ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม ขอพระอาจารย์ ขยายความ เรื่อง ทานที่ได้ผลเร็ว มีองค์ประกอบ 4 ด้วยครับ  (อ่าน 1903 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม ขอพระอาจารย์ ขยายความ เรื่อง ทานที่ได้ผลเร็ว มีองค์ประกอบ 4 ด้วยครับ

ตอบ ข้อความ กัจจายนะ ตรงกับ พระไตรปิฏก อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐

.( อันนี้ไม่จัดเป็นแม่บท เพราะข้อความอยู่ใน อรรถกถา )

จริงอยู่ ชื่อว่าสัมปทามี ๔ อย่างคือ วัตถุสัมปทา ปัจจัยสัมปทา เจตนาสัมปทา คุณาติเรกสัมปทา.
ในสัมปทา ๔ อย่างนั้น พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี ควรแก่นิโรธสมาบัติ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ชื่อวัตถุสัมปทา, การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย โดยธรรมสม่ำเสมอ ชื่อปัจจัยสัมปทา, ความที่เจตนาใน ๓ กาล คือในกาลก่อนแต่ให้, ในกาลกำลังให้, ในกาลภายหลัง สัมปยุตด้วยญาณ อันกำกับโดยโสมนัส ชื่อเจตนาสัมปทา, ส่วนความที่พระทักขิไณยบุคคลออกจากสมาบัติ ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา.
====================================================
หัวข้อนี้ เรียกว่า สัมปทา ๔
สัมปทา ๔ คือ ความพร้อมแห่งองค์ประกอบ ซึ่งจะทำให้ทานที่บริจาคแล้ว มีผลยอดเยี่ยม คือ

๑. วัตถุสัมปทา ความพร้อมแห่งวัตถุ หมายถึง ผู้รับ(ปฏิคาหก) หรือ ทักขิไณยบุคคล เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณธรรม ท่านมีคุณธรรมสูงมากเท่าใด ย่อมทำให้ ทานที่บริจาคไป มีผลมากขึ้นตามเท่านั้น
ในที่นี้หมายถึง พระอริยะบุคคล ที่เป็น พระอนาคามี และ พระอรหันต์ เท่านั้น

๒. ปัจจัยสัมปทา ความพร้อมแห่งปัจจัย หมายถึง สิ่งของที่ทายก นำมาทำบุญ นั้น ได้มาในทางบริสุทธิ์ ชอบธรรม
ในที่นี้หมายถึง วัตถุ หามาได้ ด้วยอาชีพที่บริสุทธิ์ ไม่ผิดศีล ตรงกับความต้องการของผู้รับ

๓. เจตนาสัมปทา ความพร้อมแห่งเจตนา หมายถึง มีเจตนาดี เจตนาเพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ หรือบูชาคุณด้วยความบริสุทธิ์ใจ มิได้หวังลาภยศ หรือชื่อเสียง มีเจตนาดีทั้ง ๓ กาลคือ
- ปุพพเจตนา เจตนาที่จะบริจาคเกิดขึ้นในครั้งแรก มีความบริสุทธิ์ เกิด จากศรัทธา และเห็นคุณค่าในการบริจาคอย่างแท้จริง (ก่อนบริจาค)
- มุญจนเจตนา ในขณะที่กำลังบริจาคทานอยู่ ยังคงรักษาความรู้สึกนั้นไว้ ได้ไม่เกิดความเสียดาย หรือมีจิตใจเศร้าหมอง (ขณะบริจาค)
- อปราปรเจตนา หลังจากบริจาคทานเสร็จไปแล้ว ไม่เกิดความเสียดาย ทั้งเมื่อระลึกถึงการบริจาคของตน กลับมีความชื่นชมโสมนัส มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส (หลังบริจาค)
เจตนาที่ดีทั้ง ๓ กาล ต้องรักษาเจตนาอันเป็นกุศลไว้ นอกจากนี้ยังต้องประกอบไปด้วย ปัญญา ในการให้มิใช่ให้ด้วยความเขลา
ในที่นี้ หมายถึงความตั้งใจจริงอย่างบริสุทธิ์ใจ เจตนา สามประการนี้ ถือว่า สำคัญมาก รวามความง่าย ๆ ก็คือ ทำไปแล้วไม่เสียดาย ไม่ทวงบุญคุณ ระลึกถึงแล้วมีความสุข

๔. คุณาติเรกสัมปทา ความพร้อมแห่งคุณพิเศษของ ปฏิคาหก (คือผู้รับมีคุณพิเศษ) มี ระบุในตำราว่า พระสารีบุตรบ้าง พระกัสสปบ้าง ออกจากนิโรธสมาบัติ ใหม่ๆ กำลังหิว ท่านจะพิจารณาหาคนที่ท่านควรจะไปโปรดในวันนั้น เพราะเมือท่านไปรับอาหาร จากผู้ใดในวันนั้น ผู้ที่ทำทาน ก็จะต้องได้สมบัติเป็นอันมาก ท่านจึงมักจะไปสงเคราะห์คนจน เพื่อให้เขาได้มีความสุขมากขึ้น

ในที่นี้หมายถึงพระอริยะบุคคล พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ

เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม ข้อความ ..ส่วนความที่พระทักขิไณยบุคคลออกจากสมาบัติ ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา. ...เรียนถามว่า แค่สมาบัติ 4 สมาบัติ 8 หรือ ผลสมาบัติ จักมีผลด้วยใช่หรือไม่ครับ

ตอบ อันว่า พระอนาคามี และ พระอรหันต์ เข้าสมาบัติไหน ก็ชื่อ ว่า มหากุศล แต่ในกรณีนี้ กล่าวถึง บุญฉับพลัน และ ระบุระดับ พระอริยะบุคคล ด้วย พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ย่อมเข้านิโรธสมาบัติ ดังนั้น สมาบัติในที่นี้ มิได้หมายถึง รูปสมาบัติ ( สมาบัติ4 ) อรูปสมาบัติ ( สมาบัติ 8) และหรือ ผลสมาบัติ เลย แต่ถึงแม้ว่า พระอนาคามี และ พระอรหันต์ เข้าสมาบัติที่มิใช่ นิโรธสมาบัติ ผลแห่งทาน ก็มิใช่จะไม่มี ย่อมมีมากกว่า ปาฏิปุคลิกทาน ที่เป็นสงฆ์ปุถุชน ทั่วไป

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า