ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะของพระพุทธองค์ ที่นำมาสอน 45 ปีนั้น จนถึงดับขันธปรินิพพาน "มีแค่กำมือเดียว"  (อ่าน 10286 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ธรรมะกำมือเดียว
    ภาพนี้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุที่ป่าประดู่ลาย โดยทรงหยิบใบไม้ขึ้นมากำมือหนึ่ง แล้วถามภิกษุว่า ใบไม้ในกำมือของพระองค์ กับใบไม้ทั้งหมดในป่าประดู่นี้ ใบไม้ที่ไหนมีมากกว่ากัน ภิกษุก็ได้ตอบว่า ใบไม้ในป่านี้ทั้งหมดมีมากกว่าในกำมือของพระองค์

    พระองค์จึงทรงตรัสต่อไปว่า เรื่องที่เรารู้น่ะเท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่นำมาสอนเธอเท่ากับใบไม้ในกำมือ คือสอนแต่เรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์เท่านั้น ส่วนเรื่องอื่น ๆ นั้น ปรากฏว่ามีคนสอนกันมากมาย ฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งไปสอนแต่เรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ ส่วนสูตรอื่นวิชาอื่นมีคนสอนแล้ว


ที่มา  http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/2/indexpic110.htm


พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีสปาปรรณวรรคที่ ๔
สีสปาสูตร


       เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
   [๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?
 
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

   พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้นิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.


   [๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ...
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก
เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์
เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๑๐๓๗๖ - ๑๐๓๙๒.  หน้าที่  ๔๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10376&Z=10392&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1712
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2017, 12:25:41 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สัพพัญญุตญาณ ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีแค่ พุทธวจนะ ในพระไตรปิฏก เท่านั้นมีมากกว่า นั้น แต่พระไตรปิฏกนั้นไม่ได้ครอบคลุม ความรู้ทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ไว้เลย พระอรหันต์ ผู้ทำสังคายนา ครั้งแรก 500 รูป เป็นครูอาจารย์ที่ชั้นเลิศ ชั้นยอด เป็นพระเนื้อนาบุญ ที่ประเสริฐ แต่ถึงกระนั้นการทำสังคายนา รวบรวมเป็นพระไตรปิฏก ถึง 3 ตระกร้า มีพระสูตร พระวินัย และ พระอภิธรรม ว่าได้รวบรวมความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้ 45 ปี ได้หมด ดังนั้นคนที่บอกว่า ศึกษาเผยแผ่พุทธวจนะ อย่าได้ตาบอด ยึดอยู่แค่ วจนะในพระไตรปิฏก เท่านั้น เพราะวิธีการที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น ที่เป็นส่วนคำอธิบายนั้น ส่วนใหญ่อยู่นอกพระไตรปิฏก เหตุที่ไม่สามารถนำวิธีการต่าง ๆ มารวมเป็นเล่มอย่างพระไตรปิฏกได้ เพราะว่า ญาณ และ วิธีการนั้น มีมากกเกินบันทึก ซึ่งแตกออกไปตามปฏิปทา และ ปฏิสัมภิทาญาณ ของพระอรหันต์ ที่สำเร็จคุณธรรมได้
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ดังนั้นถ้าว่ากันตามจริงแล้ว พุทธวจนะ ไม่ได้มีแค่ในพระไตรปิฏก แต่ พุทธวจนะ นั้นล้วนสืบทอดมาในปัจจุบันได้ ถึงเราตอนนี้ได้ก็เพราะว่า พระอรหันต์ ท่านเป็นผู้สือทอดมา จนถึงเรา ในหลักธรรม ไม่มีข้อบังคับ มีแต่ข้อพึงปฏิบัติ หมายความว่า บังคับให้ปฏิบัติไม่ได้ ผู้ที่ปฏิบัติตามล้วนต้องสมัครใจตาม
ซึ่งขึ้นอยู่กับจริต กับ ความชอบของแต่ละท่านด้วย
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ส่วนวิธีการที่อยู่นอกพระไตรปิฏก นั้น ครูอาจารย์ ท่านได้แยกออกมาเพื่อไม่ให้ปนกับ เนือ้หาพระสูตร เรียกว่า อรรถกถา คือคำอธิบาย ประมาณนี้

 ดังนั้น เนื้อหาพระสูตร ก็เป็น สูตร ที่ต้องนำมาประมวลผล โดยผู้ภาวนาตาม

 ส่วนที่เป็นวิธีการ บางครั้งไม่สามารถนำเรียบเรียงให้เป็น บัญญัติได้ ก็มีอยู่จำนวนมากเพราะคุณธรรม และหลักธรรมที่ ได้บรรลุนั้น บางครั้งก็เป็นปัจจัตตัง ( รู้ได้เห็นได้ ด้วยตนเอง )

 ที่จะอธิบายได้ ก็ต้องได้ ปฏิสัมภิทาด้วย
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ