ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "อำนาจกรรม" หรือจะสู้ "อำนาจเงิน"  (อ่าน 1560 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"อำนาจกรรม" หรือจะสู้ "อำนาจเงิน"
« เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2017, 01:30:30 pm »
0


"อำนาจกรรม" หรือจะสู้ "อำนาจเงิน"

ขอเจริญพรสาธุชนคนดีทุกท่าน ได้เวลาพบกับพระมหาสมปองเหมือนเดิม เบื่อพระหรือยังโยม เบื่อพระนั้นเบื่อได้ แต่อย่าเพิ่งเบื่อธรรมะ เพราะธรรมะจำเป็นต่อชีวิต ต่อสังคมมาก โยม ธรรมะก็เหมือนเกลือ คนเราก็เหมือนปลา เวลาที่เราเอาเกลือไปหมักปลา ถ้าปลาเน่าแสดงว่าอ่อนเกลือคือเกลือน้อยไป สังคมเน่าเพราะว่าอ่อนธรรม ดังนั้นเราจึงเติมธรรมะให้มากๆ สังคมจะได้ไม่เน่า

วันนี้อาตมาขอพูดถึงกระแสสังคมที่กำลังน่าสนใจ คือความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวย เช่น ข่าวคนรวยขับรถชนคนตายแล้วหลบหนีไม่มามอบตัว แถมยังใช้ชีวิตหรูหรา แต่ตาแก่ ยายแก่จนๆ ไปเก็บเห็ด แต่ถูกดำเนินคดีว่าไปตัดไม้เป็นร้อยๆ ต้น ดูแล้วมันไม่สมเหตุสมผล เพราะเหตุนี้จึงทำให้สังคมมองว่าสองมาตรฐาน

ถ้าถามอาตมาว่า หลวงพี่มองเรื่องนี้อย่างไร ก่อนจะตอบเรื่องคนขับรถชนคนตาย อาตมาขอเล่าเรื่องนี้ให้โยมฟังนิดหนึ่ง เช้าวันหนึ่งขณะที่อาตมานั่งอยู่หน้าห้อง มีโยมผู้หญิงคนหนึ่ง สีหน้าดูเศร้าหมอง พอมาถึงก็กราบแล้วพูดว่า “หลวงพี่สมปองคะ หนูมีเรื่องไม่สบายใจ ขอปรึกษาได้ไหมคะ”


 st12 st12 st12 st12

อาตมาก็ว่า “เจริญพรโยม ปรึกษาได้ทุกเรื่องนะโยม เรื่องสบายใจก็ได้ ไม่สบายก็ได้ วันนี้อาตมาว่าง โยมมีอะไรไม่สบายใจหรือ?”

“หลวงพี่คะ เมื่อเช้าก่อนที่จะมาวัด หนูขับรถทับแมวตายจะบาปไหมคะ”
อาตมาเห็นโยมทุกข์ใจ จึงตอบว่า “ทับแมวตายไม่บาปหรอกโยม”
โยมก็ทำตาโตเหมือนตกใจ แล้วก็พูดว่า “จริงหรือหลวงพี่ เพื่อนหนูบอกว่าขนาดเหยียบมดตายยังบาป
เลย”

อาตมาเห็นโยมสีหน้าดีขึ้น จึงพูดว่า “จริงโยม ขับรถทับแมวตายไม่บาปหรอกโยม จะขับทับกี่ครั้งก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าขับทับแมวเป็นๆ แมวเมี้ยวๆ นี่บาปแน่!!!”

เจริญพร เรื่องนี้อาตมาขอยกพระพุทธพจน์ที่ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเองเราเรียกว่า กรรมบุคคลจงใจแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ”

 :25: :25: :25: :25:

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ให้นิยามคำว่า “กรรม” ว่า หมายถึง การกระทำ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจ หรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม…การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่วเรียกว่ากรรมชั่ว กระทำทางกายเรียก กายกรรม ทางวาจาเรียก วจีกรรมและทางใจเรียก มโนกรรม ฉะนั้น กรรม จึงหมายถึงความดีและความไม่ดีด้วย

โยม กรรมจะมีผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “เจตนา” คือความจงใจ ตั้งใจ ที่กระทำลงไปในขณะนั้นๆถ้ามีเจตนาในการกระทำแรง กรรมก็หนัก ถ้ามีเจตนาในการกระทำอ่อน กรรมก็เบา

กรรมในความหมายทางพุทธศาสนาต้องประกอบด้วยเจตนา พระพุทธพจน์นี้ยืนยันว่าการกระทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ จะเรียกว่าเป็นกรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเจตนาในการกระทำ ถ้าไม่มีเจตนา การกระทำนั้นก็ไม่จัดเป็นกรรม
      กรรมจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ จึงจะนับว่าสมบูรณ์ คือ
      1. กิเลส 2. เจตนา 3. การเคลื่อนไหว 4. เกิดผลสำเร็จ

    1. กิเลส หมายถึง แรงกระตุ้นใจชนิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งเร้า แรงกระตุ้นใจที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง
    2. เจตนา หมายถึง ความตั้งใจ ความจงใจ มีเจตจำนง มีความมุ่งหมาย เช่น เกิดความโกรธ(กิเลส) ขึ้นมา แล้วตั้งใจจะฆ่าเขาให้ตาย (เจตนา) การกระทำที่ไม่มีเจตนา หรือผิดจากเจตนาไม่จัดเป็นกรรมที่สมบูรณ์
    3. การเคลื่อนไหว หมายถึง การเคลื่อนไหวทางกาย วาจา ใจ เพื่อกระทำตามความตั้งใจ
    4. เกิดผลสำเร็จ ความตั้งใจ เช่น โกรธขึ้นมาตั้งใจจะฆ่าเขา ลงมือ และคนที่ถูกฆ่าตายลงตามความตั้งใจ อย่างนี้จัดเป็นกรรมที่สมบูรณ์


 ask1 ans1 ask1 ans1

โยม เมื่อกล่าวถึง กรรม ก็ย่อมต้องกล่าวถึงผลของกรรม หรือเรียกว่า “วิบาก” ซึ่งแปลว่า ผล ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน

โยม เรื่องผลของกรรมนั้นละเอียดมาก อาตมาขอยกมาเป็นตัวอย่างคือ ที่สังคมมองว่า คนรวยทำผิดแล้วยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคม เพราะว่ากรรมจำแนกตามหน้าที่ และกรรมให้ผลตามลำดับ

ถ้าจะอธิบายตามหลักเต็มๆ เลยคงยาวมาก อาตมาขออธิบายง่ายๆ คือ กรรมที่ทำให้เราเกิดมารวยจนต่างกัน และส่งเสริมให้เราเจริญขึ้น และบั่นทอนให้เราต่ำลง ถ้าบอกว่า ทำชั่วไม่เห็นได้ชั่วเลยไม่จริงโยม ทำดีก็ดีเลย ทำชั่วก็ชั่วเลย มันถูกเก็บไว้เป็นมรดกของเราแล้ว ที่เป็นแบบนั้นเพราะว่า กรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้ กรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้ หรือชาติต่อๆ ไป ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเขาคนนั้นมีกรรมดีที่เคยทำไว้สนับสนุนอยู่ จึงไม่ถึงคิวรับวิบากกรรมชั่วที่ทำในปัจจุบัน

โยมทุกท่าน บุญที่ทำกรรมที่ก่อไม่ต้องร้องขอ ถึงเวลาจะตอบแทนเรามาทุกการกระทำ เราดูเหมือนว่า ในปัจจุบันนี้ กฎหมายอาจไม่ค่อยยุติธรรม แต่ให้โยมเชื่อเถอะว่า "กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ เราหนีสิ่งใดก็พอหนีได้ แต่หนีกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองสร้างไว้นั้นไม่ได้"

โยมทั้งหลายขาดอาหารอยู่ได้ 7 วัน ขาดน้ำอยู่ได้ 5 วัน ขาดอากาศอยู่ได้ 3 นาที แต่ ถ้าขาดคุณงามความดี ต่อให้อยู่ 100 ปี ก็ไม่มีค่าอะไร ดังนั้นขอให้เราตั้งมั่นในความดี เจริญพร

       พระมหาสมปอง


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://www.thairath.co.th/content/934018
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ