ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"  (อ่าน 1213 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร" เจตนาที่หลวงพ่อชาใช้ในการไปเผยแพร่ศาสนาพุทธในต่างประเทศ

เมื่อราวๆ 40 ปีที่แล้ว หลวงพ่อชา สุภัทโท มอบหมายให้พระลูกศิษย์ไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ สมัยนั้นหลวงพ่อสุเมโธยังอยู่ในวัยหนุ่มและมีอายุพรรษาไม่มากนัก เมื่อต้องรับภาระหนักอย่างนี้ ท่านก็เกิดความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจว่าวิถีชีวิตแบบพระวัดป่าจะดำรงอยู่ในต่างประเทศได้หรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมดูจะไม่เอื้ออำนวยและคนส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา

หลวงพ่อชาถามท่านสั้นๆ ว่า "ที่อังกฤษมีคนดีอยู่บ้างไหม"
ครั้นได้รับคำตอบว่า "พอมีอยู่"
หลวงพ่อชาก็ให้ข้อคิดว่า "ที่ไหนมีคนดี ที่นั่นพระก็อยู่ได้"

ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ หลวงพ่อชาน่าจะเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ออกเดินบิณฑบาตในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แม้จะมีเสียงทักท้วงจากลูกศิษย์ชาวตะวันตกหลายคนที่เกรงว่าจะผิดกฎหมายและคงไม่มีคนใส่บาตร หลวงพ่อก็ยังคงยืนยันในเจตนาเดิม ท่านบอกว่า "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"

วันเวลาผ่านไปหลายสิบปี ไม่ว่าจะไปอยู่ในประเทศใดก็ตาม ลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาก็ยังคงปฏิบัติตามคำสอนของท่าน เพียงแต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสถานที่นั้นๆ อย่างในช่วงที่อากาศเย็นจัดก็อนุญาตให้สวมรองเท้าและเครื่องกันหนาวออกบิณฑบาตได้ เวลาบิณฑบาตในเมืองที่อยู่ไกลมากอาจต้องมีรถรับส่ง หรือในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ต้องใช้วิธียืนอยู่ที่มุมถนนไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงจึงจะมีคนกล้าเข้ามาซักถามและใส่บาตร



ดังภาพของพระภิกษุวัดป่าอภัยคีรี ในเขตเมือซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา พระอาจารย์ปสันโนซึ่งเป็นเจ้าอาวาสยังคงนำพระออกบิณฑบาตในเมืองเล็กๆ ใกล้วัดและมีชุมชนชาวเอเชียและชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งที่ยินดีใส่บาตรยามเช้า

ในเมืองนอกอาจจะมีคนใส่บาตรไม่มากเท่าเมืองไทย แต่การออกบิณฑบาตคือการรักษาไว้ซึ่งอริยประเพณี เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้พบเห็นสมณะอันเป็นมงคลประการหนึ่ง เป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจในธรรมสามารถเข้ามาพบปะพูดคุยกับพระ และนำไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาและการประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนต่อไป
หลวงพ่อชาได้วางแนวทางการเผยแพร่ธรรมะด้วยการปฏิบัติให้คนเห็น แล้วคนที่มีปัญญาก็จะเกิดศรัทธาเอง เพราะชื่นชมในการกระทำที่ดีงาม คำสอนของหลวงพ่อเป็นที่ประจักษ์ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของวัดป่าในดินแดนตะวันตก ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ



Credit : ภาพถ่าย พระอาจารย์สุทันโต วัดป่าอภัยคีรี และวัดป่าจิตตวิเวก
ที่มาข้อมูล FB @watpah
ข่าวโดย :  กิตติ จิตรพรหม ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์
เรียบเรียงโดย กิตติ จิตรพรหม : สำนักข่าวทีนิวส์
http://www.tnews.co.th/contents/306305
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2017, 10:03:25 am »
0
ที่จริง ในการบิณฑบาตร นั้น พุทธานุญาต ให้ยืนรอหน้าบ้านใด หน้าบ้านหนึ่ง ที่เราคิดว่า เขาจะใส่ จนกว่าเขาจะกล่าววาจา ให้ไปที่อื่น ( ไล่  ) อันนี้เดิม ๆ ก็อย่างนี้ ไม่ใช่เดินไปตามบ้านคนที่ใส่เป็นปกติ อย่างที่เราเห็นกันในประเทศไทย ในสมัยครั้งพุทธกาล นั้น คนนับถือ ลัทธิ อื่น ๆ มีมาก แต่การรับอาหาร ของ ลัทธิ อื่น ๆ ก็จะคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันตรงที่ว่า ของ พุทธ ยืนเงียบ ๆ สงบ ๆ ไม่ต้องร้องเพลง ( วณิพก ) ไม่ต้องแก้ผ้า ( จำอวด ) ไม่ต้อง เสกมนต์ ( ล่อลวง ) ไม่ต้องใช้ ธาตไฟ ดิน น้ำ ลม โปรยปราย ( นักแสดง )

พระ แค่ยืนนิ่ง ๆ สำรวม อินทรีย์ เท่านั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ พื้นฐานจิตใจ ของคนตรงนั้น คนในสมัยครั้งพุทธกาล เขาส่วนใหญ่ ก็ใจดี ให้อาหาร ให้น้ำ ให้ที่พัก ไปตามกาล

พระในสมัยก่อน บางครั้งก็นอน กับวัว ควาย ในโรงวัว ควาย

 :49:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ