เรื่องของ "เวรกรรม" จะพิสูจน์ได้อย่างไร.?ถาม : กรรมคือผลของการกระทำ การที่เราบอกว่ากรรมที่เกิดกับเราปัจจุบันโดยที่เราไม่ได้ทำ คือผลกรรมในอดีต นี่คือคำพูดปลอบใจใช่หรือไม่ แล้วเรื่องของเวรกรรมจะพิสูจน์ได้อย่างไร
พระมหาเฉลิม ปิยทสฺสี ตอบปัญหาเรื่อง เรื่องของเวรกรรมจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า
ตอบ : กรรม แปลว่า การกระทำอันมีเหตุมาจากกิเลสเป็นเครื่องเร้า ส่วนผลของการกระทำเรียกว่า วิบาก จึงมีทั้งกรรมดำ (บาป) กรรมขาว (บุญ) หรือปะปนกัน ส่วนกรรมไม่ดำไม่ขาว จัดเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรม เรียกว่า กรรมนิโรธหรือกัมมักขโย จัดเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยสติปัญญา เรียกว่า กิริยา ไม่ควรคิดว่า “เกิดมาใช้กรรม” แต่ต้องมุ่งมั่นคิดว่า “เกิดมาพัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น”
วิธีพิสูจน์เวรกรรมนั้นง่าย เช่น เราโกรธ คือกิเลสเกิด โกรธแล้วเราคิดทำร้ายนี่เป็นกรรมทางใจ (มโนกรรม) หากด่าทอ นี่คือกรรมทางวาจา (วจีกรรม) หากลงมือทำร้ายตบตี นี่คือกรรมทางกาย (กายกรรม) อีกฝ่ายที่เป็นคู่กรณี เขาก็ด่าว่ากระทำคืน นี่เรียกว่าผลแห่งกรรม (วิบาก) หากเป็นเวรกรรมฝ่ายขาวหรือบุญก็เป็นทิศทางตรงกันข้ามที่มา : นิตยสาร Secret
Photo by Łukasz Łada on Unsplash
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/53860.html