ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมศิลปากรสำรวจเอกสารโบราณ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย พบมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า  (อ่าน 1075 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



กรมศิลปากรสำรวจเอกสารโบราณ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย พบมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า ระบุ จ.ศ.๑๒๐๙ เตรียมจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เดือนกรกฎาคมนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ  ลงพื้นที่สำรวจเอกสารโบราณและโบราณวัตถุ ณ วัดพระแก้ว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พบจารึกฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา หนังสือสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน และวิหารจำลองมีลายรดน้ำปรากฏอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา สมัยรัชกาลที่ 3



นายทีปวัจน์ ศรีวัชรวิชญ์ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้นำคณะเข้านมัสการพระภัคพล ภคฺครปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อขออนุญาตสำรวจเอกสารโบราณและโบราณวัตถุ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน นายทรงพล เกตุโสภา และนางสาวชลลดา สังวร หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตามข้อสั่งการของนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ซึ่งจากการสำรวจพบเอกสารโบราณและโบราณวัตถุ ได้แก่ จารึกฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ 1 องค์ จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา ระบุ จ.ศ.๑๒๐๔ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2385 สมัยรัชกาลที่ 3 คัมภีร์ใบลานประมาณ 300 ผูก ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์เรื่องกรรมวาจาวิธิ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีและขั้นตอนการอุปสมบทหนังสือสมุดไทย 1 เล่ม สภาพชำรุด และวิหารจำลองมีลายรดน้ำปรากฏอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา ระบุ จ.ศ.๑๒๐๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2390 สมัยรัชกาลที่ 3



ทั้งนี้ ได้เตรียมจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้พัฒนาเครือข่ายเอกสารโบราณที่วัดพระแก้ว อำเภอเชียงของ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาเอกสารโบราณ ในเดือนกรกฎาคมนี้ สำหรับเอกสารโบราณนั้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ด้านอักษรและภาษาโบราณที่บ่งชี้อายุสมัยของเอกสารโบราณและวัตถุโบราณที่ได้บันทึกรูปอักษรไว้ ถือเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและบันทึกทางประวัติศาสตร์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน แล้วส่งต่อไปยังลูกหลานในอนาคตให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และมีการนำภูมิปัญญาหรือความรู้ไปสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างมูลค่าให้สังคมอย่างกว้างขวางต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
tbcnews.org/2016/05/18/กรมศิลปากรสำรวจเอกสารโ/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ