนุน จนปัจจุบันนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต. ซึ่งมีการจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุน เพื่อให้ประเพณีที่ดีงามเหล่านี้อยู่คู่กับท้องถิ่นตลอดไป โดยปีนี้มีคณะลูกหนูเข้าร่วม 24 คณะ 30 สาย นำลูกหนูมาเข้าร่วมแข่งขัน โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักปีนี้มีคณะลูกหนูเข้าร่วม 24 คณะ 30 สาย นำลูกหนูมาเข้าร่วมแข่งขัน
บรรยากาศการจัดงานสืบสานประเพณีจุดลูกหนูเป็นไปอย่างคึกคัก
สำหรับ “ลูกหนู” ทำมาจากลำไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ยาวประมาณสองปล้อง เจาะกระบอก แล้วอัดดินปืนเข้าไปข้างใน อุดหัว-ท้าย ติดสายชนวนตรงกลาง เมื่อจุดไฟที่สายชนวน จะไปกระทบดินปืนข้างในกระบอก เพื่อขับดันให้กระบอกวิ่งไปข้างหน้าตามลวดสลิง จนถึงจุดมุ่งหมายพุ่งชนปราสาทที่อยู่ห่างไปประมาณ 40 เมตร ถ้าลูกหนูของใครถูกที่สำคัญของปราสาท ไม่ว่าจะเป็นเสาปราสาท ตัวปราสาท หรือแผ่นป้ายต่างๆ ที่เตรียมไว้ ก็จะได้รับเงินรางวัลตามที่กำหนด แต่รางวัลสูงสุดคือการที่ลูกหนูวิ่งชนยอดปราสาท ถือว่าเป็นชัยชนะ ก็จะได้รับรางวัลสูงสุดตามที่มีการจัดไว้ลูกหนูเป็นกระบอกไม้ไผ่อัดดินปืน ใส่ในกระบอกจุดให้วิ่งไปข้างหน้าตามลวดสลิง
ลูกหนูของใครถูกที่สำคัญของปราสาท ไม่ว่าจะเป็นเสาปราสาท ตัวปราสาท หรือแผ่นป้ายต่างๆ ที่เตรียมไว้ ก็จะได้รับเงินรางวัลตามที่กำหนด
ทั้งนี้ ประเพณีจุดลูกหนู ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำสืบต่อมายาวนาน ปกติมักจะทำเฉพาะในงานประชุมเพลิงศพพระภิกษุ หากวัดใดมีพระมรณภาพ ชาวบ้านจะเก็บศพไว้ก่อน รอจนถึงหน้าแล้ง ว่างจากการทำนา จึงมาช่วยจัดงานประชุมเพลิงศพ และเชิญให้วัดต่างๆ ทำลูกหนูมาแข่งขันกัน ดังนั้นทาง อบจ.ปทุมธานี จึงได้ต่อยอดในการจัดแข่งขันลูกหนูเป็นงานประจำปี เพื่อเสริมสร้างความรักใคร่ สมัครสมาน สามัคคี ของคนในชุมชน รวมทั้งเป็นการรักษาประเพณีที่ดีให้สืบต่อไปยังลูกหลานต่อไป.ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/610437