ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขสงสัยได้ 'บุญหรือบาป' ปล่อยบิ๊กอุย 1 ตัน ลงแม่น้ำน่าน  (อ่าน 1285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ไขสงสัยได้ 'บุญหรือบาป' ปล่อยบิ๊กอุย 1 ตัน ลงแม่น้ำน่าน

บุญหรือบาป? “ดร.นณณ์” ผู้เชี่ยวชาญปลาน้ำจืด ติงปล่อยปลาดุกบิ๊กอุย 1 ตัน ชี้เป็นปลาเอเลี่ยนทำลายแวดล้อมรุนแรง แนะภาครัฐระงับการปล่อย

กรณีโลกออนไลน์เกิดกระแสวิจารณ์ หลังมีการแชร์ภาพชาวบ้านจัดพิธีปล่อยปลาดุกที่ซื้อจากบ่อ จำนวน 1 ตัน รวมหลายพันตัว มาปล่อยลงสู่แม่น้ำน่าน หน้าวัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้าที่เป็นข่าวดัง ก็คือปลาคางดำจากทวีปแอฟริกา บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งนำเข้ามาพัฒนาพันธุ์ แล้วทำหลุดออกมา ปัจจุบันก็ทำลายการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดชายทะเล ตั้งแต่ภาคกลางไล่ลงไปจนถึงภาคใต้แล้ว

เกี่ยวกับเนื่องนี้ วันที่ 24 ต.ค. ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืดในประเทศไทย แสดงความคิดเห็นผ่าน “เดลินิวส์ออนไลน์” ว่า ปลาดุกที่ปล่อยลงไป คือ "ปลาดุกบิ๊กอุย" เป็นปลาดุกลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกยักษ์จากแอฟริกา ถือว่าเป็นปลาต่างถิ่น และยังล่าเหยื่อขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อปล่อยลงน้ำจึงส่งผลกระทบทางตรง คือ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก พวกลูกกุ้ง ลูกปลา อีกทั้งการที่มากินสัตว์น้ำขนาดเล็กพวกนี้ นอกจากจะเป็นการตัดวงจรชีวิตของสัตว์เหล่านี้แล้ว ก็ยังเป็นการแย่งอาหารปลาท้องถิ่นด้วย ยังไม่นับรวมการแย่งถิ่นอาศัย และอาจจะเอาโรคไปติดปลาท้องถิ่นก็ได้

 :96: :96: :96: :96:

โดยปลาดุกหนึ่งตัน เท่ากับ 1,000 กก. ในหนึ่งวันกินอาหารประมาณ 7% ของน้ำหนักตัาดังนั้นวันหนึ่งกินอาหาร 70 กก. ตีตามหลักวิชาการที่เลี้ยงปลาดุก ครึ่งหนึ่งเป็นพืช ครึ่งหนึ่งเป็นสัตว์ ปลาดุกกินเนื้อ (ซึ่งก็ตีความได้ว่าเป็นปลาต่างๆ) 35 กก./วัน ปลาดุกในภาพตัวละประมาณ ครึ่งกก. ปลาขนาดกลางๆ ที่เข้าปากได้น่าจะมีขนาดสัก 0.5 ขีด ดังนั้นปลาดุกฝูงนี้กินปลาเล็กปลาน้อยวันหนึ่ง 700 ตัว อยู่ในน้ำ 100 วัน ก็กินไป 70,000 ตัว อยู่ 1 ปี กินปลาเล็กปลาน้อยไป 252,000 ตัว จึงเป็นอีกตัวอย่างของความล้มเหลวในการสื่อสารของนักวิชาการ และหน่วยงานราชการ เรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่น จะทำอย่างไรเรื่องแบบนี้จึงจะขยายกันไปในวงกว้างได้

“ปลาดุกพวกนี้ถูกผสมพันธุ์ขึ้นมาเพื่อเป็นอาหาร ก็ควรให้เป็นอาหารครับ ผมไม่กล้าวิจารณ์เรื่องบาปบุญการปล่อยสัตว์ เพราะไม่มีความรู้ทางด้านนี้ว่าได้บุญไหม และปลาที่ปลาดุกเอเลี่ยนฝูงนี้ จะลงไปกินปลาดั้งเดิมของไทย การปล่อยปลาดุกบิ๊กอุยตามหลักวิชาการ ถือว่าทำลายสิ่งแวดล้อมขั้นรุนแรง และควรระงับไม่ให้เกิดขึ้นอีกครับ” ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืด กล่าวให้ฟัง

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ดร.นณณ์ ยังเผยอีกว่า สัตว์ที่ขายอยู่ในวัดหลายชนิด มีปัญหาทั้งทางด้านศีลธรรม ระบบนิเวศและกฎหมาย เช่น การปล่อยเต่า เต่าน้ำทุกชนิดของไทยเป็นสัตว์คุ้มครอง ดังนั้นจับมาขายก็ผิดกฎหมายแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำใหญ่ๆ ที่ตลิ่งเป็นขอบปูนน้ำลึก ปล่อยไปเต่าก็ไม่รอด จมน้ำตายไปก็มี นอกจากนั้นเต่าและตะพาบที่ถูกนำมาปล่อยบางชนิดยังเป็นสัตว์ต่างถิ่น เช่น เต่าแก้มแดง หรือเต่าญี่ปุ่นที่จริงๆ แล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา หรือตะพาบไต้หวั่น ซึ่งเป็นตะพาบที่มาจากแถบประเทศจีน ก็เห็นถูกนำมาขายตามวัดต่างๆ นอกจากนี้ปลาไหล ที่ถึงแม้จะเป็นปลาไทย ปกติอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งตื้นๆ มีพืชขึ้นรกๆ ก็ถูกนำมาปล่อยให้แม่น้ำลึก หรือบางทีลูกปลาที่มีขนาดเล็กเกินไป ปล่อยลงไปในแม่น้ำใหญ่ๆโอกาสรอดก็น้อยมาก

“ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของบ้านเรายังมีปลาต่างถิ่นอีกหลายชนิด เช่น ปลาเปคู ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาหมอเสือ ปลาหางนกยูง ปลากินยุง ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่น ผมเชื่อว่าการปล่อยสัตว์ที่ดีที่สุด คือปล่อยให้สัตว์อยู่ในธรรมชาติ อยากเชิญชวนว่าเงินที่ซื้อสัตว์มาปล่อยว่าจะรอดไหม เอาเงินไปบริจาคให้องค์กรการกุศลที่ทำงานอนุรักษ์สัตว์ในถิ่นอาศัยอย่าง สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบฯ หรือองค์กรที่ทำงานด้านการช่วยเหลือสัตว์จรจัด สัตว์ป่วยจะได้บุญกว่า” ดร.นณณ์ กล่าวแนะนำ.


ขอบคุณภาพ : @ครูบาทรงธรรม จิรวฑฺฒโน  
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/regional/606094
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ