ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับ หนังสือ ปโมกขันติ ( โยชนา กัจจายนะ )  (อ่าน 3825 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สมเด็จสุก ไก่เถื่อน ไปเรียน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ที่วัดโรงช้าง

ทำไม พระสุก ต้องไปอยู่วัดโรงช้าง กับหลวงปู่ สี ก็เพราะว่าต้องการไปเรียน มูลกรรมฐาน เพราะหลวงปู่ ผ่าน โยชนา กัจจายนะ คือ ขั้น ตรี และ โท หลวงปู่ต้องการไปเรียนแนวกรรมฐาน คือการภาวนาตรง ท่านจึงยอมไปอยู่วัดโรงช้าง หลายปี ในระหว่างที่เรียน ก็ไม่เข้าสอบ เพราะท่านเรียนเพื่อภาวนา ตรง จึงไม่เข้าสอบเปรียญเอก อีกเลย เนื่องด้วยเปรียญเอก ในขณะนั้น เมือ่จบต้องเข้าการปกครองสายสงฆ์ หลวงปู่ไม่ปรารถนา ในการปกครองอยู่แล้ว ท่านชอบภาวนามากกว่า ดังนั้นท่านเรียนจบ เปรียญเอก แต่ไม่เข้าสอบ บ้านเมืองคู่อยุธยาตอนปลายขณะนั้นเริ่มระส่ำระสาย ใกล้จะเสียกรุงแล้วด้วย

ตอนนี้ตามวัดทั่วไป ไม่มีคัมภีร์ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ที่เห็นมีแต่ โยชนา กัจจายนะ 687 รูปสิทธิ เท่านั้น

มูลกรรมฐาน กัจจายนะ มี 496 บท 23 ปริจเฉท 42 หมวดธรรม ที่ไหนมีบอกฉันมา ฉันจะตามไป ศึกษาเพิ่มเติมสำหรับเรือ่งคัมภีร์นี้

ปโมกขันติ เดิมที จะพิมพ์แค่ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เท่านั้น แต่ครูท่านสั่งเพิ่มว่า ให้ลงประวัติคัมภีร์ และวิธีแปลคัมภีร์ ซึ่งคือ โยชนา กัจจายนะ ดังนั้นฉันก็เลยต้องพิมพ์เล่ม โยชนา กัจจายนะ และประวัติคัมภีร์ มีทั้งหมด 359 หน้า

มีรูปสิทธิ 687
ทั้งแม่บท และบทย่อย
ประกอบ กิพพิธาน และ อุณาทิ

เล่มนี้พร้อมพิมพ์แล้ว

สำหรับโยชนา กัจจายนะ นั้น เป็นหลักสูตร เปรียญตรี และ เปรียญ โท ในปลายกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึง ปี พ.ศ. 2441 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสังฆราช องค์ที่ 10 ได้เปลี่ยน ระบบการศึกษาบาลี ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนระบบการเรียน หลักสูตรเปรียญใหม่ จึงทำให้การศึกษาจากคัมภีร์ โยชนา กัจจายนะ สิ้นสุดลงเพราะ ได้ถอดหัวข้อศึกษาออกมาเป็นระเบียบใหม่ แต่ก็พูดได้คร่าว ๆ ว่า โยชนา อยู่ในหลักสูตรเปรียญ ตรี โท

ส่วนมูลกรรมฐาน กัจจายนะ เป็นเรือ่งการภาวนา ตรง ๆ จะเป็นหลักสูตร เปรียญเอก ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการศึกษา เป็น ปธ 7 8 9
ประโยค ๗ เล่มที่ ๑ สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฐกถา (ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๗ เล่มที่ ๒ สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฐกถา (ทุติโย ภาโค)
ประโยค ๗ เล่มที่ ๓ สมนฺตปาสาทิกาย นาม วินยฏฐกถา อตฺถโยชนา (ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๗ เล่มที่ ๔ สารตฺถทีปนี นาม วินยฎีกา สมนฺตปาสาทิกา วณฺณนา (ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๗ เล่มที่ ๕ ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑
ประโยค ๗ เล่มที่ ๖ ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๒
ประโยค ๗ เล่มที่ ๗ ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๓
ประโยค ๗ เล่มที่ ๘ ทุติยสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑
ประโยค ๗ เล่มที่ ๙ ทุติยสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๒ วิสุทธิมรรค ( ปธ 8) ประโยค ๘ เล่มที่ ๑ วิสุทธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺล (ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๒ วิสุทธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺล (ทุติโย ภาโค)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๓ วิสุทธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺล (ตติโย ภาโค)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๔ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑
ประโยค ๘ เล่มที่ ๕ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒
ประโยค ๘ เล่มที่ ๖ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑
ประโยค ๘ เล่มที่ ๗ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒
ประโยค ๘ เล่มที่ ๘ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๑
ประโยค ๘ เล่มที่ ๙ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๑๐ ปรมตฺถมญฺชสาย นาม วิสุทธิมคฺคสํวณฺณนาย มหาฎีกาสมฺมตาย (ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๑๑ ปรมตฺถมญฺชสาย นาม วิสุทธิมคฺคสํวณฺณนายมหาฎีกาสมฺมตาย (ทุติโย ภาโค)
ประโยค ๘ เล่มที่ ๑๒ ปรมตฺถมญฺชสาย นาม วิสุทธิมคฺคสํวณฺณนาย มหาฎีกาสมฺมตาย และ อภิธรรมประโยค ๙ เล่มที่ ๑ อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา ปญฺจิกา นาม อตฺถโยชนา(ปฐโม ภาโค)
ประโยค ๙ เล่มที่ ๒ อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา ปญฺจิกา นาม อตฺถโยชนา (ทุติโย ภาโค)
ประโยค ๙ เล่มที่ ๓ อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา ปญฺจิกา นาม อตฺถโยชนา(ตติโย ภาโค)
ประโยค ๙ เล่มที่ ๔ อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธรรมฺมภตฺวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฎีกา
ประโยค ๙ เล่มที่ ๕ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา

ซึ่งฉันได้พิจารณาเทียบเคียงกับมูลกรรมฐาน ก็เห็นว่า มันไปคนละทาง ซึ่ง ปธ 7 8 9 เน้นเรื่องการปกครอง การวินิจฉัย วินัย และ การศึกษาหลักอภิธรรม ซึ่งเป้นคนละเรือ่ง กับ มูลกรรมฐานกัจจายนะ กันเลย

มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เป็นเรือ่งกรรมฐานตรง ๆ ถ้าว่าก็เหมือน วิสุทธิมรรค มากกว่า ส่วนหลัก วินัย มีกัจจายนะ ชื่อว่า วินัยธร ต่างหากไม่เกี่ยวกับหลักสูตรเปรียญเอก และ อภิธรรม กัจจายนะ ก็ไม่เกี่ยวกับหลักสูตร เปรียญเอกเลย

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับ หนังสือ ปโมกขันติ ( โยชนา กัจจายนะ )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2016, 03:11:59 pm »
0
ฉบับนี้คือฉบับโยชนา อยู่ในรูปแบบ PDF พร้อมจัดพิมพ์ ขาดรายละเอียดนิดหน่อยเรืองเรียงหน้า หมายเลขหน้า ตอนที่ออกแบบนั้น ใส่หมายเลขด้านซ้ายคือ พิมพ์หน้าละแผ่น แต่ ถ้าพิมพ์ แผ่นละ สองหน้า มันต้อง สลับ ซ้าย ขวา หรือจัดกลาง คิดว่า หน้าละแผ่นก็ดีเหมือนกัน หนาดีปล่อยขาวไว้ให้ขีดเขียน

ตัวฉันเองก็บัญญัติ ชื่อ คัมภีร์เป็น ปโมกขันติ เพราะคร้านจะไปเถียงเรือ่ง กัจจายนะ กับคนอื่น เพราะสนใจแค่เนื้อหาคัมภีร์ต่างหาก ไม่ได้สนทีี่มาเลยจริง ๆ เพราะว่าเนือ้หาคัมภีร์ เป็นข้อปฎิบัติ ตรงตามพระไตรปิฏก และเป็นข้อปฏิบัติ ที่ได้ผลจริง ฉันจึงเขื่อมั่นในข้อความ ซึ่ง 3 ปีมานี้ ทั้งแปล เทียงเคียงกับพระไตรปิฏก ส่วนที่เป็น อรรถกถา ฉันจะเรียกว่า บทย่อย ส่วนที่เป็น พระสูตรตรง จะเรียกว่า แม่บทใหญ่
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับ หนังสือ ปโมกขันติ ( โยชนา กัจจายนะ )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2016, 06:07:48 pm »
0
 :25: st11 st12 like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับ หนังสือ ปโมกขันติ ( โยชนา กัจจายนะ )
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2016, 06:50:59 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา