ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” อลังการปราสาทรวงข้าว ศิลปะแห่งศรัทธา ที่ "กาฬสินธุ์  (อ่าน 1730 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ปราสาทที่สร้างด้วยรวงข้าว


“บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” อลังการปราสาทรวงข้าว ศิลปะแห่งศรัทธา ที่ "กาฬสินธุ์"

จังหวัดกาฬสินธุ์ ชวนชม "ปราสาทข้าว" ศิลปะแห่งศรัทธาของ ในงาน "ประเพณีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน สืบสานตำนานพระแม่โพสพ ประจำปี 2560 " ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วัดเศวตวันวนาราม หมู่บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์


ข้าวเปลือกที่เทกองรวมกันในลาน
       
กำแพงปราสาทรวงข้าวที่สร้างจากรวงข้าวเป็นมัดๆ

        “ข้าว” ถือว่าเป็นผลผลิตที่สำคัญของประเทศไทย เป็นสิ่งสำคัญที่ชาวนาในประเทศนั้นมีความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่โพสพ ข้าวจึงถือว่าเป็นสิ่งวิเศษของชาวนาโดยเฉพาะชาวอีสาน ที่นอกจากมีอาชีพปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่แล้วยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวอันหลากหลาย จึงมีพิธีกรรมสืบสานมรดกประเพณีในแต่ละท้องถิ่นต่อๆ กันมา ที่กาฬสินธุ์ก็เช่นกัน มีพีธีที่เรียกว่า “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” (คูนลาน) ถือว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวกาฬสินธุ์ ซึ่งทาง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) ได้ร่วมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งในปีนี้ “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” สืบสานตำนานพระแม่โพสพ ประจำปี 2560 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วัดเศวตวันวนาราม หมู่บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ชาวบ้านนำข้าวมามัดรวมกันเพื่อไว้สร้างปราสาทรวงข้าว

        คำว่า “คูณลาน” หมายถึง เพิ่ม หรือทำให้มากขึ้น ส่วนคำว่า “ลาน” คือ สถานที่สำหรับนวดข้าว ซึ่งการนำข้าว ที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า “คูณลาน” ข้าวกับการทำบุญในศาสนานั้นอยู่คู่กันไม่มีวันแยกจากกันได้ ดังนั้นการทำบุญคูณลานจึงเป็นสิ่งที่ชาวนาต้องทำทุกปีหลังเก็บเกี่ยว
       
       สำหรับบุญคูณลานของชาวตำบลเหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์นั้น ได้มีการดัดแปลงบางส่วนคือการทำบุญคูณลานสมัยก่อนนี้ จะมีบางครอบครัวนวดข้าวยังไม่เสร็จ เมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ทำบุญคูณลานของตนเองยังไม่นวด จึงนำมัดข้าวที่ยังไม่แยกเมล็ดข้าวออกมาถวายวัด ทำให้เกิดความคิดว่าควรจะนำมัดข้าวมาทำเป็นศิลปะสักอย่างให้ดูสวยงาม ประมาณ พ.ศ. 2537 นายสมนึก บัวแพ จึงได้นำต้นแบบและแนวคิดในการทำปราสาทด้วยรวงข้าว ชาวบ้านจึงได้ลองทำดูปรากฏว่าเป็นที่ประทับใจ จึงได้ดำเนินการเป็นบุญคูณลานที่มีปราสาทสร้างด้วยรวงข้าวตั้งแต่นั้นมาและมีพัฒนาการเรื่อยๆ จนกระทั่งมีรูปแบบและขนาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


ชาวบ้านนำข้าวมาเทรวมกันเพื่อสร้างคูณลาน

        หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วชาวบ้านจะนำมัดข้าวมารวมกันที่วัด หรือถ้าใครมีปัญหาไม่สามารถนำข้าวมาได้ก็จะแจ้งมาทางวัดก็จะให้ความสะดวก โดยการนำรถไปรับถึงทุ่งนาก็มี หลักจากนั้นชาวบ้านก็จะประชุมกำหนดวันงาน ซึ่งจะจัดในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เพราะโบราณอีสานถือว่าฟ้าเปิดประตูฝน คนโบราณจะสังเกตอากาศในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันทำนายฝนตกประจำปี แต่การกำหนดวันก็จะไม่ตรงเสียทีเดียวเพราะมีเหตุผลหลายอย่างประกอบกัน

       การสร้างปราสาทรวงข้าวของชาวบ้านในตำบลเหนือ นั้น จะมีหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะหมุนเวียนกันมาร่วมสร้างโครงสร้างและเลือกรวงข้าวที่สวยงามจากนั้นนำรวงข้าวมามัดเป็นกำแล้วนำขึ้นประดับตกแต่งเป็นปราสาทรวงข้าวก่อนที่จะถึงวันงานก็จะทำการประดับตกแต่งให้ดูสวยงามอีกครั้ง โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 45 วัน แรงงานทั้งหมดนั้นเกิดจากชาวบ้านไม่มีการคิดค่าแรง ทุกคนทำด้วยความเต็มใจ เกิดจากความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ถือว่าเป็นความภูมิใจของชาวบ้านนั้นเอง


ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า

        ในวันงานตอนเช้านั้น ชาวบ้านก็จะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรกันที่หน้าลานปราสาทรวงข้าวในตอนเช้า ซึ่งจะมีพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาต จากนั้นก็จะร่วมกันสวดมนต์รับพร และร่วมรับประทานอาหารภายในวัด มีบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองของชาวบ้าน
       
       จากนั้นก็จะเป็นพิธีบวงสรวงบูชาพระแม่โพสพ เพื่อที่จะได้ระลึกถึงผู้มีพระคุณพระแม่โพสพ ที่ทำให้ข้าวกล้าในนาเจริญงอกงามได้ผลตามที่ต้องการ รวมทั้งยังต้องฝากข้าวกล้าในนาไว้กับพระแม่โพสพให้ท่านดูแล ให้ข้าวในนาเจริญงอกงามปราศจากภัยทั้งปวง เมื่อบวงสรวงเสร็จแล้วจึงทำพีธีบายศรีสู่ขวัญข้าว โดยมีเครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า “บายศรี” และผู้นำทำพิธีเรียกว่า “หมอขวัญ” ซึ่งเป็นพิธีกรรมในการเรียกขวัญข้าว เรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง เมื่อบายศรีเสร็จแล้วชาวบ้านนำสายสิญจน์มาพันมัดข้าวรอบปราสาทรวงข้าว


บวงสรวงพระแม่โพสพ
       
ร่วมกันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว

        ช่วงบ่ายชาวบ้านก็จะทำขบวนแห่อันเชิญภาพพระแม่โพสพ,แห่ปราสาทรวงข้าวจำลอง และขบวนฟ้อนรำของชาวบ้านและนักเรียนจากสถานศึกษาในเขตตำบลเหนือ ตามแต่จะสามารถจัดได้ผ่านชุมชนต่างๆ มาที่บริเวณจัดงานที่ วัดเศวตวันวนาราม ซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของตำบลเหนือและเป็นที่ตั้งของปราสาทรวงข้าว
       
       นับว่าประเพณี “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” ถือว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีความโดดเด่นแตกต่างจากประเพณีบุญคูณลานทั่วไป โดยเฉพาะปราสาทรวงข้าวที่เกิดจากแรงงานศรัทธา ถือว่าเป็นศิลปะแห่งศรัทธาในพระแม่โพสพที่ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า และยังเป็นสื่อสะท้อนอันชัดเจนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวิถีวัฒนธรรมไทยของชาวบ้านในเทศบาลตำบลเหนือ จ.กาฬสินธุ์ อย่างแท้จริง


ชาวบ้านนำสายสิญจน์ผูกมัดรวงข้าวเพื่อเรียกขวัญ

        ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 0 4384 0812 หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น โทรศัพท์ 0 4322 7714-5


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000011452
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

  ขอบคุณ...เยี่ยมๆ

ทำให้คนได้ความรู้

ทางด้านสืบสานประเพณี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา