ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ราชวงศ์พระร่วง (กรุงสุโขทัย) กับราชวงศ์จักรี (กรุงรัตนโกสินทร์)  (อ่าน 1373 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระศรีศากยมุนีลงแพชะลอจากเมืองสุโขทัย ไปขึ้นที่ท่าช้าง วังหลวง กรุงเทพฯ สมัย ร.1 ต่อมาภายหลังเรียกว่าท่าพระ [กรมศิลปากร. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526.)]


ราชวงศ์พระร่วง (กรุงสุโขทัย) กับราชวงศ์จักรี (กรุงรัตนโกสินทร์)

ร.1 มีบรรพชนเกี่ยวดองเป็นเครือญาติราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาลิไท จนถึงพระนเรศวร ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เขียนเล่าว่ารับรู้คำบอกเล่านี้ตั้งแต่ยังเยาว์ ครั้นต่อมาจึงพบว่ามีจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จะยกมาโดยจัดย่อหน้าใหม่ ให้อ่านสะดวก ดังนี้

 :96: :96: :96:

โครงกระดูกในตู้

“ขอคัดจากหนังสือ ราชินิกุล บางช้าง ซึ่งพิมพ์แจกเมื่องานฉลองพระราชสมภพครบ 200 ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาใส่ไว้ในที่นี้ เพราะเห็นว่ากะทัดรัดดีที่สุด

‘แรกเริ่มเดิมที ท่าน (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) เกิดมาในตระกูลขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ตระกูลของท่านเป็นตระกูลขุนนางสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน นับแต่เจ้าพระยาโกศาปาน นักรบ และนักการทูต ผู้มีชื่อเสียงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

- เจ้าพระยาโกศาปานเป็นบุตรเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย
- เจ้าพระยาโกศาปานมีบุตรคนหนึ่งชื่อขุนทอง ได้เป็นพระยาวรวงศาธิราช
- พระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรคนหนึ่งชื่อทองคำ ได้เป็นพระยาราชนิกุล
- พระยาราชนิกุล (ทองคำ) มีบุตรชายชื่อทองดี ได้เป็นพระอักษรสุนทร เสมียนตราในกรมมหาดไทย
- พระอักษรสุนทร (ทองดี) มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อทองด้วง ได้เป็นหลวงยกกระบัตร
- หลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) ได้แต่งงานกับนางสาวนาค ธิดาเศรษฐีชาวบางช้าง เมืองสมุทรสงคราม’

ข้อมูลเหล่านี้ผู้ใหญ่บอกเล่าให้ฟังเมื่อสมัยผู้เขียนเรื่องนี้ยังเป็นเด็กๆ ไม่เคยทราบว่ามีจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาเมื่อหลายสิบปีมาแล้วได้มีงานพิมพ์หนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ ‘อภินิหารบรรพบุรุษ’ ต้นฉบับนั้นเป็นสมุดข่อยเก่าแก่ เป็นกรรมสิทธิ์ของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนารถ และหนังสือที่ได้พิมพ์ขึ้นนั้นก็แจกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน

อย่างไรก็ตาม ทางบิดาของโกศาปาน หรือสามีของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยรับสั่งแก่ เซอร์ จอนโบวริง ทูตอังกฤษว่าสืบเชื้อสายมาจากขุนนางมอญผู้ถวายตัวเป็นข้าพระนเรศวรเป็นเจ้า เมื่อครั้งยังประทับอยู่ในประเทศพม่า และโดยเสด็จเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย เพื่อรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อมา”

[คัดจากหนังสือ โครงกระดูกในตู้ โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พิมพ์แจกเป็นมิตรพลี ในงานทำบุญอายุครบห้ารอบ 20 เมษายน พ.ศ. 2514 หน้า 17-19]


  :96: :96: :96:

พระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัย

ด้วยความเชื่อทางสายพระราชวงศ์ดังที่ยกมา ร.1 จึงโปรดให้เชิญพระพุทธรูปจากเมืองสำคัญ ได้แก่ สุโขทัย, ลพบุรี, อยุธยา คัดเฉพาะพระพุทธรูปหล่อโลหะทองสำริด กับทองเหลือง แล้วจงใจเลือกพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยจำนวนมากเป็นพิเศษ (มากกว่าพระพุทธรูปจากหัวเมืองอื่น ที่รวบรวมคราวเดียวกันลงมากรุงเทพฯ) เพื่อประดิษฐานไว้ระเบียงชั้นในพระอุโบสถ วัดโพธิ์ (ท่าเตียน) โดยไม่มีจากหัวเมืองอื่นปะปน

การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ของ วิราวรรณ นฤปิติ (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2560 ราคา 195 บาท) มีบัญชีรายการพระพุทธรูปอย่างละเอียด แล้วมีคำอธิบายอีกมากเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (ขอแนะนำให้ซื้อหาไปอ่านเรื่องเหล่านี้จงดี) แล้วอ้างว่ามีผู้อธิบายว่ามาจากความคิดยกย่องเมืองสุโขทัยเป็นเมืองในอุดมคติ มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม

แต่ผมเชื่อว่าน่าจะมากกว่านั้น ถ้าพิจารณาภาพรวมกิจกรรมเกี่ยวกับกรุงสุโขทัยทั้งหมดตั้งแต่ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 จนถึงกรุงธนบุรีกับสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เช่น
      (1.) เชิญพระศรีศากยมุนีลงมาจากเมืองสุโขทัย แล้วประดิษฐานเป็นพระประธานวิหารหลวงวัดสุทัศน์ กลางพระนคร
      (2.) ชำระพงศาวดารเหนือ คือ พงศาวดารเกี่ยวข้องบ้านเมืองในรัฐสุโขทัย (เมืองเหนือ หมายถึง บ้านเมืองที่อยู่เหนือรัฐอยุธยา)
      (3.) แต่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ สมัย ร.3 ฯลฯ


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://www.matichon.co.th/news/517572
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ