ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ณ กุสินารา : ต่อให้มีมากแค่ไหน ก็ใช้ได้แค่หนึ่งเดียว  (อ่าน 2924 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0






ณ กุสินารา

ความย่อแห่งพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ภาค 4 เล่ม 10 ระหว่างเสด็จปรินิพพาน...ตอนหนึ่ง

ครั้นแล้ว เสด็จเลียบฝั่งนอกของแม่น้ำหิรัญญวดี สู่ป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินารา ให้ตั้งเตียงผินพระเศียรไปทางทิศอุดร ทรงบรรทมมีสติสัมปชัญญะ ตรัสปรารภการบูชาด้วยการประพฤติธรรม ว่ายอดเยี่ยม

พระอานนท์กราบทูลว่า อย่าปรินิพพานในกรุงกุสินารานี้ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก เมืองดอย เป็นกิ่งเมือง ขอให้เสด็จไปปรินิพพานในเมืองใหญ่ๆ เช่น จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี โกสัมพี พาราณสี

แต่ตรัสตอบว่า กรุงกุสินารา เคยเป็นราชธานี นามว่า กุสาวดี ซึ่งพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ ทรงปกครอง เคยเจริญรุ่งเรืองยิ่งมาแล้ว


 ans1 ans1 ans1 ans1

ในมหาสุทัสสนสูตร...(สูตรที่ขยายความจากมหาปรินิพพานสูตร) พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาความมั่งคั่งสมบูรณ์ของกรุงกุสาวดี และทรงพรรณนาถึงรัตนะ 7 ประการ ที่เกิดขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ คือ

    1.จักรแก้ว ซึ่งหมุนไปในทิศต่างๆได้ นำชัยชนะมาสู่
    2.ช้างแก้ว เป็นช้างเผือก ชื่ออุโบสถ
    3.ม้าแก้วสีขาวล้วน ชื่อวลาหก
    4.แก้วมณี เป็นแก้วไพฑูรย์
    5.นางแก้ว รูปร่างงดงามมีสัมผัสนิ่มนวล
    6. ขุนคลังแก้ว ช่วยจัดการทรัพย์สินอย่างดีเลิศ
    7.ขุนพลแก้ว บัณฑิตผู้สั่งสอนแนะนำ


     st11 st11 st11 st11

    อนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ ทรงมีความสำเร็จ 4 ประการ
    1.รูปงาม
    2.อายุยืน
    3.มีโรคน้อย
    4.เป็นที่รักของพราหมณ์คหบดีและประชาชน

ผลดีต่างๆเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะผลแห่งกรรมดี คือทาน (การให้) ทมะ (การฝึกจิต) และสัญญมะ (การสำรวมจิต) จึงทรงบำเพ็ญฌานสงบความตรึกทางกาม ความตรึกทางพยาบาท และความตรึกทางเบียดเบียน ได้บรรลุฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4

ทรงแผ่พระมนัสอันประกอบด้วยเมตตา (คิดให้เป็นสุข) กรุณา (คิดให้พ้นทุกข์) มุทิตา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) และอุเบกขา (วางใจเป็นกลาง) ไปทั้งสี่ทิศ ทรงสั่งลดการเข้าเฝ้า เพื่อทรงมีเวลาอบรมทางจิตใจได้มากขึ้น


 :96: :96: :96: :96:

พระราชเทวี พระนามว่าสุภัททา สั่งจัดจตุลังคินีเสนา (ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ และทัพเดินเท้า) ซึ่งขุนพลแก้วก็จัดให้ พระนางเดินทางไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ขอให้ทรงเห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต

แต่กลับตรัสตอบ ขอให้พระราชเทวีทรงขอร้องใหม่ ในทางตรงกันข้าม คือ อย่าเห็นแก่สมบัติ อย่าเห็นแก่ชีวิตเพราะการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์และถูกติเตียน

พระราชเทวีทรงพระกันแสง ฝืนพระหฤทัยเช็ดน้ำพระเนตร ขอร้องใหม่ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำ ต่อมา ไม่ช้า พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็สวรรคต ด้วยอานิสงส์ที่ทรงเจริญพรหมวิหาร พระองค์จึงเข้าถึงพรหมโลก


 st12 st12 st12 st12

พระผู้มีพระภาคตรัสสรุป...พระองค์เองเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะนั้น พรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยสมบัตินานาประการ แม้จะมีนครอยู่ในปกครองมากมาย ก็อยู่ครอบครองได้เพียงนครเดียวคือ นครกุสาวดี
     แม้จะมีรถมากหลาย แต่ก็ขึ้นสู่ได้คราวละคันเดียว คือ รถเวชยันต์
     แม้จะมีสตรีมากหลาย แต่ก็มีสตรีที่ปฏิบัติรับใช้ได้เพียงคราวละคนเดียว
     แม้จะมีถาดอาหารมากหลาย แต่ก็บริโภคได้อย่างมากเพียงจุทะนานเดียว

นี่คือ พระสูตรบทหนึ่งในหลายๆบท ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ในวันนั้น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อ 2500 ปีที่แล้ว เมื่อถึงวาระสำคัญ ทรงเปิดโอกาสให้พระอริยะ 500 รูป ที่แวดล้อมทูลถามข้อสงสัย...แต่ไม่มีพระรูปใดถาม

    ครั้นแล้ว ตรัสว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม...เถิด”
   นี้คือ ปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.


    กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 20 พ.ค. 2559 05:01
ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.thairath.co.th/content/622654
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา