ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่อง “ฤกษ์ยาม” ไว้อย่างไรคะ.?  (อ่าน 1002 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่อง “ฤกษ์ยาม” ไว้อย่างไรคะ.?

ฤกษ์ยาม นั้นสำคัญไฉน คนไทยเราไม่ว่าจะบวช หรือจะเบียด ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการถอยรถ ฯลฯ มักนิยม “ดูฤกษ์ดูยาม” ไว้ก่อนเพราะเชื่อว่าจะโชคดีมีสุข เจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมาทั้งๆ ที่บางคนอาจไม่เคยรู้เลยว่าความเชื่อนี้จริงหรือเท็จอย่างไร

 :96: :96: :96:

คำถาม : พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่อง“ฤกษ์ยาม” ไว้อย่างไรคะ.?

ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต ตอบปัญหานี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงฤกษ์ยามไว้ในสุปุพพัณหสูตรไว้ดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจาประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกายประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกายประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น”

ดังนั้นฤกษ์ยามคือช่วงเวลาที่เหมาะสม สะดวกและมีความพร้อมในการประกอบกิจการงานนั้นๆ นั่นเองส่วนการหาฤกษ์ยามในการมุ่งประโยชน์นั้นให้มองไปที่กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม คือ ทำดี พูดดี คิดดี หากมีครบทั้งสามอย่างเมื่อใดก็ถือว่าเป็นฤกษ์อันเป็นมงคล เป็นฤกษ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองหากประวิงเวลาในการทำดีก็จะพลาดฤกษ์ยามอันดี คือประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ไปได้

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในนักขัตตชาดกว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลย คนโง่เขลาผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้” หากใครปรารถนาจะให้ชีวิตของตนมีแต่ความเป็นมงคลก็ต้องปฏิบัติตามมงคลนั้นๆ นั่นเอง


 ask1 ans1

แล้วถ้าเป็นการบวชหรือการสึกล่ะคะ ฤกษ์ยามเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่.?

ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต ตอบปัญหานี้ว่า การทำดีถือว่าเป็นมงคล คือ ทำดีเมื่อไรก็เป็นมงคลเมื่อนั้น เป็นอกาลิโก คือไม่จำกัดกาลเวลาการบวชพระถือเป็นการเข้าสู่ร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์เป็นการตั้งใจน้อมกายใจเข้าฝึกฝนอบรมศึกษาหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา แล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องหาฤกษ์งามยามดีอะไร สำคัญที่ว่า หากบวชแล้วขอให้เป็นพระที่ดีมีความสำรวมระวังในอินทรีย์ และตั้งมั่นอยู่ในกรอบแห่งสิกขาบทที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ หรือหากจะสึกออกไปก็ขอให้เป็นฆราวาสที่ดี มีศีลมีธรรมให้สมกับที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว

อย่างไรก็ดี การเลือกวันบวชหรือวันสึกจริงๆแล้ว ขึ้นอยู่กับความสะดวกของทุกฝ่ายด้วย เพราะในปัจจุบันวันเสาร์-วันอาทิตย์ถือว่าสะดวกที่สุด เพราะต่างก็หยุดงานที่ทำอยู่ มีโอกาสได้เข้าไปร่วมงาน อนุโมทนาบุญได้อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน ไม่กระทบกับงานอื่นๆด้วย ความสะดวกและความพร้อมถือเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุด เป็นมงคลที่สุด


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://www.goodlifeupdate.com/51977/healthy-mind/dd-luckytime/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ