ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตั้งแล้ว "ประชาคมพุทธศาสนิกชนเอเชีย" (Asian Buddhist Community - ABC)  (อ่าน 1144 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตั้งแล้วประชาคมพุทธศาสนิกชนเอเชีย (Asian Buddhist Community - ABC)

ชาวพุทธ 10 ประเทศ นำโดยสหภาพเมียนมาประกาศจัดตั้งประชาคมพุทธศาสนิกชนแห่งเอเชีย (Asian Buddhist Community - ABC) ที่นครย่างกุ้ง สหภาพเมียนมา เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560 โดยมีผู้แทนชาวพุทธจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมกันคับคั่ง รวมทั้งสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ร่วมลงนามเอ็มโอยูกับสหพันธ์พุทธเถรวาทแห่งเมียนมา เพื่อจับมือกันสร้างความเข้มแข็ง เช่น การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นต้น
 
ท่ามกลางปัญหารุมเร้าประเทศชาวพุทธทั้งปัญหาภายในประเทศแต่ละประเทศ และปัญหาภายนอกที่เกิดจากการกระทำที่มีความรุนแรงต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวพุทธ แต่สายตาชาวโลกกลับจับจ้องมองประเทศชาวพุทธเหมือนเป็นจำเลย ทั้งๆ ที่เป็นผู้ถูกกระทำ ท่านคิน ฉ่วย ประธานสหพันธ์พุทธเถรวาทแห่งเมียนมา จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งประชาคมพุทธขึ้นมา เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา

ในการนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้ส่งคณะผู้บริหารเข้าร่วมสังเกตการณ์ ส่วนสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จากประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงที่จะจับมือกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

 

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ประชาคมพุทธศาสนิกชนแห่งเอเชีย (Asian Buddhist Community - ABC) คือ การรวมตัวของชาวพุทธในเอเชีย เริ่มต้นจาก 10 ประเทศ อันได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลี เมียนมา สปป.ลาว อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม และพร้อมที่จะต้อนรับการเข้าร่วมของพุทธศาสนิกชนจากประเทศอื่นๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค เพื่อร่วมกันส่งเสริม เผยแผ่พระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ โดยร่วมมือร่วมใจกันทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน

การหารือเพื่อจัดตั้ง “ประชาคมพุทธศาสนิกชนแห่งเอเชีย” จัดขึ้นที่ วังการะเวก นครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 12-13 ต.ค. 2561 โดยมีประธานสงฆ์แห่งเมียนมา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ของเมียนมา เป็นประธานในแต่ละช่วงของพิธี
 
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งประชาคมพุทธนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำร่างธรรมนูญประชาคม เพื่อเป็นแม่บทในการขับเคลื่อนประชาคมแห่งความร่วมมือของชาวพุทธในเอเชีย


ในช่วงการประชุมช่วงบ่ายวันที่ 12 ต.ค.นั้น รองประธานสงฆ์ลำดับที่ 1 ของเมียนมาจากมัณฑะเลย์ ได้แสดงความคิดเห็น และตำหนิ ดร.คินฉ่วย ว่าดำเนินการโดยไม่ได้หารือคณะกรรมการสงฆ์เมียนมาอย่างเป็นทางการมาก่อน แต่องค์ประธานสงฆ์ได้กล่าวให้กำลังใจและขอให้เดินหน้าต่อไป โดยให้หารือคณะกรรมการสงฆ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

อนึ่ง ในช่วงพิธีวันที่ 12 ต.ค. 2560 สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้ร่วมลงนามในเอ็มโอยูกับสหพันธ์พุทธเถรวาทแห่งเมียนมา เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมพระพุทธศาสนาในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลุ่มน้ำโขง หรือดินแดนสุวรรณภูมิให้ยั่งยืนต่อไป

 



    ส่วนเนื้อหาในเอ็มโอยูนั้นมี 5 ข้อ
    1. สร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริม ความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาในเอเชีย
    2. ยกระดับการติดต่อประชาชน ต่อประชาชนในเอเชีย ผ่านการปฏิบัติธรรม
    3. สนับสนุนพระภิกษุในหมู่ประเทศเอเชียให้มีความสามารถในการศึกษาคำสอนพระพุทธศาสนา และธรรมะอย่างถูกต้อง
    4. จัดให้มีการพบปะกันในบางโอกาส เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับภูมิภาคและนานาชาติ
    5. เมื่อพิจารณาอย่างเหมาะสมแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะริเริ่ม และทำให้สำเร็จ ซึ่งโครงการทั้งที่เป็นระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมืออย่างเหนียวแน่น ระหว่างชาวพุทธในเอเชียและในโลก

     ผู้ลงนามฝ่ายเมียนมา ได้แก่ ดร.คินฉ่วย ประธานสหพันธ์พุทธเถรวาทแห่งเมียนมา ฝ่ายไทยได้แก่ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980



ขอบคุณภาพและข่าวจาก
https://www.posttoday.com/dhamma/520264
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ